กระทิง หรือ สารภีทะเล (Alexandrian Laurel)

กระทิง

กระทิง หรือ สารภีทะเล (Alexandrian Laurel) คือ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงปานกลาง มีความเชื่อกันว่า การปลูกต้นสารภีทะเล ไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จะปกป้องเสนียดจัญไร มิให้กล้ำกรายเข้ามาในบ้านได้ พร้อมสรรพคุณทางยามากมาย เรามาทำความรู้จักกับต้นกระทิงกันได้ในบทความนี้

กระทิง ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ : กระทิง หรือ สารภีทะเล
ชื่อเรียกอื่นๆ : กระทึง กากะทิง ทิง เนาวกาน สารภีทะเล สารภีแนน กาทึง ทึง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Alexandrian Laurel
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calophyllum inophyllum L.
วงศ์ : Guttiferae
ถิ่นกำเนิด : ประเทศแถบอินโดจีน เช่น ไทย พม่า ศรีลังกา ลาว เขมร มาเลเชีย เวียตนาม อินเดีย

ต้นกระทิง เป็นพันธุ์ไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดใน แถบอินโดจีน (ไทย พม่า ลาว เวียดนาม เขมร มาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา) ในประเทศไทยมีต้นกระทิงอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกใบสีเขียว (Calophyllum inophyllum Linn.) ส่วนอีกชนิดจะเป็นใบสีแดง (Calophyllum polyanthum Wall. ex Choisy) แต่เรามักนิยมใบเขียวกันมากกว่า [1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นกระทิงนั้นจัดว่าเป็น “ต้นไม้ดอกหอม หายาก” ประเภทเดียวกันกับ มังตาน และ “ต้นไม้หายาก ประเภทยืนต้น” อย่าง จันผา เป็นต้น ที่มีดอกกลิ่นหอม ประทับใจแด่ผู้พบเห็น

ลำต้น : จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบความสูงของต้นประมาณ 8 – 20 เมตร
เปลือก : ต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีแดงเข้ม ต้นเมื่อแก่จะแตกเป็นร่อง ภายในมียางสีเหลืองใส ๆ เปลือกด้านในเป็นสีชมพู เปลือกของต้นมีสารแทนนินอยู่ 19%
แก่นไม้ : เป็นสีน้ำตาลอมแดง ตายอดเป็นรูปกรวยคว่ำ มีขนสีน้ำตาลปนสีแดงอยู่ประปราย
ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี โคนใบสอบ ปลายใบมนกว้าง ใบมีความกว้างประมาณ 4 – 8 ซม.และยาวประมาณ 8 – 15 ซม. ใบเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างหนาแข็งและเกลี้ยง ขอบใบเรียบและผิวมันเคลือบ ท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า และมีก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 ซม. ใบไม่หลุดร่วงง่ายและมันเป็นเงาสวยงาม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม
ผล : เป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง

การเพาะพันธุ์ และการดูแลรักษา

กระทิง ชอบแสงแดดจัด มักขึ้นตามป่าใกล้ชายทะเล ป่าดงดิบ พบได้มากทางภาคใต้ ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 

ขยายพันธุ์ :

  • เพาะเมล็ด ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด มีข้อดีที่ รูปทรงสวยงาม ดูแลง่าย แต่ต้องใช้เวลานานในการปลูก ประมาณ 3 ปีจึงจะออกดอก
  • การตอนกิ่ง ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงออกราก ต้นที่ได้จากการตอนมีข้อดีที่ออกดอกเร็วภายใน 3 – 6 เดือนหลังตัดกิ่งตอนปลูก
ดิน : ชอบดินทรายระบายน้ำได้ดี แต่ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด 
น้ำ : ใบจะเป็นมันสวยงามหรือไม่ ขึ้นอยู่กับน้ำที่ได้รับว่ามากพอไหมควรรดวันละ 1 – 2 ครั้ง
การตัดแต่ง : การตัดแต่ง ต้นกระทิง ควรระมัดระวังน้ำยางสีเหลือง  จากต้นด้วย เพราะมีความเป็นพิษ
ปุ๋ย : เนื่องจากมีการทนต่อ สภาพแวดล้อมได้ดี ทำให้สามารถใส่ปุ๋ย สูตรทั่วไปได้ คือ สูตร 15-15-15 
ปลูกไว้ในกระถางก็ได้ เนื่องจากเป็นไม้ที่เจริญเติบโตช้า (ไม่ควรปลูกไว้ใกล้บริเวณอาคาร เพราะต้นกระทิงระบบรากมีความแข็งแรง อาจทำให้เกิดความเสียหายกับตัวอาคารได้) ใบไม่หลุดร่วงง่ายและมันเป็นเงาสวยงาม ทนดินเค็ม แสงแดดจัด และลมแรงได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีโรคและแมลงมารบกวน สามารถควบคุมการออกได้ด้วยการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้อง [2]

ประโยชน์ของ กระทิง

  • น้ำมันจากเมล็ดนำมาใช้
  • ผสมทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้
  • ยางจากต้นและเปลือก
  • ต้นใช้แต่งกลิ่น (ไม่ได้ระบุว่าแต่งกลิ่นอะไร)
  • นิยมปลูกต้นกระทิงเพื่อเป็นไม้ให้ร่มเงา
  • เนื้อไม้กระทิงสามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน ทำตู้ ไม้หมอนรถไฟ เครื่องมือเกษตรกรรม เช่น แอก ฯลฯ หรือใช้ทำเรือ และกระดูกงูเรือได้
  • ทั้งต้นและใบสามารถนำ
  • มาใช้ทำเป็นยาเบื่อปลาได้
  • น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปรุงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และใช้ทำสบู่ได้

สรรพคุณทางยาของ กระทิง

  • น้ำมันสกัดจากเมล็ด ใช้ทาแก้ปวดข้อ ทำเครื่องสำอาง
  • ดอก ให้รสชาติหอมเย็น ใช้เพื่อบำรุงหัวใจ ปรุงยาหอม
  • ราก เป็นยาใช้ล้างแผล ชวยแก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูก
  • เปลือกต้น ทำยาต้มเป็นยาขับปัสสาวะ ในโรคหนองใน ทาภายนอกแก้บวม
  • ต้นและเปลือกต้น ให้ยางใช้สำหรับทาแผล เป็นยาฝาดสมานพอกทรวงอกแก้วัณโรคปอด กินจะทำให้อาเจียน เป็นยาระบาย ใช้แต่งกลิ่น ขับปัสสาวะ
    ยาง เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน ยาสมานและกัด ฝ้า

ที่มา : ประโยชน์หรือ สรรพคุณอื่นๆ ของกระทิง [3]

วิธีการใช้ และข้อควรระวัง

วิธีการใช้ :
ใบ เปลือกต้น ราก ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม ส่วนรากสดให้ใช้ครั้งละ 20-30 กรัม ถ้าใช้ภายในให้นำมาต้มกับน้ำดื่ม หากใช้ภายนอกเพื่อรักษาแผลสดห้ามเลือด แก้เคล็ดขัดยอก อาการปวดบวม ให้ใช้ตามที่ต้องการ
ข้อควรระวัง :
ยาจากสมุนไพรกระทิงมีพิษ เวลาใช้ต้องระมัดระวัง
ยาง จากต้นกระทิงมีพิษ มีฤทธิ์ทำให้อาเจียนและออกฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างรุนแรง
ใบ กระทิงมีสาร Saponin และสารเมื่อละลายน้ำแล้วจะมีสาร Hydrocyanic acid ออกมา จึงทำให้เป็นพิษต่อมนุษย์และปลา
ผล : ผลของกระทิงไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 60% จะทำให้สารที่ได้มาไม่เป็นพิษ

สรุป กระทิง ไม้มงคล ปลูกไว้ปกป้องเสนียดจัญไร

กระทิง

สรุป กระทิง พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ตามความเชื่อ ปลูกไว้เพื่อ ปกป้องเสนียดจัญไรไม่ให้กล้ำกรายเข้ามาในบ้าน เช่นเดียวกับต้นยอ และต้นสารภี ที่ต้องปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประโยชน์มากมาย สรรพคุณทางยาหลายอย่าง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

327