ขุนช่างเคี่ยน ความมหัศจรรย์ของนางพญาเสือโคร่ง ที่บานสะพรั่ง

ขุนช่างเคี่ยน

ขุนช่างเคี่ยน (Khun Chang Khian) สถานที่ท่องเที่ยวใจกลางภูเขาสูง ที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ไม่มาก มีเส้นทางคดเคี้ยวเข้าถึงได้ยาก แต่ใครจะรู้ว่า ที่แห่งนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งเต็มไปด้วยดอกนางพญาเสือโคร่งหลายร้อยต้น ที่สวยงามติดอันดับท็อปเทนของประเทศไทย

ทำความรู้จัก ขุนช่างเคี่ยน หมู่บ้านเล็ก ๆ ในป่าลึก จังหวัดเชียงใหม่

ขุนช่างเคี่ยน

ขุนช่างเคี่ยน เป็นหมู่บ้านม้งเล็ก ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน ซึ่งปัจจุบันถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ผู้คนนิยมขึ้นมาชมดอกนางพญาเสือโคร่ง ที่จะบานเต็มที่ในเดือนมกราคมของทุก ๆ ปี

รีวิว ขุนช่างเคี่ยน หมู่บ้านที่ซ่อนความสวยงามไว้ ในเดือนมกราคม

ขุนช่างเคี่ยน

ขุนช่างเคี่ยน หมู่บ้านกลางหุบเขา ที่ซ่อนความสวยงามของ ดอกนางพญาเสือโคร่ง ไว้ในเดือนมกราคม ซึ่งจริง ๆ แล้ว ที่นี่ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถเที่ยวได้ทุกฤดู หากคนใดที่ไม่ได้ไปในช่วงธันวาคม – มกราคม ก็จะได้ชื่นชมกับไร่กาแฟ ที่มีรสชาติดี ไม่แพ้ที่ไหนในไทย

แต่สำหรับใคร ที่อยากมาสัมผัสกับความสวยงามของ ดอกนางพญาเสือโคร่ง สีชมพู ที่บานสะพรั่งเต็มไปทั่วบริเวณยอดดอย เราขอแนะนำว่าให้มาในช่วงเดือนมกราคมเท่านั้น ซึ่งนอกจากจะได้ชมความสวยงามที่หาดูได้ยากแล้ว นักท่องเที่ยวยังจะได้สัมผัสกับบรรยากาศ ที่หนาวเย็นตลอดทั้งวันอีกด้วย

การเดินทางไปยัง ขุนช่างเคี่ยน จากตัวเมืองเชียงใหม่

ขุนช่างเคี่ยน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของดอยปุย โดยจะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปประมาณ 32 กิโลเมตร ซึ่งจะใช้เส้นทางเชียงใหม่ – ดอยสุเทพ ที่ต้องขับผ่านพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ขึ้นไปจนถึงดอยสุเทพ และขับต่อไปเรื่อย ๆ ด้วยถนนลูกรังที่ค่อนข้างแคบ และชำรุด ก็จะถึงปลายทางแล้ว

ที่มา: ดอกนางพญาเสือโคร่ง ณ ขุนช่างเคี่ยน บานสะพรั่งแล้วจ้า [1]

สรุป ขุนช่างเคี่ยน เที่ยวชมนางพญาเสือโคร่งบาน ที่หนึ่งปี มีหนึ่งครั้ง

ขุนช่างเคี่ยน เปิดให้เที่ยวชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และธรรมชาติที่สวยงามแล้ววันนี้ ด้วยไฮไลท์ของที่นี่ ที่หนึ่งปีจะมีแค่หนึ่งครั้งเท่านั้น สำหรับใครที่ยังไม่เคยเห็น ดอกนางพญาเสือโคร่งบานสะพรั่ง ปกคลุมไปทั่วทั้งยอดดอย เราขอแนะนำว่าจะต้องมาเห็นด้วยตาตัวเองดูสักครั้ง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

618