จันทน์หอม ต้นไม้หายาก ไม้มงคลชั้นสูง

จันทน์หอม

จันทน์หอม เป็นไม้มีค่าที่หายากชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้มงคลชั้นสูง ใช้ในพระราชประเพณีตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งสำคัญในการพระราชพิธี ซึ่งล้วนทำจากไม้จันทน์หอมทั้งสิ้น เป็นไม้หอมที่มีราคาสูงมาก และยังใช้เป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย

จันทน์หอม ลักษณะทั่วไป

จันทน์หอม หรือ ไม้จันทน์หอม เป็น “ต้นไม้หายาก ประเภทยืนต้น” ผลัดใบ มีต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ สูงได้จนถึงประมาณ 30 เมตร ไม้จันทน์หอมที่ยืนต้นตายเอง ตามธรรมชาตินั้น เนื้อไม้จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ พบขึ้นในป่าเบญพรรณ ป่าดิบแล้ง ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาหินปูน จ.นครราชสีมา สระบุรี ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ ประเทศพม่า และอินเดีย

ข้อมูลเฉพาะ

ชื่อพื้นเมือง : จันทน์จันทน์ชะมด (ประจวบคีรีขันธ์), จันทน์ขาว จันทน์พม่า จันทน์หอม (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : Kalamet
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mansoniagagei J.R.Drumm.
วงศ์ : Sterculiaceae

คลิกเพื่ออ่าน ต้นจันทน์หอม เพิ่มเติม ได้ที่นี่ Alro

ลักษณะของไม้จันทน์หอม

จันทน์หอม

ลำต้น : เปลือกสีเทาอมขาว หรือเทาอมน้ำตาล แตกเปนร่อง เปลือกชั้นในถ้าถากใหม่ๆ จะมีสีขาว เมื่อทิ้งไว้จนแห้งจะมีสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนประปราย
ใบ : ใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ ทรงใบรูปมนแกมรูปหอก แขนงใบออกสีดำ ท้องใบมีขนสีอ่อนๆ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ขนาดใบกว้าง 3 – 6 ซม. ยาว 8 – 14 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เส้นใบออกจากจุดโคนใบ 3 เส้น เส้นแขนงใบมี 4-6 คู่ ก้านใบยาว 5 – 10 มิลลิเมตร เมื่อใบแห้งจะมีสีดำคล้ำ
ดอก : ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือสีขาว ออกรวมกันตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบใกล้ๆปลายกิ่ง ช่อยาวประมาณ 15 ซม.เป็นรูปเหยือกน้ำ มีขนคลุมแน่น ออกดอกเดือน ส.ค.-ก.ย.
ผล : ผลแห้งแก่แล้วจะไม่แตก ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีเหลืองอ่อนจนเป็นสีน้ำตาล ผลมักออกติดกันเป็นคู่ๆ มีจำนวนผลเฉลี่ยประมาณ 2643 ผล/กิโลกรัม ผลแก่ประมาณเดือน ธ.ค.-ม.ค.
เมล็ด : มีเปลือกบางๆ หุ้มภายในผล 1 ผลมี 1 เมล็ด ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ดประมาณเดือน ม.ค.
เนื้อไม้ : มีสีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนตรง เป็นไม้เนื้อแข็ง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งไ