ชมพูภูคา ดอกไม้หายาก แห่งเดียวในโลก

ชมพูภูคา

ชมพูภูคา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bretschneidera sinensis เป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก เป็นไม้ยืนต้น ดอกออกเป็นช่อตั้งสีชมพู พบได้ในประเทศไทย แห่งเดียวในโลก ที่ จ.น่าน บริเวณป่าดงดิบเขาดอยภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

ชมพูภูคา ประวัติความเป็นมา

ชมพูภูคา เป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก ได้พบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ที่ประเทศจีน เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา แต่คาดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้วจากการตัดไม้ทำลายป่า และในประเทศไทย พบพันธุ์ไม้ชนิดนี้เมื่อมี พ.ศ. 2532 บริเวณป่าดงดิบ เขาดอยภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา [1]

ลักษณะเฉพาะ ต้นชมพูภูคา

ชมพูภูคา

เป็นไม้ยืนต้น สูง 10 – 25 เมตร
เปลือกลำต้นเรียบสีเทาน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก ยาว 30 – 80 ซม.
ใบรูปหอกถึงรูปไข่ กว้าง 2.5 – 6 ซม ยาว 8 – 25 ซม.
โคนใบรูปลิ่มหรือกลม ปลายใบแหลม ดอกสีขาว–ชมพู คล้ายรูประฆัง ช่อดอกยาวได้ถึง 20–40 ซม
กลีบรองดอกขนาดใหญ่ รูปถ้วยขอบหยักตื้น ๆ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กว้าง โคนกลีบเรียวยาว ปลายกลีบม้วนออกด้านนอก ขนาด 1.8 – 2 ซม.
กลีบบนมักคว่ำลง เกสรผู้ 8 อัน ก้านเกสรเพศผู้ยาว 2.5 – 3 ซม.
ปลายโค้ง รังไข่และก้านเกสรเพศเมียมีขนปกคลุม รังไข่ยาว 0.3–0.4 ซม.
เกสรเพศเมียยาว 3–4 ซม.
ปลายงอลง ผลรูปกระสวยแก่แล้วแตก เมล็ดรูปรี กว้าง 12 มม. ยาว 20 มม.

การกระจายพันธุ์

ต้นชมพูภูคา พบว่าจะเจริญเติบโตได้ดี แต่เฉพาะที่บริเวณ ป่าดงดิบเขา ตามไหล่เขาสูงชัน ที่มีความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไป เท่านั้น และมีความชื้นของอากาศสูง อุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างต่ำตลอดทั้งปี

และในปัจจุบัน ได้มีการทดลอง เพาะกล้าไม้ชมพูภูคา จากเมล็ดเป็นผลสำเร็จ ซึ่งมีแนวโน้มว่า การเพาะพันธุ์นี้จะช่วยทำให้ ต้นชมพูภูคา ไม่สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว [2]

ชมพูภูคา เป็นต้นไม้หายาก เพราะเหตุใด?

ต้นชมพูภูคา จะเจริญเติบโต ในที่มีอากาศหนาวเย็น มีความชุ่มชื้นสูง และมีเมฆหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี จึงถือว่าระบบนิเวศ ของชมพูภูคา มีความเปราะบางค่อนข้างมาก และกลายเป็นพรรณไม้หายาก เพราะในเมล็ดของชมพูภูคา มีเมือกสำหรับ ยับยั้งการเจริญเติบโต อีกทั้งระบบนิเวศน์ของป่าดิบเขาเปลี่ยนไป ทำให้ขยายพันธุ์ได้ยาก [3]

ปักหมุดเยี่ยมชม ต้นชมพูภูคา แห่งเดียวในโลก

แห่งเดียวในโลกที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน สามารถไปเยี่ยมชม ดอกชมพูภูคา ได้ที่บริเวณศาลเจ้าหลวงภูคา (ต้นด้านใน) ซึ่งดอกชมพูภูคาจะออกช่อดอกสีชมพูสวยสดงดงาม ปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น ในช่วงเดือน ก.พ. – มี.ค.

ปักหมุด : จุดที่ชมต้นชมพูภูคาได้สะดวกที่สุด อยู่บริเวณริมทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว-บ่อเกลือ) อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร
สอบถามข้อมูล : อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โทรศัพท์ : 082 194 1349
E-mail : [email protected]

คลิกเพื่อดูแผนที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้ที่นี่ Maps

ข้อมูลเพิ่มเติม

หากต้องการไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติ เยี่ยมชมต้นชมพูภูคา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลด้านต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

ติดต่อสอบถามข้อมูลการจองที่พักอุทยานแห่งชาติ
โทรศัพท์ : 02-562-0760-3 หรือ 02-561-0777 ต่อ 1743, 1744
E-mail : [email protected]

ติดต่อสอบถามข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
โทรศัพท์ : 02-561-0777 ต่อ 1742

ศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
E-mail : [email protected]

สรุป ชมพูภูคา เลอค่า ไม้หายาก

ชมพูภูคา

สรุป ชมพูภูคา เลอค่า ไม้หายาก หากนักท่องเที่ยวสนใจ จะไปชม ดอกชมพูภูคา ที่สวยสะพรั่ง รออวดโฉมแด่นักท่องเที่ยว ก็ไปกันได้เลยที่จังหวัดน่าน ไป Check in จุดชมวิวที่สะดวกที่สุดที่ทางอุทยานจัดไว้ ให้ยืนชมต้นชมพูภูคาที่ยืนต้นสูงขึ้นมาจากหุบเขาได้เลย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

317