ดาวหางฮัลเลย์ การเดินทางกว่า 75 ปี เพื่อกลับมาพบกันอีกครั้ง

ดาวหางฮัลเลย์

ดาวหางฮัลเลย์ หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ ที่จะโคจรมาให้เราเห็นในช่วงชีวิตหนึ่ง ก่อนที่จะเดินทางกลับสู่อวกาศลึก และใช้เวลาอีกหลายสิบปี ก่อนจะวนกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นดาวหางเพียงดวงเดียว ที่มีคาบการโคจรที่สั้นมากพอ ที่จะทำให้เราสามารถรอคอยการกลับมาของมันได้

ดาวหางฮัลเลย์ ใช้เวลาในการเดินทางกว่า 75 ปี เพื่อเดินทางวนกลับมาใกล้โลกของเราอีกครั้ง นับจากที่มันได้เดินทางผ่านไป ซึ่งสำหรับใครที่อยากทำความรู้จักกับดาวหางนี้ คุณสามารถอ่านรายละเอียดที่น่าสนใจได้ ผ่านข้อมูลที่เราได้นำมาแชร์ให้ในวันนี้เลย

ทำความรู้จักกับ ดาวหางฮัลเลย์ (Halley’s Comet)

ดาวหางฮัลเลย์

ดาวหางฮัลเลย์ หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Halley’s Comet ซึ่งถูกตั้งชื่อตาม เอ็ดมัน ฮัลเลย์ [1] นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ค้นพบการมีอยู่ของดาวหางดวงนี้เป็นคนแรก โดยเขาเชื่อว่าดาวหางที่ปรากฏบนท้องฟ้าในปี ค.ศ. 1531, 1607 และ 1682 คือดาวหางดวงเดียวกัน

ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว นักดาราศาสตร์ยังไม่เชื่อว่า ดาวหางโคจรรอบดวงอาทิตย์ของเรา และมองว่าวัตถุพวกนี้ จะปรากฏมาแค่หนึ่งครั้งเท่านั้น และพวกมันจะโคจรผ่านไปตลอดกาล จนกระทั่งเรื่องของดาวหางฮัลเลย์นี้ ได้ถูกตีพิมพ์ออกไป ซึ่งการตีพิมพ์ครั้งนี้ ก็ได้เปลี่ยนความเชื่อนั้นไปทันที

คำทำนายการกลับมาของ ดาวหางฮัลเลย์ ที่เกิดขึ้นจริง

จากการศึกษา ดาวหางฮัลเลย์ ของเอ็ดมัน ฮัลเลย์ ในตลอดระยะเวลาหลายสิบปี เขาก็ได้ทำนายเอาไว้ว่า ดาวหางดวงนี้ จะกลับมาปรากฏอีกครั้งในปี ค.ศ. 1758 แต่แล้วเขาก็ได้เสียชีวิตลง ด้วยอายุ 85 ปี หรือก่อนกำหนดการกลับมาของดาวหางดวงนี้เพียง 16 ปีนั่นเอง

โดยการทำนายนี้ ยังเป็นที่โด่งดังไปทั่วยุโรป และส่งผลให้นักดาราศาสตร์จากชาติต่าง ๆ เฝ้ารอคอยการกลับมาของดาวหางดวงนี้อยู่ จนกระทั่งในวันคริสต์มาส ปี ค.ศ. 1758 นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน เขาเป็นคนแรกที่ได้พบการกลับมาของดาวหางฮัลเลย์ ตามคำทำนายของเอ็ดมัน ฮัลเลย์

รีวิว การกลับมาของ ดาวหางฮัลเลย์ ที่ทั่วโลกรอคอย

ดาวหางฮัลเลย์

ดาวหางฮัลเลย์ ในตอนนี้ กำลังจะเดินทางไปยังจุดไกลสุดของวงโคจร หรือเรียกว่าการสิ้นสุดของการเดินทางออกไปสู่ระบบสุริยะชั้นนอก และนับจากนี้เป็นต้นไป ดาวหางดวงนี้จะใช้เวลาเดินทางอีกประมาณ 30 กว่าปี เพื่อกลับเข้ามาสู่ระบบสุริยะชั้นใน

และจะปรากฏให้ผู้คนได้เห็นบนท้องฟ้ายามค่ำคืน ในช่วงกลางปี ค.ศ. 2061 โดยมีกำหนดเข้ามาเฉียดใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ในวันที่ 28 กรกฎาคม ของปีดังกล่าว ในระยะห่างประมาณ 87 ล้านกิโลเมตร และไกลสุดประมาณ 5,200 ล้านกิโลเมตรนั่นเอง

ที่มา: ทำไมการพบดาวหางฮัลเล่ย์ ถึงเปลี่ยนความเข้าใจระบบสุริยะไปตลอดกาล [2]

สรุป ดาวหางฮัลเลย์ เครื่องหมายของการกลับมาพบกันอีกครั้ง

ดาวหางฮัลเลย์ ดาวหางที่อาจจะเป็นวัตถุขนาดเล็ก สำหรับระบบสุริยะของเรา แต่ก็เป็นดาวหางเพียงดวงเดียวที่เราคุ้นเคย และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งหลาย ๆ คนมองว่ามันเปรียบเสมือนคำมั่นสัญญา ที่ในเวลาทุก ๆ 75 ปี เราจะกลับมาพบกันอีกครั้ง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
334