นกหัวขวาน หมอรักษาไม้

นกหัวขวาน

นกหัวขวาน เป็นนกชนิดหนึ่งที่ทำเอาคนอึ้งไปตามๆกัน กับความสามารถพิเศษ ที่ไม่เหมือนใคร ในการใช้ปากเจาะต้นไม้ให้เป็นโพรงใหญ่ เพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัย และเตรียมพร้อมในการฟักไข่ได้ และยังสามารถใช้ปาก ในการเจาะเปลือกไม้ เพื่อหาอาหาร หาจับกินหนอนตามเปลือกไม้ ต้นไม้ต่างๆ จนได้รับฉายาว่า “หมอต้นไม้”

นกหัวขวานนกนักเจาะอันดับหนึ่ง

นกหัวขวานใช้แรงกระแทก ในการเจาะที่แรกมาก มันสามารถทำแบบนั้นได้ โดยไม่มีผลกระทบ ต่อสมองของมันเลย เนื่องจากที่หัวของมัน มีกะโหลกที่หนาแน่น และยืดหยุดได้เหมือนฟองน้ำ และยังมีกล้ามเนื้อ ที่แข็งแรงหุ้มกะโหลก อีกทั้งยังมีจะงอยปาก ที่บนล่างไม่เท่ากัน เหล่านี้สามารถช่วยลดแรงกระแทก ที่จะไปกระทบสมองของมันได้

และอีกหนึ่งอย่าง ที่หลายคนยังไม่รู้มาก่อนว่า นกชนิดนี้มีลิ้นที่ยาวมากๆ ทำให้ลิ้นบางส่วนของมัน ต้องอ้อมไปเก็บไว้ด้านหลังของกะโหลก และลิ้นของมันอันนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถลดแรงกระแทกได้อีกด้วย

สามารถดูวิธีการเจาะต้นไม้ของนกได้ที่ “ หัวขวานสุดยอดในการเจาะ

รูปร่างและลักษณะ

นกชนิดนี้ จะมีลักษณะปากยาว และแหลม ปลายปากแหลมโค้งคล้ายลิ่ม ใช้เป็นเครื่องมือในการเจาะไม้เพื่อหาอาหารและสร้างรังที่อยู่อาศัย หัวโต มักมีหงอนหรือขนที่บริเวณหัว หางค่อนข้างที่จะสั้น ทรงลักษณะเป็นรูปลิ่ม ขาสั้น มีเล็บเท้าแหลมคม ใช้ในการเกาะเกี่ยวต้นไม้ สามารถไต่ปีนต้นไม้ ขึ้นลงเป็นทางตรงได้ ลำตัวจะมีขนปกคลุมหนาแน่น ขนมีสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดต่างๆ

การจำแนกทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร : Animalia
ไฟลัม : Chordata
ชั้น : Aves
อันดับ : Piciformes
อันดับย่อย : Pici
วงศ์ : Picidae

ถิ่นกำเนิดของหัวขวานนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดมากนักในปัจจุบัน แต่เชื่อว่า มีถิ่นกำเนิดในทวีปยูเรเชีย และเอเชีย มีการกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ยกเว้นมาดากัสการ์ , นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย พบได้ประมาณ 200 ชนิด

ในประเทศไทยพบได้ราว 36 ชนิด และมี 2 ชนิดที่หายสาบสูญไปนานกว่า 50 ปีแล้ว จากการตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย คือ พันธุ์อิมพีเรียล กับพันธุ์ปากงาช้าง

จะมักอาศัยอยู่ได้ในป่าทุกประเภท เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน ป่าดิบชื้น ป่าดิบแห้ง และอาจจะพบเห็นบ้างในเมือง เพราะบางสายพันธุ์ จะสามารถปรับตัว ให้เข้ากับในเมืองได้ เช่น นกหัวขวานใหญ่สีเทา  (Mulleripicus pulverulentus) นกหัวขวานหัวเหลือง ( Gecinulus grantia )ที่พบได้ทั่วไปในกรุงเทพฯ

ที่มา: “ วงศ์หัวขวาน “ [1]

นกหัวขวานความสำคัญต่อระบบนิเวศ

นกหัวขวานถือว่าเป็นนกที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศมากๆ เพราะอาหารของมันคือหนอนที่อยู่ในต้นไม้ มันจะคอยกำจัดหนอน ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นไม้ป่วย และตายได้ ทั้งนี้ยังสามารถ ควบคุมประชากร ของพวกแมลงเล็กๆ ต่างๆ ลดการเกิดใหม่ของพวกแมลง ที่สามารถไปทำลาย พืชผลทางการเกษตรได้

นกหัวขวาน

ชนิดที่พบได้บ่อยในไทย

  • หัวขวานด่างแคระปักษ์ใต้ Sunda Pygmy Woodpecker
  • หัวขวานอกแดง Crimson-breasted 
  • หัวขวานหัวเหลือง Pale-headed Woodpecker
  • หัวขวานหลังสีส้ม Orange-backed 
  • หัวขวานสี่นิ้วหลังทอง Greater Flameback
  • หัวขวานสีตาล Rufous Woodpecker
  • หัวขวานสามนิ้วหลังสีไพล Olive-backed 
  • หัวขวานลายตะโพกเหลือง Buff-rumped Woodpecker
  • หัวขวานลายตะโพกเหลือง Buff-rumped 
  • หัวขวานลายคอแถบขาว Buff-necked Woodpecker

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นแค่สายพันธุ์บางส่วน ของสายพันธุ์ทั้งหมดที่พบเห็นบ่อยในไทยเท่านั้น

ที่มา: “ Family Picidae “ [2]

พฤติกรรมการวางไข่ที่แปลก

นกชนิกนี้ จะเป็นนกที่มีพฤติกรรม ที่แปลกในการกกไข่ เพราะหลังจากที่ตัวเมียออกไข่เสร็จแล้ว ตัวผู้จะเข้ากกไข่แทนตัวเมีย และเลี้ยงดูลูกอ่อนเแทน โดยมีตัวเมียมาช่วยบ้างเป็นบางครั้ง แต่อย่างไรก็ตามนกชนิดนี้  จะมีโพรงที่อาศัยอยู่เป็นประจำ ของใครของมันอยู่แล้ว เวลาค่ำก็จะกลับไปนอน ที่นอนของตัวเอง นกหนึ่งตัว จะมีสร้างโพรงไว้ประมาณ 2-3 โพรง เพื่อป้องกันอันตรายที่จะมารบกวน [3]

การสืบพันธุ์

จะมีคู่ผสมพันธุ์แบบ Monogamy หรือ การผสมพันธุ์เพียงตัวเดียว จะจับคู่ตัวเดิมเพียงในฤดูกาลเดียว เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ ตัวผู้จะส่งเสียงร้องถี่ๆ เพื่อแสดงอาณาเขตของตัวเอง และมีการต่อสู้โดยใช้ปากเป็นอาวุธ หากฝ่ายใดชนะก็ได้ตัวเมียนั้นไปครอบครอง

สรุป นกหัวขวาน

สรุป นกหัวขวาน เป็นนกที่สามารถพบได้ทั่วไป นอกจากจะเป็นนกที่มีเอกลักษณ์แล้ว ยังมีความสามารถพิเศษเฉพาะตัว  และยังเป็นนกที่มีความสำคัญ ต่อระบบนิเวศของเรา ทำให้ระบบนิเวศของเราดีขึ้นอีกด้วย ต้องชื่นชมเลยว่า เป็นนกที่สร้างประโยชน์มากๆ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

328