นกเงือก ผู้ช่วยสร้างป่า

นกเงือก

นกเงือก เป็นนกที่ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์ของความรัก และความซื่อสัตย์ หลายคนคงจะพอรู้จักบ้างแล้ว อาจจะเป็นนกที่ไม่ค่อยได้เห็นกันง่ายๆ นัก และอาจจะเป็นนกที่ไม่ได้มีสีสันที่สวยงาม แต่รู้ไหมนกชนิดนี้มีส่วนร่วมในการสร้าง และขยายผืนป่าของเราให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้นอีกด้วย

 นกเงือก13 กุมภาพันธ์ วันรักนกเงือก

นกเงือก มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศของป่าไม้มาก เพราะพฤติกรรมการกิน ของนกเงือกที่มักจะกินผลไม้สุกมากกว่า 300 ชนิด และขย้อนเมล็ดผลไม้แต่ละนานาพรรณ ออกมาทิ้ง ทำให้นกเงือกสามารถกระจายพรรณไม้ไปในที่ต่างๆ ทำให้ผืนป่ามีต้นไม้ที่งอกใหม่มากขึ้น

ตลอดชีวิตของนกเงือกหนึ่งตัว อาจจะกระจายพรรณไม้ ได้กว่า 500,000 ต้น ถ้ามีเหล่านกเงือกอยู่ที่ป่าไหน ป่านั้นก็จะเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่ศึกษาและวิจัยนกเงือกมานานกว่า 20 ปี จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น ‘วันรักนกเงือก’ ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ 2547 เพื่อที่จะได้รำลึกถึงความสำคัญของนกเงือกที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ [1]

 ลักษณะเด่น ที่เห็นได้ชัด

นกเงือกเอเชียส่วนมาก จะมีขนาดที่ใหญ่-ใหญ่มาก มีขนาดความยาววัดตั้งแต่ ปลายปากจนถึงปลายหาง อยู่ที่ประมาณ 60-150 เซนติเมตร นกเงือกทุกชนิดตัวผู้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าตัวเมีย จะมีโหนกเหนือจะงอยปากสีจะมีตั้งแต่สีเหลือง สีเหลืองอมน้ำตาล ไปจนถึงสีน้ำตาล ไม่มีขนปกคลุมปีก

การจำแนกทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร: Animalia
  • ไฟลัม: Chordata
  • ชั้น: Aves
  • อันดับ: Coraciiformes
  • วงศ์: Bucerotidae Rafinesque
  • สกุล: Aceros Hodgson, Anorrhinus Reichenbach, Anthracoceros Reichenbach, Berenicornis Bonaparte, Buceros Linnaeus, Bucorvus Lesson, Bycanistes Cabanis & Heine, Ceratogymna Bonaparte, Ocyceros Hume, Penelopides Reichenbach, Rhinoplax Gloger, Rhyticeros Reichenbach, Tockus Lesson,
    Tropicranus W. L. Sclater

ชื่อพ้อง

  • Bucerotiformes
  • Bucerotes

ที่มา: “นกเงือก” [2]

ประเภทที่พบเห็นได้ง่ายในไทย

นกเงือกที่พบในไทย มีมากถึง 13 ชนิด ได้แก่

  1. นกเงือกคอแดง
    ตัวผู้จะมีลักษณะหัว คอ และอกมีสีสนิม ใต้หน้าท้องจะมีสีน้ำตาลเข้ม
    ตัวเมียหัว จะมีลักษณะคอ มีสีดำ
  2. นกเงือกปากดำ หรือ กาเขา
    ตัวผู้จะมีลักษณะปากและโหนกบนมีสีดำ
    ตัวเมียจะมีลักษณะปากและโหนกบน มีสีเหลืองแซมดำ
  3. นกเงือกสีน้ำตาล
    ตัวผู้จะมีลักษณะขนคอ และอกสีน้ำตาลแดง ปากมีสีน้ำตาล
    ตัวเมียจะมีลักษณะตัวสีน้ำตาลดำ ปากมีสีดำ
  4. นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว
    ตัวผู้จะมีลักษณะขนคอและอกสีขาว
    ตัวเมียจะมีลักษณะสีน้ำตาลดำ
  5. นกเงือกดำ
    ตัวผู้จะมีลักษณะปากและโหนกสีงาช้าง หนังรอบตาสีดำ
    ตัวเมียจะมีลักษณะปากและโหนกสีดำ หนังรอบตาสีชมพู
  6. นกเงือกหัวหงอก
    ตัวผู้จะมีลักษณะขนใต้คอถึงลำตัวสีขาว ขนบริเวณก้นสีดำ
    ตัวเมียจะมีลักษณะขนบนหัวมีสีขาว ขนใต้คอถึงลำตัวสีดำ
  7. นกแก๊ก
    ตัวผู้จะมีลักษณะปากและโห