ปาล์มบังสูรย์ สกุล Teysmannia ทั้ง 4 ชนิด

ปาล์มบังสูรย์

ปาล์มบังสูรย์ เป็นไม้ในป่าเขาดิบชื้น และเป็นไม้ชั้นล่างใต้ต้นไม้ใหญ่ เป็นปาล์มที่มีลักษณะเด่น อยู่ที่ใบ ใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด สวยงามเหมือนกับตัดแต่งขึ้นมา ในต่างประเทศเปรียบ ใบปาล์มนี้มีลักษณะ เป็นรูปเพชรตัด (Diamond Shape) หรือใบพาย (Paddle) มีพบมากในป่าบนเขาสูง ต่อแดนไทย-มาเลเซีย จัดอยู่ในสกุล Teysmannia

ที่มาของชื่อ ปาล์มบังสูรย์

ปาล์มบังสูรย์ มีที่มาจาก อาจารย์ประชิด วามานนท์ ผู้รับหน้าที่จัดสวนและตกแต่งบริเวณพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ.2517 เห็นว่าปาล์มชนิดนี้ ใบมีรูปทรงเหมือน เครื่องสูง หรือเครื่องขัตติยราชประเพณี ซึ่งใช้บังแสงแดดในพิธีแห่ โดยเสด็จขบวนพระยุหยาตรา

“ต้นไม้หายาก พันธุ์ไทย” ที่เรียกว่า “บังสูรย์” ซึ่งแปลว่าบังแสงแดด จึงนำนามเครื่องสูงนี้ มาตั้งชื่อปาล์มชนิดนี้ว่า “ปาล์มบังสูรย์” เช่นเดียวกับ จันทร์หอม ที่เป็นพันธุ์ไม้มงคลชั้นสูงที่ใช้ในงานราชพิธีเช่นกัน ปาล์มสกุล Teysmannia มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด โดยมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดังนี้ [1]

คลิกเพื่ออ่าน จันทร์หอม 

ปาล์มบังสูรย์ ชนิดที่ 1 Teysmannia altifrons

Teysmannia altifrons เป็นปาล์มบังสูรย์ที่พบในจังหวัดนราธิวาส ชนิดใบกว้างใหญ่ทรงข้าวหลามตัดสีเขียวทั้งบนใบและใต้ใบ ไม่มีลำต้นไม่แตกหน่อ เป็นปาล์มต้นเดี่ยว [2]

ก้านใบ: โผล่จากพื้นดิน ยาวสุดประมาณ 3 ฟุต ก้านและใบสีเขียว มีหนามเล็กสั้นเรียงเป็นระเบียบ
ใบ: เป็นสีเขียวสด รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ใบกว้างประมาณ 3 ฟุต ยาวประมาณ 6 ฟุต ตัวใบเป็นจับพับคล้ายผ้าอัดจีบ ละเอียดทอดยาว ไปตามแนวใบ ใบจะโผล่จากกอ ประมาณ 6-10 ใบต่อปี
ดอก: ออกเป็นช่อสั้นๆยาวประมาณหกนิ้วโค้งลงบิดเบี้ยวเล็กน้อย ดอกออกระหว่างก้านใบ ดอกเล็กๆ สีขาวครีม
เมล็ด: ภายในกลมเรียบแข็ง เปลือกบางสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดเกาลัด

ปาล์มบังสูรย์ ชนิดที่ 2 Grey teysmannia or Silver teysmannia

Grey teysmannia or Silver teysmannia เป็นปาล์มบังสูรย์เหมือนชนิดที่ 1 แต่ต่างกันที่ ใต้ใบมีสีเป็นสีเทาควันบุหรี่ หรือสีเงิน เมล็ดภายในกลมผิวไม่เรียบ แบบชนิดที่ 1 ชนิดนี้หายาก อาจพบได้บ้างที่ประเทศมาเลเซีย
เมล็ด: เหมือนผิวลูกกอล์ฟ

ปาล์มบังสูรย์ เหมือนชนิดที่ 1 แต่แตกต่างกันเล็กน้อย

ปาล์มบังสูรย์ชนิดที่ 3 Trunked

  • tersmanniaTrunked tersmannia เป็นปาล์มบังสูรย์เหมือนชนิดที่ 1 ต่างกันที่มีลำต้นดิ่งตรงสูงเหมือนต้นมะพร้าว แต่เล็กกว่าและเตี้ยกว่า โดยสูงสุดประมาณ 10 ฟุต

ปาล์มบังสูรย์ชนิดที่ 4 Lanceolate teysmannia

  • Lanceolate teysmannia เป็นปาล์มบังสูรย์เหมือนชนิดที่ 1 แต่ใบมีความยาวมากก่วาความกว้าง เป็นชนิดที่หายาก คือใบกว้าง 1 ฟุตครึ่ง แต่ยาวถึง 8 ฟุต ใบมีสีเขียวสด

 การขยายพันธุ์

ปาล์มบังสูรย์

ขยายพันธุ์โดยการ เพาะเมล็ดอย่างเดียว เนื่องจากปาล์มบังสูรย์ เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ไม่มีกิ่งก้าน แขนง ไม่แตกหน่อ ลำต้นเลื้อยใต้ดิน เป็นปาล์มแบบสมบูรณ์เพศ [3]

  • คัดเมล็ดที่แก่จัด เปลือกเมล็ดเป็น สีน้ำตาลเรียบไม่แตก แช่ยากันเชื้อรา นานประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง
  • แล้วนำมาเพาะในวัสดุเพาะ วัสดุที่ใช้ในการเพาะ: ใช้ทรายอย่างเดียว หรือทรายผสมขี้เถ้าแกลบ หรือทรายผสมขุยมะพร้าว โดยใช้วัสดุเพาะหนาประมาณ 6 นิ้ว
  • แล้วกลบเมล็ดพอมิด ด้วยวัสดุเดียวกัน รดน้ำอย่าให้วัสดุแห้ง ใช้เวลา 60 วัน
  •  รื้อแปลงเพาะ คัดเอาเฉพาะเมล็ดที่งอกแล้ว (ออกรากแล้ว) ไปชำในถุง หรือกระถางต่อไป ส่วนเมล็ดที่เหลือ หากไม่เสีย ก็นำกลับไปเพาะไว้ โดยจะรื้อแปลงเพาะทุกๆ 30 วัน จนกว่า เมล็ดจะหมด

การปลูกปาล์มบังสูรย์

  • โดยนำเมล็ดที่งอกแล้ว ไปปลูกในกระถางหรือถุงดำขนาด 4 x 10 นิ้ว พับข้าง (หรือ 8 x 10 นิ้ว) โดยใช้ดินปลูกประกอบด้วยหน้าดินส่วนหนึ่งผสมกับแกลบดิบหรือขุยมะพร้าว หรือทั้งสองอย่าง ในอัตราส่วน 1:1 เติมปุ๋ยคอกประมาณ 5-10 % โดยฝังรากของปาล์มลงในดินปลูกแล้วกลบเทล็ดพอมิดด้วยดินปลูกอีกทีหนึ่ง
  • รดน้ำให้ชุ่ม วางไว้ในร่มรำไร (มีแสงประมาณ 10 – 20%) รากก็จะเจริญลงไปในดิน ปลูกในระดับหนึ่ง แล้วสร้างตายอดแทงขึ้นมาเป็นใบจาก ดินปลูก พร้อมกับแตกรากฝอยในที่ใต้จุดที่เกิดยอด
  • ใช้เวลาในช่วงนี้ประมาณ 2-3 เดือน จึงจะเห็นใบโผล่ออกจากดินปลูก เลี้ยงไว้อายุ 1 ปีจะได้ต้นขนาด 2-3 ใบ ใบกว้าง 2 – 3 นิ้ว อายุ 2 ปี จะได้ต้นขนาด 5 – 6 ใบ ใบกว้าง 4 – 6 นิ้ว

การดูแลรักษา

ปาล์มบังสูรย์ ไม่ชอบแสงแดดจัด หากปลูกเลี้ยงไว้ในที่กลางแจ้ง จะทำให้ใบไหม้ และตายได้ จึงควรปลูก ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใต้ชายคาบ้าน ที่มีแสงบ้าง หรือใต้ร่มเงาที่สร้างขึ้นมา แค่ให้มีแสงผ่านได้ 10 – 20 % (กรองแสง80%)
น้ำ: ควรให้น้ำสม่ำเสมอ รดน้อยแต่บ่อยครั้ง
ปุ๋ย: ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักปีละ 1 – 2 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ให้คราวละน้อยๆ ตามแต่ควร จะช่วยทำให้ใบ มีสีเขียวเข้มขึ้น

สรุป ปาล์มบังสูรย์ ทั้ง 4 ชนิด พร้อมวิธีการปลูกและดูแลรักษา

ปาล์มบังสูรย์

สรุป รู้จัก ปาล์มบังสูรย์ ทั้ง 4 ชนิด พร้อมวิธีการปลูกและดูแลรักษาที่ได้บอกไว้ในตอนต้น แต่ปาล์มบังสูรย์อาจจะมีปัญหา ที่เกิดจากเชื้อราบ้าง ทำให้ใบเป็นด่างจุดสนิมสีน้ำตาล ควรฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อราบางครั้ง รวมถึงยังมีหนอน และแมลงบางชนิด จะกัดกินใบขณะใบยังอ่อน ทำให้ใบเสียได้ ควรระวังไว้ในเบื้องต้น

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

บทความที่น่าสนใจ
220