ผลเสีย ฟอสฟอรัส และวิธีการจัดการในร่างกาย

ผลเสีย ฟอสฟอรัส

ผลเสีย ฟอสฟอรัส อาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายคน เพราะแร่ธาตุชนิดนี้ มักถูกมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในกระบวนการเสริมสร้างกระดูกและฟัน รวมถึงการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม เมื่อระดับฟอสฟอรัส ในร่างกายไม่สมดุล อาจผลกระทบ ต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึง

ผลเสีย ฟอสฟอรัส ถ้าได้รับไม่เพียงพอ จะเกิดอะไรขึ้น

การขาดฟอสฟอรัส (Hypophosphatemia) อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย และเหนื่อยล้า เนื่องจากฟอสฟอรัสมีบทบาทสำคัญ ในการผลิตพลังงาน การขาดฟอสฟอรัส อาจทำให้รู้สึกไม่มีแรง รวมถึงปวดกระดูก และกล้ามเนื้อ เพราะฟอสฟอรัส ช่วยเสริมความแข็งแรง ของกระดูกและกล้ามเนื้อ

นอกจากนี้ การขาดฟอสฟอรัส ยังส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการสับสน ชัก หรือหมดสติ และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย หากสงสัยว่าตนเอง อาจขาดฟอสฟอรัส ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจ และคำแนะนำที่เหมาะสม [1]

แร่ธาตุสำคัญ ฟอสฟอรัส คืออะไร

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) คือแร่ธาตุสำคัญในร่างกาย มีบทบาทในการเสริมสร้างกระดูก และฟัน ผลิตพลังงาน (ATP) รักษาสมดุลกรด-ด่าง และสนับสนุนการทำงาน ของเซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อ พบมากในอาหาร เช่นเนื้อสัตว์ นม และถั่ว การได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยให้ร่างกาย ทำงานได้อย่างปกติ

ผลเสียหากปริมาณฟอสฟอรัส ในร่างกายสูงเกินไป

  • ผลเสียฟอสฟอรัสมีผลกระทบต่อไต: การมีฟอสฟอรัส ในเลือดสูงเกินไป จะเพิ่มภาระต่อไต ในการกรองของเสีย ส่งผลให้ไตเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ในผู้ที่มีปัญหาไตเรื้อรัง ซึ่งปัญหานี้พบได้ใน ผลเสีย แคลเซียม เช่นเดียวกัน
  • ความเสี่ยงต่อหัวใจ และหลอดเลือด: ฟอสฟอรัสส่วนเกิน อาจจับกับแคลเซียม ในหลอดเลือด ทำให้เกิดการแข็งตัวของหลอดเลือด หรือภาวะหลอดเลือดตีบตัน (vascular calcification) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ
  • ผลกระทบต่อกระดูก: แม้ฟอสฟอรัส จะเป็นส่วนสำคัญของกระดูก แต่หากมีปริมาณมากเกินไป จะรบกวนการดูดซึมแคลเซียม ทำให้กระดูกอ่อนแอ

ผลเสียฟอสฟอรัส และการขับออกจากร่างกาย

ผลเสีย ฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัสในร่างกาย ถูกขับออกทางปัสสาวะ และอุจจาระ โดยมีกระบวนการหลัก ดังนี้

  1. การขับออกทางปัสสาวะ ผ่านทางไต ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ที่ทำหน้าที่กรอง และขับฟอสฟอรัสส่วนเกิน ออกจากร่างกาย ผ่านปัสสาวะ ไตจะปรับสมดุล ของฟอสฟอรัสในเลือด โดยการกรองฟอสฟอรัสในเลือด ที่ผ่านเข้าสู่ไต หากร่างกายมีปริมาณฟอสฟอรัส เกินความต้องการ ไตจะเพิ่มการขับออกทางปัสสาวะ
  2. การขับออกทางอุจจาระ ส่วนหนึ่งของฟอสฟอรัส ที่ไม่ได้ถูกดูดซึม ในระบบทางเดินอาหาร จะถูกขับออกจากร่างกายทางอุจจาระ

ที่มา: ประโยชน์และผลข้างเคียงจากฟอสฟอรัส [2]

 

เมื่อฟอสฟอรัสสูง ควรทำอย่างไร

เมื่อระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ควรดำเนินการดังนี้

  • ปรับเปลี่ยนอาหาร: หลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่นนม และผลิตภัณฑ์จากนม ไข่แดง ถั่วเมล็ดแห้ง เครื่องในสัตว์ และอาหารแปรรูปต่างๆ
  • รับประทานยาจับฟอสเฟต: แพทย์อาจสั่งยา ที่ช่วยลดการดูดซึมฟอสฟอรัสในลำไส้ เช่นยา Lanthanum หรือ Sevelamer เพื่อควบคุมระดับฟอสฟอรัสในเลือด
  • ฟอกไตอย่างเพียงพอ: สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การฟอกไตอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอ จะช่วยลดระดับฟอสฟอรัสในเลือดได้
  • ปรึกษาแพทย์: หากมีอาการหรือสงสัย ว่าระดับฟอสฟอรัสสูง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และการรักษาที่เหมาะสม

การจัดการ ระดับฟอสฟอรัสในเลือด เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น [3]

 

แหล่งอาหารที่พบฟอสฟอรัส และปริมาณต่อวัน

ฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุสำคัญ ที่พบในอาหาร หลากหลายประเภท โดยเฉพาะในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่นนมและผลิตภัณฑ์จากนมถั่วเมล็ดแห้ง และผลิตภัณฑ์จากถั่ว เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ตัวอย่างอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง และปริมาณฟอสฟอรัสต่อ 100 กรัม ได้แก่

  • เมล็ดฟักทอง: 1232 มิลลิกรัม
  • ชีสพาร์เมซาน: 730 มิลลิกรัม
  • เมล็ดถั่วเหลืองแห้ง: 583 มิลลิกรัม
  • งาดำ: 570 Milligram
  • อัลมอนด์: 500 Milligram
  • ถั่วพิสตาชิโอ: 490 Milligram
  • ปลาซาร์ดีน: 430 มก.
  • ข้าวโอ๊ต: 400 มก.
  • นมผง: 360-400 มก.
  • ถั่วลิสง: 350-400 Mg.
  • ตับไก่: 400 Mg.
  • ปลาแซลมอน: 250-300 Mg.

สำหรับปริมาณฟอสฟอรัส ที่แนะนำต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่คือประมาณ 700 มิลลิกรัมอย่างไรก็ตาม ความต้องการฟอสฟอรัส อาจแตกต่างกัน ไปตามอายุ เพศ และสภาวะสุขภาพ ของแต่ละบุคคล

สรุป ผลเสีย ฟอสฟอรัส แร่ธาตุที่มีผลต่อสุขภาพไต

ฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุสำคัญ ที่ร่างกายต้องการ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ การรักษาสมดุล ของฟอสฟอรัสในร่างกาย เป็นสิ่งสำคัญ โดยสามารถทำได้ ผ่านการปรับอาหาร การดูแลสุขภาพไต และการตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากพบความผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

บทความที่น่าสนใจ
93