ผลเสีย ไอโอดีน (Iodine) ผลกระทบต่อร่างกาย

ผลเสีย ไอโอดีน

ผลเสีย ไอโอดีน อาจเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม เพราะส่วนใหญ่ มักให้ความสำคัญ กับการป้องกันการขาดไอโอดีนมากกว่า แต่การได้รับไอโอดีน ในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย ก็สามารถก่อให้เกิดผลกระทบ ที่ไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะในเรื่องการทำงานของต่อมไทรอยด์

ผลเสีย ไอโอดีน จากการได้รับปริมาณมากเกิน

การบริโภคไอโอดีน เกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ (มากกว่า 1,100 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับผู้ใหญ่) อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยมีผลกระทบดังนี้

  • ผลเสียไอโอดีนการบริโภคเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ อาจเกิดการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ทำให้หัวใจเต้นเร็วเหนื่อยง่าย น้ำหนักลด และความดันโลหิตสูง จากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เพราะไอโอดีนที่มากเกิน จะกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ให้ผลิตฮอร์โมน ในปริมาณมากเกิน
  • ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism) ในบางกรณี ร่างกายอาจตอบสนอง ด้วยการลดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ผิวแห้ง และน้ำหนักเพิ่ม
  • โรคไทรอยด์อักเสบ การได้รับไอโอดีน ในปริมาณสูง เป็นเวลานาน อาจทำให้ต่อมไทรอยด์อักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการปวดบวมที่คอ และทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
  • การสะสมของไอโอดีนในร่างกาย อาจเกิดภาวะที่เรียกว่า Iodine-induced thyrotoxicosis ซึ่งเป็นการกระตุ้นไทรอยด์อย่างรุนแรง ทำให้เกิดความผิดปกติ ในระบบเผาผลาญ เช่นเหงื่อออกมาก รู้สึกร้อนง่าย หรือมีความดันโลหิตสูง
  • ผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน การบริโภคไอโอดีนเกิน อาจเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคไทรอยด์ จากภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่นโรค Graves’ Disease หรือ Hashimoto’s Thyroiditis
  • ผลกระทบอื่นๆ คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดท้อง คล้ายกับอาการ ผลเสีย ซีลีเนียม และการสะสมของไอโอดีนในร่างกาย อาจทำให้เกิดกลิ่นโลหะในปาก

เกลือเสริมไอโอดีนหมายถึงอะไร

เกลือไอโอดีน หมายถึงเกลือที่ผ่านกระบวนการเสริมไอโอดีน เพื่อเพิ่มปริมาณไอโอดีน ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากไอโอดีน เป็นแร่ธาตุสำคัญ ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ และต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น โดยคุณสมบัติสำคัญ ของเกลือไอโอดีนมีดังนี้

  • เพิ่มปริมาณไอโอดีนในอาหาร การเติมไอโอดีนในเกลือ ช่วยป้องกันปัญหาการขาดสารไอโอดีน ในทุกกลุ่มวัย
  • ป้องกันโรค ที่เกิดจากการขาดไอโอดีน เช่นคอพอก ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ และปัญหาการพัฒนาสมองในเด็ก
  • ใช้ง่ายในชีวิตประจำวัน เกลือไอโอดีน สามารถนำมาใช้ปรุงอาหาร แทนเกลือทั่วไปได้ โดยไม่มีผลต่อรสชาติ

ที่มา: โรคขาดสารไอโอดีน [1]

 

คนที่ขาดไอโอดีนจะมีอาการอย่างไร

  • คอพอก ต่อมไทรอยด์บวมโต บริเวณลำคอ อาจมีอาการแน่นคอ หรือกลืนลำบาก
  • น้ำหนักเพิ่ม การเผาผลาญช้าลง ทำให้น้ำหนักเพิ่มง่าย
  • อ่อนเพลีย ร่างกายผลิตพลังงานได้น้อยลง รู้สึกเหนื่อยง่าย
  • ผิวแห้ง และผมร่วง เกิดจากการชะลอตัว ของกระบวนการผลัดเซลล์
  • ท้องผูก ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง
  • รู้สึกหนาวง่าย การเผาผลาญพลังงานต่ำลง ทำให้ร่างกายควบคุมอุณหภูมิได้ไม่ดี
  • การพัฒนาสมองล่าช้า ในเด็กการขาดไอโอดีน อาจส่งผลต่อสติปัญญา และการเรียนรู้
  • ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้เกิดอาการทางจิต เช่นหงุดหงิด ซึมเศร้า หรือหลงลืม

วิธีป้องกันการขาดไอโอดีน เช่นใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหาร โดยคำนึงถึงปริมาณโซเดียม เพิ่มอาหารทะเลในมื้ออาหาร ทานปลาทะเล หรือสาหร่ายทะเลอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และตรวจสุขภาพต่อมไทรอยด์เป็นประจำ โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัว เกี่ยวกับโรคไทรอยด์ [2]

ไอโอดีนมีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย

  • การทำงานของต่อมไทรอยด์ ไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroxine และ Triiodothyronine) ซึ่งควบคุมระบบเผาผลาญของร่างกาย
  • พัฒนาการสมอง และระบบประสาท ไอโอดีนจำเป็นต่อพัฒนาการสมอง ของทารกในครรภ์และเด็ก หากขาดไอโอดีน จะทำให้สมองเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
  • การเจริญเติบโต และสุขภาพร่างกาย มีบทบาทสำคัญ ต่อการเจริญเติบโตของร่างกายโดยรวม ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การเผาผลาญพลังงาน และระดับพลังงาน
  • ป้องกันโรคคอพอก การบริโภคไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยง ของการเกิดคอพอก และภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
  • ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และทารก หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับไอโอดีนเพียงพอ จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เช่นการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด หรือทารกพิการแต่กำเนิด

ที่มา: ไอโอดีน ขาดก็ไม่ได้ เกินก็ไม่ดี [3]

 

ไอโอดีนในแหล่งอาหารทั่วไป

ผลเสีย ไอโอดีน

ไอโอดีนสามารถพบได้ ในอาหารธรรมชาติ หลากหลายชนิด รวมถึงอาหารเสริม เช่น

  • อาหารทะเล: ปลาทะเล สาหร่ายทะเล และหอยนางรม เป็นแหล่งไอโอดีนที่สำคัญ
  • เกลือเสริมไอโอดีน: เกลือที่ผ่านการเติมไอโอดีน เป็นวิธีป้องกันการขาดไอโอดีน ในหลายประเทศ
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนม: นมสด โยเกิร์ต และชีสบางชนิด
    ไข่ไก่: โดยเฉพาะในไข่แดง
  • พืชและผลไม้: เช่นมันฝรั่ง กล้วย และ Cranberry

ปริมาณไอโอดีน ที่แนะนำในแต่ละช่วงวัย

ความต้องการไอโอดีนในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับช่วงวัย และภาวะสุขภาพ

  • เด็ก (0-6 เดือน): 110 ไมโครกรัม
  • เด็ก (7-12 เดือน): 130 ไมโครกรัม
  • เด็ก (1-8 ปี): 90 มคก.
  • วัยรุ่น (9-13 ปี): 120 มคก.
  • ผู้ใหญ่: 150 mcg.
  • หญิงตั้งครรภ์: 220 mcg.
  • หญิงให้นมบุตร: 290 ไมโครกรัม

สรุป ผลเสีย ไอโอดีน ส่งผลภาวะไทรอยด์ผิดปกติ

ผลเสียไอโอดีนจากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป มีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นภาวะไทรอยด์ผิดปกติ การอักเสบของต่อมไทรอยด์ หรืออาการอื่นๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ การบริโภคไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม และสมดุล ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

41