พญาสัตบรรณ ต้นไม้มงคล ส่งเสริมเกียรติยศชื่อเสียง

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ หรือต้นตีนเป็ด ต้นไม้มงคล ตามความเชื่อนั้น เชื่อว่าปลูกไว้ในบ้าน จะช่วยส่งเสริมเกียรติยศชื่อเสียง นิยมปลูกกันในสถานที่ราชการ อาคาร หรือวัด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครในอดีต ที่นำต้นตีนเป็ดมาปลูกบริเวณริมถนนรวมกว่า 2,000 ต้น ที่ยังอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ: พญาสัตบรรณ หรือ ตีนเป็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Alstonia scholaris
ชื่อท้องถิ่นอื่น: หัสบัน, สัตบรรณ, สัตตบรรณ, จะบัน, บะซา, ปูลา, ปูแล, ตีนเป็ด, ตีนเป็ดขาว, ตีนเป็ดไทย, ต้นตีนเป็ด เป็นต้น
วงศ์: Apocynaceae (วงศ์ตีนเป็ด)
ถิ่นกำเนิด: ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบได้ทุกภาค
ต้นไม้มงคลประจำจังหวัด: สมุทรสาคร

ที่มา: พญาสัตบรรณ [1] 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นพญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 – 35 เมตร โคนต้นมักเป็นพูพอน

  • เปลือก ค่อนข้างหนา สีเทาอ่อน หรือเทาอมเหลือง
  • ใบ ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง 4 – 7 ใบ แผ่นใบรูปมน แกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อย โคนสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ
  • ดอก ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลือง หรืออมขาว ออกเป็นกลุ่มในช่อ ซึ่งแยกกิ่งก้าน ออกจากจุดเดียวกัน ตามปลายกิ่ง
  • ผล เป็นฝักเรียว ยาว 10 – 20 ซม. เมล็ดแบบทรงบรรทัดแคบๆ ยาว ประมาณ 7 มม. มีขนนุ่ม ยาวปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง
  • ออกดอก ตุลาคม – ธันวาคม เริ่มติดฝักประมาณเดือนมกราคม เมล็ดแก่ประมาณเดือน มีนาคม

การขยายพันธุ์ การปลูก และการดูแลรักษา