สุขภาพจิตวัยทำงาน ส่งผลต่อ สุขภาพโดยรวม

สุขภาพจิตวัยทำงาน

สุขภาพจิตวัยทำงาน นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับคน วัยทำงาน และก็เป็นสาเหตุหลักๆ ของการเจ็บป่วย และของการสูญเสีย เป็นอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก โดยมีปัจจัย ดังต่อไปนี้

สุขภาพจิตวัยทำงาน ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม จะป้องกันปัญหานี้อย่างไร

สุขภาพจิตวัยทำงาน นั้นย่อมส่งผล ต่อสุขภาพโดยรวม ของแต่ละคน การที่จะให้ ธุรกิจหรืองาน ขององค์กร เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ ในระยะยาวนั้น จำเป็น จะต้องร่วมมือกัน ด้วยวิธีไหน หากไม่เช่นนั้น แล้วรู้หรือไม่ว่า จะส่งผลเสีย ต่อสุขภาพ ในด้านใดบ้าง [1]

ส่งผลต่อสุขภาพ โดยรวมแบบใด

ส่งผลต่อสุขภาพ แบบเรื้อรัง : ภาวะหมดไฟ (Burnout), ระดับภูมิคุ้มกันลดลง, ความต้องการ ทางเพศลดลง, ความดันโลหิตสูง, สุดท้ายส่งผลต่อ สุขภาพทางจิต
ส่งผลต่อสุขภาพ แบบฉับพลัน : เกิดความเครียด, จิตใจว้าวุ่น คิดวิตกกังวล, เกิดความรู้สึกเศร้า, ไม่อยากทานอาหาร, การเผาผลาญ ในร่างกายผิดปกติ

วิธีที่จะป้องกัน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือ จากทุกคนในองค์กร ทำอย่างไร

สุขภาพจิตวัยทำงาน สิ่งแรกคือ ต้องลดปัจจัย หรือต้นเหตุที่ก่อให้เกิด ความเครียด มีการปรับปรุง ในทีมพัฒนาการสื่อสาร ให้เข้าใจตรงกัน ผู้บริหาร ควรปรับสถานที่ทำงาน  และสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสม

สนับสนุนให้พนักงาน มีการเป็นอยู่ที่ดี ใส่ใจพนักงาน ที่มีปัญหาสุขภาพจิต อย่างเหมาะสม ให้ความรู้ และสนับสนุนกิจกรรม เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น กิจกรรมออกกำลังกาย การนั่งสมาธิ

สุขภาพจิตวัยทำงาน เกิดจากอะไร

กรมสุขภาพจิต พบคนไทยมีโอกาส เจ็บป่วยด้วย โรคจิตเวชประมาณ 16 ล้านคน ผลสำรวจในปี 2022 ในจำนวนนั้น พบว่าอาการเจ็บป่วย ที่เกิดขึ้นมาจาก

  • ของคนทำงาน ความวิตกกังวลอ่อนๆ 58% โดย1 ใน 4 มีภาวะวิตกกังวล (Symtoms of anxiety)
  • ของคนทำงาน ประสบภาวะซึมเศร้า 52% โดย 1 ใน 5 มีภาวะซึมเศร้า (Symptoms of depression)
  • ของลูกค้า มีภาวะเครียด ระดับปานกลาง ถึงเครียดจัด 67% จากภาระงานที่หนักเกินไปและความเครียดจากในที่ทำงาน

ในกรณีที่พนักงาน ต้องทำงานจากทางไกล หรือ Work From Home นั้นสิ่งที่ผู้นำ หรือผู้บริหารต้องตระหนัก และดำเนินการรับมือ

ที่มา : ปัญหาสุขภาพจิต พนักงานที่อาจเกิดขึ้น ในที่ทำงาน [2]

การขาดการเชื่อมต่อ ความไม่ชัดเจน

แบบสำรวจจาก RSPH พบว่า มีพนักงานจำนวน 67% รู้สึกถูกตัดขาด จากเพื่อนร่วมงาน เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า การทำงานจากทางไกล มีโอกาสที่จะ “ไม่สามารถ”สลัดงานออกจากหัวได้ เมื่อหมดเวลาทำงาน ทำให้เหมือนว่าต้อง พร้อมทำงานตลอดเวลา  ซึ่งส่งผล ให้เกิด สภาวะ หมดไฟได้

ความลำบาก

จากการประเมิน พนักงานรายงานว่า ตนนั่งอยู่กับที่มากขึ้น 46%  มีปัญหาการจัดท่าทาง ของร่างกาย และรู้สึกปวดหลัง 39% และประสบปัญหาที่ส่งผลรบกวน ต่อการนอนหลับ 46% สิ่งที่ควรต้องห่วงพบว่า 1 ใน 4 ของคนที่ทำงานจากที่บ้าน บอกว่าพวกเขาทำงาน จากบนเตียง หรือบนโซฟา [3] 

คลิก เพื่ออ่านปัญหา สุขภาพจิตวัยทำงาน ที่พบได้บ่อย และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมได้ที่นี่ BKHP

สรุป สุขภาพจิตวัยทำงาน ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพ ในการทำงาน และองค์กร

สุขภาพจิตวัยทำงาน

สรุป สุขภาพจิตคนวัยทำงานนั้นมีปัจจัย และองค์ประกอบมากมายที่ส่งผลต่อ สุขภาพโดยรวม ของแต่ละบุคคล ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิด ปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา วิธีป้องกันคือ การทำความรู้ ความเข้าใจ แลกเปลี่ยน หรือแชร์ปัญหาที่พบเจอ ในการทำงาน เพื่อให้องค์กรดำเนินไป อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมาย ที่วางไว้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

489