หญ้าปักกิ่ง หรือ หญ้าเทวดา

หญ้าปักกิ่ง

หญ้าปักกิ่ง ในประเทศไทย จัดเป็นยาเย็น มีสรรพคุณกระตุ้นภูมิต้านทานโรค ในร่างกายของผู้ป่วยมะเร็งประเภทต่างๆ เพื่อช่วยยืดชีวิต และลดอาการผลข้างเคียง จากการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน มายาวนานกว่า 30 ปีแล้ว เรามารู้จักต้นหญ้าเทวดาเพิ่มเติมกัน

ข้อมูลแนะนำ

ชื่อ : หญ้าปักกิ่ง
ชื่อสามัญ : Angel Grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia loriformis (Hassk.) R.S.Rao & Kammathy
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ : หญ้าเทวดา (ทั่วไป), ต้นอายุยืน (คนเมือง), เล่งจือเช่า (จีน), งู้แอะเช่า หนิวเอ้อเฉ่า (จีนกลาง)
ชื่อพ้อง : Aneilema nudiflorum
วงศ์ : Commelinaceae (วงศ์ผักปลาบ)
ถิ่นกำเนิด : ประเทศจีนตอนใต้ แถบสิบสองปันนา
ประเทศไทย : ปลูกหญ้าปักกิ่งโดยทั่วไป

ที่มา : หญ้าปักกิ่ง [1] 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ หญ้าปักกิ่ง

หญ้าปักกิ่ง

ลำต้น หญ้าปักกิ่งสูงประมาณ 10 ซม.
ใบ ใบเดี่ยว เกลี้ยง เรียงสลับ ใบออกเป็นกระจุกใกล้ราก แผ่นใบเป็นแถบกว้าง 1.5 – 2.0 ซม. ยาว 15 – 20 ซม. ใบที่ปลายยอดสั้นกว่า ขอบใบ และกาบใบเป็นขนครุย (ciliate)
ดอก ช่อดอกอยู่ที่ยอดตามซอก เป็นช่อแยกแขนงแน่น วงใบประดับมีลักษณะคล้ายใบแต่เล็กกว่า ก้านดอกโค้งเล็กน้อย ใบประดับโปร่งแสง มีขนาดประมาณ 4 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ หรือรี ขนาดประมาณ 3 มม. กลีบดอก สีน้ำเงิน หรือม่วงน้ำเงิน ร่วงง่าย เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 2 อัน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 3 อัน ก้านชูอับเรณูมีขน รังไข่ยาว 1 มม. ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 3 มม.
ผล ผลเป็นแคปซูลยาว 3 – 4 ซม. รูปไข่ แต่ละช่อง (locule) มี 2 เมล็ด ในแต่ละช่อง ผิวสีน้ำตาล อมเหลือง มีริ้วเป็นร่างแห

ที่มา: หญ้าปักกิ่ง [2]

การปลูก หญ้าปักกิ่ง

หญ้าปักกิ่ง มีขั้นตอนการปลูก ดังต่อไปนี้

  1. เตรียมดินร่วนก่อน 3 ส่วนและผสมดินทราย 1ส่วน นำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้งให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแห้ง
  2. ให้นำหญ้าปักกิ่ง ที่แยกมาจากต้นเดิม นำมาปักลงในดิน ที่ได้เตรียมไว้ เว้นห่างกันต้นละ 1 คืบโดยเฉลี่ย เมื่อหญ้าปักกิ่งงอก และโตเต็มที่แล้ว จะขยายเข้าหากันเอง
  3. การปลูกหญ้าปักกิ่ง สามารถนำเมล็ด มาปลูกได้อีกวิธีหนึ่ง โดยเอาเมล็ดจากดอกหญ้าปักกิ่ง ที่แก่แล้วมาขยี้ ให้แตกละเอียด แล้วนำมาโรย ลงบนดินที่เตรียมไว้ โดยใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ เมล็ดจะงอกเติบโต และควรรดน้ำวันละ 1 ครั้ง โดยในฤดูร้อน ควรจะรดน้ำเช้า-เย็นก็ได้

ข้อควรระวัง อย่าปล่อยให้น้ำขัง เพราะหญ้าปักกิ่งอาจจะตายได้หากมีน้ำขัง หญ้าปักกิ่ง คือ ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี
ข้อห้าม ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี ในการบำรุงดิน หรือฉีดยาฆ่าแมลง เพราะวิธีดังกล่าว จะไม่เหมาะกับ การนำหญ้าปักกิ่งดังกล่าว ไปรักษาโรคต่าง ๆ

สรรพคุณโดดเด่น รักษาอาการโรคมะเร็ง

สารที่แสดงฤทธิ์ยับยั้ง เซลล์มะเร็งในหญ้าปักกิ่ง คือ กลัยโคสฟิงโกไลปิด (Glycosphingolipid) ที่มีชื่อว่า G1b ซึ่งเป็นกลุ่มไขมัน ที่มีขั้วเป็นองค์ประกอบ ของเซลล์ผิว กลัยโคสฟิงโกไลปิด มีหน้าที่เกี่ยวกับ ระบบภูมิคุ้มกัน พบว่า กลัยโคสฟิงโกไลปิด ของเซลล์มะเร็ง แตกต่างจาก เซลล์ปกติ พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งโดยตรง ต่อเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด ลำไส้ใหญ่และตับ

สาร G1b ที่อยู่ในหญ้าปักกิ่ง ซึ่งเป็นสารที่มีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน นั้นมีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง ยิ่งหากใช้ร่วมกับ การรักษาโรคมะเร็ง ก็จะยิ่งลดผลข้างเคียงจากการรักษาที่อาจเกิดขึ้น โดยจะช่วยขับพิษจากเคมีบำบัด และช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยมะเร็งแข็งแรง และสามารถต่อสู้กับ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ได้ดียิ่งขึ้น

สรรพคุณตำรายาไทย และตำรายาจีน

  • ตำรายาไทย ใบและต้น รสจืดเย็น ต้มดื่ม แก้เจ็บคอ รักษามะเร็งในเม็ดโลหิต มะเร็งในที่ต่างๆ ในลำคอ ในตับ ผิวหนัง เม็ดเลือด ในมดลูกและลำไส้ เป็นต้น โดยนำหญ้าปักกิ่ง 6 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ปั่นหรือตำให้แหลก เติมน้ำ 4 ช้อนโต๊ะ คั้นเอาแต่น้ำ แบ่งครึ่ง ดื่ม 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าครึ่งชั่วโมงและก่อนนอน
  • ตำรายาจีน ใช้ รักษาอาการเจ็บคอ และมะเร็ง โรคในระบบทางเดินหายใจ กำจัดพิษ [3]

นอกจากนี้ หญ้าปักกิ่ง ยังจัดอยู่ในกลุ่มของ “พืชสมุนไพรช่วยลดไข้” เช่นเดียวกันกับ ลิ้นงูเห่า ที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยรักษามะเร็ง และเป็นยาสมุนไพรสามารถช่วยบรรเทาอาการไข้ ลดไข้ได้

หญ้าปักกิ่ง มีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระได้

หญ้าปักกิ่ง นั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ทรงพลังอย่าง สารฟลาโวนอยด์และกรดไซรินจิก (syringic acid) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกัน ไม่ให้สารอนุมูลอิสระ มาทำลายเซลล์ และโดยปกติแล้วเรามักจะนำหญ้าปักกิ่งมาใช้ทั้งต้น ไม่ว่าจะเป็นการนำไปตากแห้ง แล้วชงเป็นชาดื่ม หรือจะนำต้นหญ้าปักกิ่งสด ๆ ไปต้มแล้วนำมากรองดื่มก็ได้

ข้อควรระวัง หญ้าปักกิ่ง ก็มีผลข้างเคียง

การใช้ที่ไม่ถูกวิธี หรือนำมารับประทานในแบบผิด ๆ อาจจะทำให้เกิดอาการเหน็บชา กล้ามเนื้อลีบ เลือดออกในปัสสาวะได้

ใบของหญ้าปักกิ่ง เมื่อสัมผัสผิวหนังจะทำให้เกิดอาการแพ้ มีอาการคันได้ เพราะ เป็นขนใบที่มีสาร แคลเซียมออกซาเลต และพวกเกลือโซเดียม บางคนอาจจะเกิดอาการแพ้ ผู้ที่สัมพัสแล้วเกิดอาการแพ้ต่างๆ ให้งดใช้ หญ้าปักกิ่ง ทันที

โดยวิธีการรับประทานที่ถูกต้องนั้นก็คือ ควรจะรับประทานไม่เกินวันละ 6 ต้น และควรนำไปล้างให้สะอาดแล้วต้ม เสร็จแล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่ม หรือจะรับประทาน แบบที่เป็นแคปซูลก็ได้เหมือนกัน แต่ถ้าหากไม่แน่ใจ ว่าจะสามารถใช้ได้จริง ๆ หรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านสมุนไพรก่อน เพื่อความปลอดภัย

สรุป หญ้าปักกิ่ง หญ้าเทวดาสำหรับรักษาโรคมะเร็ง ของแท้

หญ้าปักกิ่ง

สรุป หญ้าเทวดาสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งของแท้ สรรพคุณทางยามากมาย นอกจากสรรพคุณรักษาโรคมะเร็งที่โดดเด่นแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นส่วนผสมในกลุ่มพืชสมุนไพรสามารถ รักษาบรรเทาอาการไข้ ลดไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค แต่อย่าลืมข้อควรระวังด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

257