หอเอนปิซา ความลับแลนด์มาร์คอิตาลี หอเอนแต่ไม่ล้ม

หอเอนปิซา

หอเอนปิซา ความงดงามแห่งอิตาลี หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก เมื่อได้มาเยือนถึงประเทศอิตาลีแล้ว หลายคนต้องไม่พลาด แลนด์มาร์คสำคัญ เยี่ยมชมและถ่ายภาพ เก็บไว้เป็นที่ระลึกอย่างแน่นอน ว่าแต่ทำไมหอคอยเมืองปิซา ถึงเอนแต่ไม่ล้ม เราจะพาทุกคนมาไขความลับกัน

ทำความรู้จัก หอเอนปิซา ความงดงามของตึกเอียง

หอเอนเมืองปิซา (Tower of Pisa) หรือมีชื่อเรียกตามภาษาอิตาลีว่า “Torre Pendente di Pisa” ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี โดยเป็นหอระฆังทรงกระบอก มีความสูงถึง 55.86 เมตร รวม 8 ชั้น สร้างมาจากหินอ่อนขาว ซึ่งมีการเริ่มต้นก่อสร้าง มาตั้งแต่คริสต์ศักราช 1173 แค่เพียง 3 ชั้นเท่านั้น

ในระหว่างการก่อสร้าง พบว่าโครงสร้างมีความผิดปกติ แต่ก็ยังคงเดินหน้าสร้างต่อไป จนมีการต่อเติมอีกจำนวน 4 ชั้น ในช่วงปี 1272 และต่อเติมครั้งสุดท้ายอีก 1 ชั้น ของช่วงปี 1360 ซึ่งเป็นการใช้เวลาสร้างที่ยาวนานถึง 3 รอบ กว่า 175 ปีด้วยกัน [1]

ความลับของหอเอนแต่ไม่ล้มกับ หอเอนปิซา

หอเอนปิซา

ความงดงามที่ตั้งใจ หรือความผิดพลาดกันแน่? โดยสาเหตุของการเอนลงของ หอคอยปิซา มาจากพื้นดินนิ่มและฐานที่มีโคลน ไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี จึงทำให้เกิดการยุบตัวลง ระหว่างการก่อสร้าง แต่ด้วยวัสดุที่ทำมาจาก หินปูนขาวและปูนขาว สามารถโค้งงอ และทนทานได้ดีกว่าวัสดุแบบอื่น

นี่จึงเป็นสาเหตุที่หลายคนถามว่า “ทำไมหอเอนแต่ไม่ล้ม” แต่กลับเอนตัวลงเรื่อย ๆ แต่ถึงอย่างนั้น ยังมีการคำนวณจากผู้เชี่ยวชาญ นั่นเป็นเพราะ จุดศูนย์กลางความโน้มถ่วง (Center of Gravity) ยังคงอยู่ที่ฐานของตัวอาคาร เมื่อลากเส้นแนวดิ่งผ่านจุดศูนย์ถ่วง เส้นตรงนั้นไม่เกินขอบเขตของฐาน ตัววัตถุก็จะไม่ล้มลงมา

คำทำนายอนาคตของ หอเอนปิซา ต้องถล่ม!

Leaning Tower of Pisa ในปัจจุบัน มีความลาดเอียงราว 13 องศา โดยมีคำทำนายจากผู้เชี่ยวชาญ จากการวิเคราะห์ว่า “วันหนึ่งหอคอยอาจพังทลายลงมา” ตลอดระยะเวลานานหลายปี หอเอนแห่งปิซา จะเอนตัวเพิ่ม 1 นิ้วในทุก 20 ปี ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้สูง ที่จะถล่มลงภายในปี 2200 หากยังไม่ได้รับการแก้ไข และหาทางป้องกันโครงสร้างของหอคอย

สรุป หอเอนปิซา ความมหัศจรรย์แห่งอิตาลี

หอเอนปิซา มรดกของโลกยุคกลาง เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ ที่ทำให้หลายคนทั่วโลก อยากมาสัมผัส ทั้งคนชอบศิลปวัฒนธรรม นักวิชาการ รวมถึงการตามรอยภาพยนตร์ อย่างหนีตามกาลิเลโอ ตามทฤษฎีกฎแห่งแรงดึงดูด ต่างก็อยากมาพิสูจน์สักครั้งในชีวิต

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

414