เทพทาโร (อ่านออกเสียงว่า เทบ-พะ-ทา-โร) เป็นต้นไม้หายาก พื้นเมืองเก่าแก่ของไทย มีต้นขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์ Lauraceae พบในเอเชียใต้ ถึงตะวันออก บนเขาในป่าดงดิบ และเป็นพันธุ์ไม้มงคล พระราชทาน ประจำจังหวัดพังงา
เทพทาโร เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่ม ใบมีสีเขียวเข้ม ลำต้นเรียบไม่มีพูพอน เปลือกต้นสีเทาอมเขียว หรืออมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น เมื่อถากเปลือกออก จะมีกลิ่นหอม จัดเป็น ต้นไม้หายาก ประเภทยืนต้น ขึ้นในป่าดงดิบ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cinnarnomum Porrectum Kosterm
ชื่อสามัญ : จวง จวงหอม (ภาคใต้), จะไค้ต้น จะไค้หอม (ภาคเหนือ), ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เทพทาโร (ภาคกลาง จันทบุรี สุราษฎร์ธานี), พลูต้นขาว (เชียงใหม่), มือแดกะมางิง (มาเลเซีย ปัตตานี) [1]
ใบ : ใบรูปรีแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาว ปลายใบแหลม โคนใบแหลมและกลม ยาวประมาณ 7 – 20 ซม. ก้านใบเรียวเล็ก 2.5 – 3.5 ซม.
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกดอกตามปลายกิ่งเป็นกระจุกยาว 2.5 – 7.5 ซม. ก้านช่อดอกจะเรียวยาวและเล็กมาก
ผล : ผลมีขนาดเล็กและกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 มม. ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีม่วงดำ ก้านผลเรียว ยาวประมาณ 3 – 5 ซม.
เนื้อไม้ : ลักษณะเนื้อไม้ มีสีเทาแกมน้ำตาล มีกลุ่มหอมฉุน มีริ้วสีเขียวแกมเหลือง เนื้อไม้เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง หรือสับสน เป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เหนียว แข็งพอประมาณ
จุดเด่นคือ ชาวใต้เชื่อว่า หากมีไว้ประจำบ้าน จะช่วยให้ร่มเย็น ถือเป็นไม้มงคล เนื้อไม้สวยงามเรียบเนียน เหมาะกับการแกะสลัก เนื้อไม้มีกลิ่นหอม สดชื่น และกลิ่นของไม้นั้น ยังสามารถป้องกัน มอด ยุง ปลวกได้อีก และใช้เป็นยาสมุนไพร เปลือกเป็นยาบำรุงร่างกายอย่างดี โดยเฉพาะหญิงสาวรุ่น