กระทิง หรือ สารภีทะเล (Alexandrian Laurel) คือ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงปานกลาง มีความเชื่อกันว่า การปลูกต้นสารภีทะเล ไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จะปกป้องเสนียดจัญไร มิให้กล้ำกรายเข้ามาในบ้านได้ พร้อมสรรพคุณทางยามากมาย เรามาทำความรู้จักกับต้นกระทิงกันได้ในบทความนี้
ชื่อ : กระทิง หรือ สารภีทะเล
ชื่อเรียกอื่นๆ : กระทึง กากะทิง ทิง เนาวกาน สารภีทะเล สารภีแนน กาทึง ทึง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Alexandrian Laurel
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calophyllum inophyllum L.
วงศ์ : Guttiferae
ถิ่นกำเนิด : ประเทศแถบอินโดจีน เช่น ไทย พม่า ศรีลังกา ลาว เขมร มาเลเชีย เวียตนาม อินเดีย
ต้นกระทิง เป็นพันธุ์ไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดใน แถบอินโดจีน (ไทย พม่า ลาว เวียดนาม เขมร มาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา) ในประเทศไทยมีต้นกระทิงอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกใบสีเขียว (Calophyllum inophyllum Linn.) ส่วนอีกชนิดจะเป็นใบสีแดง (Calophyllum polyanthum Wall. ex Choisy) แต่เรามักนิยมใบเขียวกันมากกว่า [1]
ต้นกระทิงนั้นจัดว่าเป็น “ต้นไม้ดอกหอม หายาก” ประเภทเดียวกันกับ มังตาน และ “ต้นไม้หายาก ประเภทยืนต้น” อย่าง จันผา เป็นต้น ที่มีดอกกลิ่นหอม ประทับใจแด่ผู้พบเห็น
ลำต้น : จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบความสูงของต้นประมาณ 8 – 20 เมตร
เปลือก : ต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีแดงเข้ม ต้นเมื่อแก่จะแตกเป็นร่อง ภายในมียางสีเหลืองใส ๆ เปลือกด้านในเป็นสีชมพู เปลือกของต้นมีสารแทนนินอยู่ 19%
แก่นไม้ : เป็นสีน้ำตาลอมแดง ตายอดเป็นรูปกรวยคว่ำ มีขนสีน้ำตาลปนสีแดงอยู่ประปราย
ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี โคนใบสอบ ปลายใบมนกว้าง ใบมีความกว้างประมาณ 4 – 8 ซม.และยาวประมาณ 8 – 15 ซม. ใบเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างหนาแข็งและเกลี้ยง ขอบใบเรียบและผิวมันเคลือบ ท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า และมีก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 ซม. ใบไม่หลุดร่วงง่ายและมันเป็นเงาสวยงาม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม
ผล : เป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง
ขยายพันธุ์ :
ที่มา : ประโยชน์หรือ สรรพคุณอื่นๆ ของกระทิง [3]
วิธีการใช้ :
ใบ เปลือกต้น ราก ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม ส่วนรากสดให้ใช้ครั้งละ 20-30 กรัม ถ้าใช้ภายในให้นำมาต้มกับน้ำดื่ม หากใช้ภายนอกเพื่อรักษาแผลสดห้ามเลือด แก้เคล็ดขัดยอก อาการปวดบวม ให้ใช้ตามที่ต้องการ
ข้อควรระวัง :
ยาจากสมุนไพรกระทิงมีพิษ เวลาใช้ต้องระมัดระวัง
ยาง จากต้นกระทิงมีพิษ มีฤทธิ์ทำให้อาเจียนและออกฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างรุนแรง
ใบ กระทิงมีสาร Saponin และสารเมื่อละลายน้ำแล้วจะมีสาร Hydrocyanic acid ออกมา จึงทำให้เป็นพิษต่อมนุษย์และปลา
ผล : ผลของกระทิงไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 60% จะทำให้สารที่ได้มาไม่เป็นพิษ
สรุป กระทิง พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ตามความเชื่อ ปลูกไว้เพื่อ ปกป้องเสนียดจัญไรไม่ให้กล้ำกรายเข้ามาในบ้าน เช่นเดียวกับต้นยอ และต้นสารภี ที่ต้องปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประโยชน์มากมาย สรรพคุณทางยาหลายอย่าง