จันทน์หอม ต้นไม้หายาก ไม้มงคลชั้นสูง

จันทน์หอม

จันทน์หอม เป็นไม้มีค่าที่หายากชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้มงคลชั้นสูง ใช้ในพระราชประเพณีตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งสำคัญในการพระราชพิธี ซึ่งล้วนทำจากไม้จันทน์หอมทั้งสิ้น เป็นไม้หอมที่มีราคาสูงมาก และยังใช้เป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย

จันทน์หอม ลักษณะทั่วไป

จันทน์หอม หรือ ไม้จันทน์หอม เป็น “ต้นไม้หายาก ประเภทยืนต้น” ผลัดใบ มีต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ สูงได้จนถึงประมาณ 30 เมตร ไม้จันทน์หอมที่ยืนต้นตายเอง ตามธรรมชาตินั้น เนื้อไม้จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ พบขึ้นในป่าเบญพรรณ ป่าดิบแล้ง ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาหินปูน จ.นครราชสีมา สระบุรี ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ ประเทศพม่า และอินเดีย

ข้อมูลเฉพาะ

ชื่อพื้นเมือง : จันทน์จันทน์ชะมด (ประจวบคีรีขันธ์), จันทน์ขาว จันทน์พม่า จันทน์หอม (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : Kalamet
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mansoniagagei J.R.Drumm.
วงศ์ : Sterculiaceae

คลิกเพื่ออ่าน ต้นจันทน์หอม เพิ่มเติม ได้ที่นี่ Alro

ลักษณะของไม้จันทน์หอม

จันทน์หอม

ลำต้น : เปลือกสีเทาอมขาว หรือเทาอมน้ำตาล แตกเปนร่อง เปลือกชั้นในถ้าถากใหม่ๆ จะมีสีขาว เมื่อทิ้งไว้จนแห้งจะมีสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนประปราย
ใบ : ใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ ทรงใบรูปมนแกมรูปหอก แขนงใบออกสีดำ ท้องใบมีขนสีอ่อนๆ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ขนาดใบกว้าง 3 – 6 ซม. ยาว 8 – 14 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เส้นใบออกจากจุดโคนใบ 3 เส้น เส้นแขนงใบมี 4-6 คู่ ก้านใบยาว 5 – 10 มิลลิเมตร เมื่อใบแห้งจะมีสีดำคล้ำ
ดอก : ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือสีขาว ออกรวมกันตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบใกล้ๆปลายกิ่ง ช่อยาวประมาณ 15 ซม.เป็นรูปเหยือกน้ำ มีขนคลุมแน่น ออกดอกเดือน ส.ค.-ก.ย.
ผล : ผลแห้งแก่แล้วจะไม่แตก ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีเหลืองอ่อนจนเป็นสีน้ำตาล ผลมักออกติดกันเป็นคู่ๆ มีจำนวนผลเฉลี่ยประมาณ 2643 ผล/กิโลกรัม ผลแก่ประมาณเดือน ธ.ค.-ม.ค.
เมล็ด : มีเปลือกบางๆ หุ้มภายในผล 1 ผลมี 1 เมล็ด ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ดประมาณเดือน ม.ค.
เนื้อไม้ : มีสีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนตรง เป็นไม้เนื้อแข็ง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งได้ง่าย แกนมีสีน้ำตาลเข้ม

ที่มา : เกร็ดข้อมูลเรื่อง จันทน์หอม [1]

บทบาท ไม้จันทน์หอม เมื่อครั้งอดีต จนถึงปัจจุบัน

มีการใช้ประโยชน์ จากไม้จันทน์หอม มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เครื่องหอมสำหรับ ประพรมใน พระราชพิธีต่างๆ มี 4 อย่างได้แก่ กลิ่นของกฤษณา กะลำภัก จันทน์หอม และดอกไม้หอม และพบประวัติ ใช้ไม้จันทน์หอม ในประเทศไทย มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์

งานพระราชพิธี ถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ไม้มงคลหนึ่งในนั้นก็มีชื่อของ “ไม้จันทน์หอม” อยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าไม้ชนิดนี้มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมและประเพณีไทย [2]

ประโยชน์ไม้จันทน์หอม

สิ่งของ เครื่องใช้ : นิยมนำมาทำเป็นหีบใส่เสื้อผ้า แกะสลักทำเสาหลักเมือง ทำหวี ธูป เครื่องสำอาง เครื่องหอมต่างๆ น้ำอบไทย ธูปหอม
ดอกไม้จันทน์ : ใช้ในการเคารพศพ พิธีเผาศพ แม้ในปัจจุบันจะไม่สามารถหาไม้จันทน์หอม มาประดิษฐ์เป็นดอกไม้จันทน์ได้ แม้จะใช้ประยุกต์สิ่งอื่นมาใช้แทน แต่ก็ยังคงเรียก ดอกไม้จันทน์
ยาสมุนไพร : น้ำมันที่กลั่นจากเนื้อไม้ ใช้เป็นยา บำรุงหัวใจ เนื้อไม้เป็นยาบำรุงประสาท แก้ไข้ แก้กระหายน้ำ อ่อนเพลีย [3]

เหตุใด ต้นจันทน์หอม จึงหายาก

เพราะว่า จันทน์หอม เป็นไม้มงคลชั้นสูง มักจะนำมาใช้ในงานราชประเพณีสำคัญๆ เท่านั้น ไม่ใช่ไม้เศรษฐกิจ จึงไม่ได้เป็นที่นิยม ปลูกกันทั่วไป ทำให้ไม้ชนิดนี้ มีน้อย และหายาก มีผู้จำหน่ายหรือ นำเข้าไม้ชนิดนี้ มีค่อนข้างน้อย ซึ่งสวนทางกับความต้องการในปัจจุบัน

สรุป จันทน์หอม ต้นไม้มีค่าหายาก ไม้ชั้นสูง

จันทน์หอม

สรุป ไม้ชนิดนี้ มีความสำคัญมาก คุณประโยชน์มากมาย ควรค่าแก่อนุรักษ์ ไม้จันทน์หอม ไว้ในป่า ตามธรรมชาติ เพื่อความหลากหลาย ทางพันธุกรรม เพื่อให้พันธุ์ไม้ชนิดนี้ อยู่คู่แผ่นดินไทยสืบไป จนถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
326