จันทน์แดง เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง พบเฉพาะในรัฐอานธรประเทศ และบริเวณใกล้เคียง เมืองมัทราสและไมซอร์ ปัจจุบันเป็นพืชปลูกในศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยนั้นจันทน์แดงอาจใช้เรียกลักจั่น (Dracaena cochinchinensis) ซึ่งสรรพคุณทางยานั้นมักใช้แทนกันได้ จัดเป็น ต้นไม้ดอกหอม หายาก
จันทน์แดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ ยางสีแดงเข้ม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายใบเว้าเข้า ก้านใบมีขนนุ่ม เนื้อใบคล้ายแผ่นหนัง ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีเหลือง รูปดอกเหมือนรูปดอกถั่ว ผลเป็นฝักแห้ง มีลักษณะกลมแบนมีปีก ภายในมี 2 เมล็ด เมล็ดเกลี้ยง สีน้ำตาลแดง
จันทน์แดงเจริญได้ดีในระบบนิเวศน์ ที่เป็นป่าแห้งแล้ง ดินเป็นทราย ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนสูงกว่า น้ำทะเลประมาณ 300 เมตร
ชื่อพื้นเมือง: จันทน์แดง หรือ รักตจันทน์
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterocarpus santalinus
ชื่อสามัญ: Red Sandal Wood, Red Santal, Ruby Wood, Chandam, Red Saunders, Santalum Rubrum
วงศ์: Fabaceae
สปีชีส์: P. santalinus
อาณาจักร: Plantae
ถิ่นกำเนิด: ประเทศในแถบอินโดจีน และตอนใต้ของอินเดีย
สภาพนิเวศน์: ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ที่มา: ต้นจันทน์แดง พรรณไม้ในพุทธประวัติ [1]
จันทร์แดง จัดอยู่ในประเภท “ต้นไม้หายาก ประเภทยืนต้น” โดยมีลักษณะดังนี้
ลำต้น: ไม้ต้น ขนาดกลางสูง 10-12 เมตร ลำต้นเปลาตรง แก่นไม้เนื้อแข็งสีแดงคล้ำ เปลือกต้นเป็นสะเก็ดสีเทาดำ มีน้ำยางสีแดง
เปลือกต้น: สีน้ำตาลดำ ยางสีแดงเข้ม
ใบ: เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่แกมมน
ดอก: สีเหลือง ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรตัวผู้มี 10 อัน แบ่งเป็น 2 มัด มัดละ 5 อัน
ผล: ป็นผลแห้งแก่ไม่แตก ลักษณะแผ่แบน คล้ายปีก รูปค่อนข้างกลม มีเมล็ดเดียว นูนอยู่ตรงกลางผล
ที่มา: รักตจันทน์ [2]
จันทร์แดง เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ถั่ว อยู่ในสกุลเดียวกับประดู่ [3] ในปัจจุบันเป็นพืชปลูกในศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ อีกทั้งยังจัดเป็นไม้ใกล้สูญพันธุ์ตามรายการของ IUCN เพราะมีการ ใช้ประโยชน์มาก ในอินเดียใต้อยู่ในภาคผนวกที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตสต้องการใบรับรอง ก่อนส่งออก เพื่อยืนยันว่า ไม่มีผลต่อการอยู่รอดของสปีชีส์
ไม้ชนิดนี้มีการใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้โตช้า และหายาก เฟอร์นิเจอร์จากไม้ชนิดนี้ จึงหายาก และราคาแพง ในอินเดีย การส่งออกไม้จันทน์แดง ถือว่าผิดกฎหมาย
เครื่องดนตรี ไม้จันทร์แดงใช้ทำสะพาน และใช้ทำส่วนคอ ของเครื่องดนตรีญี่ปุ่น ที่เรียกว่า “ชามิเซ็น”
จันทน์แดง ใช้เป็นยารักษา ได้หลายอย่าง เช่น แก้อักเสบ โรคบิด ตกเลือด บำรุงกำลัง เป็นต้น
แก่นจันทน์แดง มีสารสีแดง หลายชนิดเป็นองค์ประกอบ เช่น วานทาลินเอ วานทาลินบี ไอโซบเทอโร คาร์โพโลน เทอโรคาร์ปไทรออล ไอโซปเทอร์โร คาร์พีนเทอร์ โรคาร์พอล เทอร์โรคาร์ป ไดโอเลน ใช้เป็นยาแก้ไข้ ยาถ่ายพยาธิ แก้ปวดบวม
สรุป จันทน์แดงมีประโยชน์มากมาย ในด้านทางยา ก็ใช้จันทน์แดง เป็นยาสมุนไพร ในการรักษาโรคต่างๆ มากมาย ดังนั้นควรศึกษาจันทน์แดง ถ้าหากปลูก และขยายพันธุ์ได้ จะสามารถนำมา ใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งแปรรูปเพื่อการค้า และทำยารักษา เพื่อสุขภาพ