ต้นไม้หายากประเภทยืนต้น

ต้นไม้หายากประเภทยืนต้น

ต้นไม้หายากประเภทยืนต้น ในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด หลากหลายสายพันธุ์ บทความนี้จะแนะนำ ไม้ยืนต้น พันธุ์หายากในประเทศไทย 5 สายพันธุ์ คือ จันทร์หอม, เทพธาโร, ชมพูภูคา, จันทน์แดง และจันผา มารู้จักพรรณไม้ยืนต้นหายากเหล่านี้กันสักเล็กน้อย

ต้นไม้หายากประเภทยืนต้น มีกลิ่นหอมโดดเด่น

ต้นไม้หายากประเภทยืนต้น

ต้นไม้หายาก ต่อไปนี้ จัดเป็นพรรณไม้หาได้ยากในปัจจุบัน เนื่องจากหลายๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ กระจายพันธุ์ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางนิเวศน์ที่มีผลต่อการ เจริญเติบโต พันธุ์ไม้เหล่านี้ รวมไปถึงการเพาะชำ การดูแล ไม้ยืนต้นต่อไปนี้ จัดว่าเป็นไม้ยืนต้นที่หายาก และมีกลิ่นหอมโดดเด่น

จันทร์หอม

ต้นจันทน์หอม จัดว่าเป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ไปขนถึงใหญ่ ประเภทยืนต้นผลัดใบที่มีอายุยืน ลำต้นนั้นจะตรง เปลือกจะเป็นสีเทาอมขาวบ้าง หรือสีเทาอมน้ำตาลบ้าง ถ้าถากเปลือกเข้าไปด้านใน จะเห็นเนื้อไม้สีขาวละเอียด จัดเป็นไม้เนื้อแข็ง สามารถเจริญเติบโตในธรรมชาติได้เอง

ลักษณะเด่นของไม้ชนิดนี้คือ กลิ่นที่หอม หากเป็นต้นที่ยืนต้นตาย เองตามธรรมชาติ เรียกว่า “ตายพราย” แก่นไม้จะส่งกลิ่นหอมอย่างมาก มีบทบาท และความสำคัญต่อประเทศไทย เพราะถูกนำมาประกอบในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ จัดเป็น ไม้มงคลชั้นสูง [1]

คลิกอ่านเพิ่มเติม ได้ที่นี่ จันทร์หอม

เทพธาโร

เทพธาโร เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลับทึบ ใบมีสีเขียวเข้ม ลำต้นเรียบไม่มีพูพอน ลักษณะเนื้อไม้ มีสีเทาแกมน้ำตาล มีกลิ่นหอม มีริ้วสีเขียวแกมเหลือง เนื้อไม้เป็นมันเลื่อม นิยมขยายพันธุ์ไม้เทพธาโร ด้วยการเพาะเมล็ด และการปักชำ

ต้นเทพธาโร เป็นไม้หอมที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ในประเทศไทยจะพบ เทพธาโรได้บนเขา ในป่าดงดิบทั่วประเทศ พบมากที่สุดทางภาคใต้ ถือว่าเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ของไทย พบหลักฐานการอ้างถึง ครั้งแรกในสมัยสุโขทัย [2]

คลิกอ่านเพิ่มเติม ได้ที่นี่ เทพธาโร

ชมพูภูคา

ต้นไม้หายากประเภทยืนต้น

ชมพูภูคา เป็นพันธุ์ไม้หายาก ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 10-25 เมตร พบได้เฉพาะบริเวณ ไหล่เขาสูงในป่าดงดิบ ตั้งแต่ระดับความสูง 1,200 เมตร ขึ้นไป ถูกค้นพบเพียงแห่งเดียว คือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ดอกชมพูภูคา ออกดอกย่อย เรียงซ้อนกันตามช่อแขนง มีรูปทรงระฆังหรือรูปกรวย

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน มีความสูงประมาณ 1,980 เมตร มีลักษณะหลากหลายทางนิเวศน์ อย่างเช่น ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง และถิ่นกำเนิดพรรณไม้สำคัญ และหาได้ยาก ที่พบแห่งเดียวในประเทศไทย คือ ชมพูภูคา

คลิกอ่านเพิ่มเติม ได้ที่นี่ ชมพูภูคา

ต้นไม้หายากประเภทยืนต้น มีสรรพคุณเด่นเป็นยาสมุนไพร

ต้นไม้หายากประเภทยืนต้น

ต้นไม้หายาก ต่อไปนี้ จัดเป็นพรรณไม้หาได้ยากในปัจจุบัน เนื่องจากหลายๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ กระจายพันธุ์ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางนิเวศน์ที่มีผลต่อการ เจริญเติบโต พันธุ์ไม้เหล่านี้ รวมไปถึงการเพาะชำ การดูแล ไม้ยืนต้นต่อไปนี้ จัดว่าเป็นไม้ยืนต้นที่หายาก และมีกลิ่นหอมโดดเด่น

จันทน์แดง

จันทน์แดง จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นกลมตั้งตรง เปลือกลำต้นเป็นร่องขวางคล้ายข้อถี่ ๆ สีเทา ที่เกิดจากใบหลุดร่วงไป ไม่แตกกิ่งก้าน แก่นมีสีแดง ขึ้นตามภูเขาหินปูนหรือลูกรัง หรือเกิดตามป่าเขาแล้งทั่วไป ชอบแดดจัด ทนแล้งได้ดี

ปลูกและขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการปักชำต้น มีสรรพคุณทางยา เป็นยาสมุนไพร ดับพิษไข้ บำรุงหัวใจ แก้ไอ ฝนทาภายนอก แก้ฟกช้ำ บวม ฝี แก่นจันทน์แดง ใช้เป็นยาส่วนผสมในน้ำยาอุทัย และใช้ทำยาหอม [3]

คลิกอ่านเพิ่มเติม ได้ที่นี่ จันทน์แดง

จันผา

จันผา หรือ จันทร์ผา เป็นเป็นไม้พุ่ม ที่มีขนาดใหญ่ หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีอยู่ตามแถบป่าเขา ในประเทศไทย มีความสูงประมาณ 5 – 7 ฟุต ลำต้นจะกลมๆ คล้ายต้นหมาก มีความแข็งแรงมาก แต่จะไม่ผลัดใบ และเปลือกของลำต้นจันทร์ผานั้น จะมีสีเทาๆ ส่วนใบ จะแตกเป็นช่อๆ โดยจะแตกบริเวณปลายยอดเท่านั้น

ดอกจันผามีสีขาวนวล ตรงกลางดอกมีจุดสีแดง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ตามซอกใบที่ปลายกิ่ง มีดอกจำนวนมาก มีสรรพคุณทางยา แก่นมีสรรพคุณบำรุงระบบภายในร่างกาย คือหัวใจและ แก้เลือดออกตามไรฟัน

คลิกอ่านเพิ่มเติม ได้ที่นี่ จันผา

สรุป ต้นไม้หายากประเภทยืนต้น

ต้นไม้หายากประเภทยืนต้น มีอยู่หลายชนิด ประเภทยืนต้น ล้วนแต่มีประโยชน์ มีคุณค่าต่อระบบนิเวศน์ และประเทศไทย จึงควรช่วยกันอนุรักษ์ และหาวิธีขยายพันธุ์ เพื่อรักษาพรรณไม้ เหล่านี้ไว้ ให้อยู่คู่ประเทศไทยไปตลอด

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

260