ถั่วลันเตา ผักชนิดนี้ที่ทุกคนต่างรู้จักกันดี สามารถทานได้ทั้งเมล็ดและฝัก รวมแหล่งสารอาหารที่ดีต่อร่างกายอย่างหลากหลาย เมื่อทานถั่วลันเตาประมาณ 1 ถ้วยอยู่ที่ 100 กรัม จะพอดีกับพลังงานของร่างกายต่อวัน
ถั่วลันเตา มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมมาจาก แถบประเทศเอธิโอเปีย ต่อมาได้ทำการแพร่กระจายไปปลูกในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เอเชีย [1] และเขตอบอุ่นต่างๆ ของโลก ซึ่งในประเทศไทยถือว่า ถั่วลันเตาเป็นพืชผักสวนครัวที่ปลูกได้ดีในหลายพื้นที่ด้วยกัน
ถ้าเอาแค่ ถั่วลันเตา ที่นิยมปลูกกันในประเทศไทยละก็ อาจจะเคยเห็นผ่านตา หรือเคยลิ้มรสกันมาแล้ว เช่น ถั่วลันเตาฝักแบน, ถั่วลันเตาฝักกลม, ถั่วลันเตาเมล็ดใหญ่, ถั่วลันเตาค้าง, ถั่วลันเตาแคระ เป็นต้น แม้จะต่างสายพันธุ์ แต่รสชาติก็คล้ายกันแทบทุกแบบ
สารต้านอนุมูลอิสระ : อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ [2] เช่น วิตามินซี วิตามินอี แคโรทีนอยด์ และฟลาโวนอล
วิตามินและแร่ธาตุ : เช่น วิตามินเค วิตามินบี1 วิตามินบี6 โพแทสเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก สารอาหารเหล่านี้ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ
โปรตีน : แหล่งโปรตีนที่ดี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทานโปรตีนจากพืช โปรตีนช่วยสร้าง ซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย
ไฟเบอร์ : ช่วยเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง
สารอาหาร
คนทานถั่วลันเตา : ได้รับวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร โปรตีน และสารต้านอนุมูลอิสระสูง
คนไม่ทานถั่วลันเตา : อาจได้รับสารอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ
สุขภาพ
คนทานถั่วลันเตา : ไม่พบความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง มีระบบย่อยอาหารที่ดี สามารถควบคุมน้ำหนักของตนเองได้ดี แถมสุขภาพผิวมีความสดใสขึ้น มีพลังงานในร่างกายที่มากขึ้น ไม่เหนื่อยง่าย
คนไม่ทานถั่วลันเตา : มีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังหลายชนิด มีปัญหาท้องผูกอยู่บ่อยครั้ง ไม่สามารถควบคุมน้ำหนักของตนเองได้ ปัญหาเรื่องผิวกายเสื่อมเสีย และร่างกายชอบอ่อนเพลียเป็นประจำ
ถั่วลันเตา มีคุณประโยชน์มากมายหลายประการ ซึ่งการทานผักย่อมดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว แต่ในบางครั้งอาจจะยังไม่มีอาการใดๆ แต่ในภายภาคหน้า คุณอาจพบเจอโรคแทรกซ้อนที่เข้ามาในชีวิตคุณ ป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ จะดีกว่า