นกเงือก ผู้ช่วยสร้างป่า

นกเงือก

นกเงือก เป็นนกที่ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์ของความรัก และความซื่อสัตย์ หลายคนคงจะพอรู้จักบ้างแล้ว อาจจะเป็นนกที่ไม่ค่อยได้เห็นกันง่ายๆ นัก และอาจจะเป็นนกที่ไม่ได้มีสีสันที่สวยงาม แต่รู้ไหมนกชนิดนี้มีส่วนร่วมในการสร้าง และขยายผืนป่าของเราให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้นอีกด้วย

 นกเงือก13 กุมภาพันธ์ วันรักนกเงือก

นกเงือก มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศของป่าไม้มาก เพราะพฤติกรรมการกิน ของนกเงือกที่มักจะกินผลไม้สุกมากกว่า 300 ชนิด และขย้อนเมล็ดผลไม้แต่ละนานาพรรณ ออกมาทิ้ง ทำให้นกเงือกสามารถกระจายพรรณไม้ไปในที่ต่างๆ ทำให้ผืนป่ามีต้นไม้ที่งอกใหม่มากขึ้น

ตลอดชีวิตของนกเงือกหนึ่งตัว อาจจะกระจายพรรณไม้ ได้กว่า 500,000 ต้น ถ้ามีเหล่านกเงือกอยู่ที่ป่าไหน ป่านั้นก็จะเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่ศึกษาและวิจัยนกเงือกมานานกว่า 20 ปี จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น ‘วันรักนกเงือก’ ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ 2547 เพื่อที่จะได้รำลึกถึงความสำคัญของนกเงือกที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ [1]

 ลักษณะเด่น ที่เห็นได้ชัด

นกเงือกเอเชียส่วนมาก จะมีขนาดที่ใหญ่-ใหญ่มาก มีขนาดความยาววัดตั้งแต่ ปลายปากจนถึงปลายหาง อยู่ที่ประมาณ 60-150 เซนติเมตร นกเงือกทุกชนิดตัวผู้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าตัวเมีย จะมีโหนกเหนือจะงอยปากสีจะมีตั้งแต่สีเหลือง สีเหลืองอมน้ำตาล ไปจนถึงสีน้ำตาล ไม่มีขนปกคลุมปีก

การจำแนกทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร: Animalia
  • ไฟลัม: Chordata
  • ชั้น: Aves
  • อันดับ: Coraciiformes
  • วงศ์: Bucerotidae Rafinesque
  • สกุล: Aceros Hodgson, Anorrhinus Reichenbach, Anthracoceros Reichenbach, Berenicornis Bonaparte, Buceros Linnaeus, Bucorvus Lesson, Bycanistes Cabanis & Heine, Ceratogymna Bonaparte, Ocyceros Hume, Penelopides Reichenbach, Rhinoplax Gloger, Rhyticeros Reichenbach, Tockus Lesson,
    Tropicranus W. L. Sclater

ชื่อพ้อง

  • Bucerotiformes
  • Bucerotes

ที่มา: “นกเงือก” [2]

ประเภทที่พบเห็นได้ง่ายในไทย

นกเงือกที่พบในไทย มีมากถึง 13 ชนิด ได้แก่

  1. นกเงือกคอแดง
    ตัวผู้จะมีลักษณะหัว คอ และอกมีสีสนิม ใต้หน้าท้องจะมีสีน้ำตาลเข้ม
    ตัวเมียหัว จะมีลักษณะคอ มีสีดำ
  2. นกเงือกปากดำ หรือ กาเขา
    ตัวผู้จะมีลักษณะปากและโหนกบนมีสีดำ
    ตัวเมียจะมีลักษณะปากและโหนกบน มีสีเหลืองแซมดำ
  3. นกเงือกสีน้ำตาล
    ตัวผู้จะมีลักษณะขนคอ และอกสีน้ำตาลแดง ปากมีสีน้ำตาล
    ตัวเมียจะมีลักษณะตัวสีน้ำตาลดำ ปากมีสีดำ
  4. นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว
    ตัวผู้จะมีลักษณะขนคอและอกสีขาว
    ตัวเมียจะมีลักษณะสีน้ำตาลดำ
  5. นกเงือกดำ
    ตัวผู้จะมีลักษณะปากและโหนกสีงาช้าง หนังรอบตาสีดำ
    ตัวเมียจะมีลักษณะปากและโหนกสีดำ หนังรอบตาสีชมพู
  6. นกเงือกหัวหงอก
    ตัวผู้จะมีลักษณะขนใต้คอถึงลำตัวสีขาว ขนบริเวณก้นสีดำ
    ตัวเมียจะมีลักษณะขนบนหัวมีสีขาว ขนใต้คอถึงลำตัวสีดำ
  7. นกแก๊ก
    ตัวผู้จะมีลักษณะปากและโหนกสีงาช้าง หน้าและโหนกมีสีดำ
    ตัวเมียจะมีลักษณะปากและโหนกมีสีดำแต้ม
  8. นกเงือกกรามช้างปากเรียบ
    ตัวผู้จะมีลักษณะหน้าและคอสีขาว กระหม่อมถึงท้ายทอยสีน้ำตาลเข้มถุงใต้คอสีเหลือง ไม่มีขีดสีดำ
    ตัวเมียจะมีลักษณะหัว คอ สีดำ ถุงใต้คอสีฟ้า ไม่มีขีดสีดำ
  9. นกเงือกกรามช้าง
    ตัวผู้จะมีลักษณะหน้า และคอสีขาว กระหม่อมถึงท้ายทอยสีน้ำตาลเข้มถุงใต้คอสีเหลืองมีขีดสีดำ
    ตัวเมียจะมีลักษณะหัว คอ สีดำ ถุงใต้คอสีฟ้ามีขีดสีดำ
  10. นกเงือกปากย่น
    ตัวผู้จะมีลักษณะส่วนหน้าและคอสีขาว โหนกสีแดง ถุงใต้คอสีขาวแกมน้ำเงิน
    ตัวเมียจะมีลักษณะหัว คอ สีดำ ถุงใต้คอสีฟ้ามีขีดสีดำ
  11. นกกก
    ตัวผู้จะมีลักษณะมีม่านตาสีแดง และโหนกมีสีดำทางด้านหน้าและด้านหลัง
    ตัวเมียจะมีลักษณะม่านตาสีขาว ไม่มีสีดำบริเวณโหนก
  12. นกเงือกหัวแรด
    ตัวผู้จะมีลักษณะม่านตาสีแดง ขอบโหนกด้านล่างมีเส้นสีดำตลอดแนวปากและโหนกสีดำ
    ตัวเมียจะมีลักษณะม่านตาสีขาว ขอบโหนกด้านล่างมีเส้นสีดำตลอดแนวปากและโหนกไม่มีสีดำ
  13. นกชนหิน
    ตัวผู้จะมีลักษณะหนังเปลือยบริเวณสีคอแดงคล้ำ
    ตัวเมียจะมีลักษณะหนังบริเวณคอสีฟ้า

ที่มา: “นกเงือกไทย 13 ชนิด” [3]

นกเงือก

นกเงือกผู้คลั่งในรัก

นกเงือก เป็นนกอีกหนึ่งชนิด ที่เชื่อมันและยึดถือในรักเดียว เพราะมันจะมีคู่เพียงแค่คู่เดียวเท่านั้น หากคู่ของมันตาย มันก็พร้อมที่จะตรอมใจตายตามไปด้วย เหมือนนก เพนกวิน และพฤติกรรมของมันก็ยังสะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความมุ่งมั่น และความร่วมมือกับคู่ของมัน ที่ตัวผู้จะคอยหาอาหารมาให้ตัวเมียที่ขังตัวเองอยู่ในรัง ตัวเมียก็มีความเสียสละที่จะปิดรังของตัวเอง เพื่อป้องกันอันตรายที่จะมาถึงลูกน้อยของมันได้

พฤติกรรมของเหล่านกเงือก

นกเงือกส่วนใหญ่จะเริ่มจับคู่ช่วงของปลายปี โดยตัวผู้จะหารังเตรียมไว้ให้กับตัวเมีย และบินเชิญชวนให้ตัวเมียสนใจ และเข้าไปดูในรัง เมื่อตัวเมียตกลงปลงใจด้วยแล้ว ตัวผู้ก็จะเข้าไปผสมพันธุ์ในรัง และตัวเมียก็จะเริ่มปิดรังเพื่อจะรอการฟักไข่ ในช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน

โดยการนำดิน เปลือกไม้ เศษอาหาร และมูลของตัวเองผสมกัน เพื่อปิดปากช่องโพรงให้เหลือแค่ช่องแคบๆ พอให้ตัวผู้ยื่นส่งอาหารเท่านั้น ตัวเมียจะใช้เวลาฟักไข่ และดูแลลูกจนกว่าจะต่อ ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ในช่วงที่แม่นกดูแลลูกนกอยู่ในโพรง พ่อนกจะคอยหาอาหารมาให้จนกว่าลูกนกจะแข็งแรง และออกจากโพรงได้

แหล่งที่อยู่อาศัย

นกเงือกส่วนใหญ่พบในทุ่งหญ้า ที่เป็นป่าดิบเขตร้อนของทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย เขตร้อนของทวีปเอเชีย มีนกเงือกมากถึง 31 ชนิด ในประเทศไทยจะมีนกเงือกให้เห็นถึง 13 ชนิด มีรูปร่างหน้าตาโบราณที่ถือกำเนิดมาไม่น้อยกว่า 50 ล้านปี

มักอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นฝูง พอถึงเวลาผสมพันธุ์ ก็จะอยู่บริเวณโพรงไม้ที่ทำรัง จะว่าลูกจะโตและกลับออกมาอยู่กันเป็นฝูงอีกครั้ง

 

สรุป นกเงือกนกควรอนุรักษ์

สรุป นกเงือก ที่ได้อ่านมาทั้งหมด เชื่อว่าหลายคนน่าจะทึ่ง ในตัวของเหล่านกเงือกนอกจากจะมีความรักที่สวยงามแล้วนั้น พวกมันยังเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศของเรา ที่ช่วยขยายผืนป่า ให้มีความอุดมสมบูรณ์ต่อไป เป็นนกที่ควรค่าแก่การที่จะอนุรักษ์ไว้จริงๆ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

121