ปาหนันช้าง (Goniothalamus) ต้นไม้ใน วงศ์กระดังงา

ปาหนันช้าง

ปาหนันช้าง (Goniothalamus) เป็น พรรณไม้พื้นเมืองของไทย ที่มีการกระจายพันธุ์ อยู่ในป่าดิบชื้น ทางภาคใต้ จัดว่าเป็นพรรณไม้ ที่มีดอกใหญ่ที่สุด ในสกุลปาหนัน และดอกใหญ่ที่สุด ในวงศ์กระดังงา

ปาหนันช้าง ต้นไม้ดอกหอม พื้นเมืองของไทย

ปาหนันช้าง สำหรับผู้ที่ชื่นชอบพันธุ์ไม้ ถือว่าเป็น “ต้นไม้ดอกหอม หายาก” อีกชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงว่า เป็นไม้ดอกหอมพื้นเมืองของไทย ที่มีดอกใหญ่ที่สุด และโดดเด่น ในสกุลปาหนัน และในวงศ์กระดังงา ส่งกลิ่นหอมเย้ายวน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น : มีลักษณะเป็น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 6-12 ม.
กิ่ง : แตกกิ่งน้อย เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ
เปลือก : ลำต้นหนาเรียบ สีขาวปน น้ำตาล ฉ่ำน้ำ
ใบ : ใบเดี่ยว รูปหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 15-25 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเป็นติ่งแหลมยาว ผิวใบเป็นมันเรียบทั้งสองด้าน

ที่มา : คลังต้นไม้แห่งการเรียนรู้ [1]

ลักษณะเฉพาะ ดอก ผล และเมล็ดปาหนันช้าง

  • ดอก ออกเดี่ยว ๆ ตามกิ่งที่ซอกใบที่ร่วง ก้านดอกยาว 2.5 – 4.5 ซม.
    กลีบเลี้ยง รูปไข่แกมสามเหลี่ยมยาวได้ถึง 1 ซม.
    ด้านนอกมีขน กลีบดอกหนาสีเขียวอมเหลือง วงนอกรูปไข่ หรือแกมขอบขนาน ยาว 8 – 15 ซม.
    วงในรูปสามเหลี่ยมยาว 1.5 – 2 ซม. ด้านนอกมีขนสั้น สีน้ำตาลหนาแน่น
    เกสรเพศผู้ยาวประมาณ 3 มม.
    คาร์เพลรูปทรงกระบอก มีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ยาว 6–7 มม.
    ก้านเกสรเพศเมียรูปแถบ ยอดเกสรรูปกรวยแคบ ๆ ผลย่อยรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 3 – 4.5 ซม.
    ก้านผลยาวได้ถึง 1 ซม. มี 1– 2 เมล็ด
  • ผล ผลปาหนันช้าง เป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 8 – 20 ผล
    เปลือกผลย่น ขรุขระเป็นตุ่มขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็น สีเหลืองอมเขียว มี 1-2 เมล็ดต่อผล
  • เมล็ด ลักษณะเมล็ด รูปกลมรี ยาว 1-1.5 ซม.

ที่มา : สารานุกรมพืช [2]

การกระจายพันธุ์

ปาหนันช้าง เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของไทย ที่มีการกระจายพันธุ์ ในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ที่ระดับความสูง 50 – 400 เมตร บริเวณจังหวัดสงขลา, พัทลุง, ปัตตานี, ตรัง, สตูล, ยะลา และนราธิวาส

ต่างประเทศพบที่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า อินเดีย และ พบที่คาบสมุทรมลายู สุมาตรา บอร์เนียว ขึ้นตามป่าพรุ หรือป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 900 เมตร

การขยายพันธุ์ปาหนันช้าง

ขยายพันธุ์โดย วิธีการเพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง
“ดอก” ใหญ่โดดเด่น โดยเฉพาะช่วง เดือนสิงหาคม ส่วน “ผล” หลังจากที่ดอกบานไปแล้ว โดยจะเจริญเติบโตอย่างช้าๆ และแก่ ในเดือนพฤษภาคม ถึงกรกฎาคม ของปีถัดไป

ถือเป็นพรรณไม้ ที่มีช่วงระยะเวลาติดผล ยาวนานถึง 10 เดือน แต่ถึงแม้ปาหนันช้าง จะเป็นพรรณไม้ที่มี จำนวนของเมล็ดมาก แต่ตรงกันข้าม กลับมีการขยายพันธุ์ ตามธรรมชาติที่น้อย [3]

สรรพคุณปาหนันช้าง

สรรพคุณปาหนันช้าง นั้นมีลักษณะ ที่โดดเด่น เช่นเดียวกับ “ต้นไม้ดอกหอม หายาก” ชนิดอื่นๆ อย่างเช่น มังตาน ตรงที่ มีดอกกลิ่นหอม นิยมนำมาปลูก เพื่อเป็นไม้ประดับ และ มีสารกลุ่ม Acetogenins มีสรรพคุณ ใช้ฆ่าแมลง ได้อีกด้วย

สรุป ปาหนันช้าง ต้นไม้ดอกหอม หายาก กลิ่นเย้ายวนแก่ผู้พบเห็น

ปาหนันช้าง

สรุป ปาหนันช้าง ในปัจจุบัน มีการคัดพันธุ์ต้น ที่มีลักษณะเตี้ย แต่ยังคงมีดอกขนาดใหญ่ ดอกดก และออกดอกได้เกือบตลอดปี พันธุ์ไม้ดอกหอมหายาก ที่สามารถขยายพันธุ์ จนได้รับความนิยม ปลูกกันอย่างแพร่หลาย นับว่าเป็น วิธีขยายพันธุ์ และรักษาพันธุ์ไม้หายาก ที่ได้ผลดี อีกวิธีหนึ่ง ช่วยรักษา พันธุ์ไม้หายาก ให้คงอยู่ต่อไปอีกนาน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

365