มหาพรหมราชินี พันธุ์ไม้หอมหายาก นามพระราชทาน

มหาพรหมราชินี

มหาพรหมราชินี ไม้วงศ์กระดังงา มหาพรหมราชินี เป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก พบในประเทศไทยที่เขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อปี 2547 เป็นครั้งแรก เป็นไม้วงศ์ กระดังงา ในสกุลมหาพรหม ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก 48 ชนิด ในประเทศไทยที่สำรวจพบแล้วมี 7 ชนิด โดยมีมหาพรหมราชินี เป็นชนิดที่ 8

มหาพรหมราชินี พรรณไม้วงศ์กระดังงา เฉลิมพระเกียรติ

มหาพรหมราชินี เป็นพืชถิ่นเดียว เหตุที่ใช้ชื่อภาษาไทยว่า “มหาพรหมราชินี” ตามพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณ แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถแห่งประเทศไทย เป็นพรรณไม้ ที่มีดอกใหญ่ที่สุด แต่ละดอกบานอยู่ได้ 3-5 วัน กลิ่นหอมอ่อนๆ เปรียบเทียบกับ พรรณไม้ที่มีดอกชนิดอื่นๆ ในสกุล มหาพรหม [1]

ข้อมูลเฉพาะ

ชื่อไทย : มหาพรหมราชินี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K. Saunders
ชื่อวงศ์ : กระดังงา (Annonaceae)
สกุล : มหาพรหม (Mitrephora)
ผู้ค้นพบ : ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น :ไม้ต้น สูง 6 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น
ใบ :ใบรูปใบหอก ยาว 6 – 22 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนแหลมหรือมน แผ่นใบด้านล่างเป็นมันวาว มีขนกระจาย เส้นแขนงใบข้างละ 8 – 11 เส้น ก้านใบยาว 0.5 – 1 ซม.
ดอก : ช่อดอกมีขนกำมะหยี่ มี 1 – 3 ดอก ก้านดอกยาว 1.8 – 2.7 ซม. ใบประดับรูปไข่ ยาว 5 – 7 ซม. กลีบรูปไข่กว้าง ยาว 1.3 – 1.5 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น กลีบดอกวงนอก สีขาว รูปไข่กว้าง ยาว 4 – 5.5 ซม. วงในสีชมพูอมม่วง รูปไข่ สั้นกว่าวงนอกเล็กน้อย โคนรูปเงี่ยงลูกศร
ผล : ผลย่อยมี 10-15 ผล รูปขอบขนาน ยาว 5-6 ซม. มีขนละเอียด ก้านยาว 1.5 – 2.5 ซม.

ที่มา : สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม [2]

การกระจายพันธุ์

มหาพรหรมราชินี นับว่าเป็นพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น (Endemic) มีแต่ในเฉพาะ ประเทศไทยเท่านั้น โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในบริเวณที่แคบๆ ของยอดเขาสูงชัน ที่ระดับความสูง 1,100 เมตร ที่มีอากาศหนาวเย็น

ต้นมหาพรหมราชินี ถูกนำมาขยายพันธุ์ เพื่อปลูกเลี้ยงนอกถิ่นกำเนิด โดยวิธีการเพาะเมล็ด แต่การเพาะเมล็ดค่อนข้างยาก เนื่องจากเมล็ดมีอัตราการงอกต่ำมาก จึงได้มีการขยายพันธุ์ โดยวิธีเสียบยอด หรือ ทาบกิ่ง ซึ่งได้ผลดีกว่า เนื่องจากโตเร็ว และสามารถออกดอกได้เร็วกว่า ต้นที่เพาะเมล็ด

เนื่องจากมีจำนวนต้น ในสภาพถิ่นกำเนิด น้อยมาก และมีการกระจายพันธุ์ต่ำ จัดว่าเป็น “ต้นไม้ดอกหอม หายาก” [3] อีกชนิดหนึ่งในวงศ์กระดังงา เช่นเดียวกันกับ ปาหนันช้าง

มหาพรหมราชินี แตกต่างจาก ต้นมหาพรหม อย่างไร

มหาพรหรมราชินี

พรรณไม้ในสกุลเดียวกันอย่าง ต้นมหาพรหม กับ มหาพรหมราชินี มีข้อแตกต่างกันอย่างไร ต้นมหาพรหมจะมีใบค่อนข้างกลมเนื้อหนา มีขนมาก เส้นใบนูนชัด เมื่อจับใบจะมีความรู้สึกหนานุ่ม ต่างจาก มหาพรหมราชินี ที่มีใบรูปร่างเรียวยาว เนื้อใบบาง แผ่นใบบางเรียบ เป็นมัน ไม่มีขน

พรรณไม้ทั้งสองชนิด จะมีลักษณะเหมือนกัน ในเรื่องของ การเพาะเมล็ด คือเมื่อนำเมล็ดของมหาพรหม และมหาพรหมราชินี มาเพาะและปลูกใน ที่ราบภาคกลาง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เมล็ดของพรรณไม้ทั้งสอง จะงอก และเจริญเติบโตได้ดี สามารถออกดอก ได้ทั้งสองชนิด

สรรพคุณทางเภสัชวิทยา ต้นมหาพรหมราชินี

มีการนำสารใน ต้นมหาพรมราชินี ไปทดสอบการออกฤทธิ์ ต่อเซลล์ซึ่งพบว่า สารที่มีชื่อว่า liriodenine และoxoputerine มีฤทธิ์ที่ดี ในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งช่องปาก มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด เป็นต้น

แสดงฤทธิ์ที่มีความจำเพาะ เจาะจงต่อเซลล์มะเร็งเต้านม และมะเร็งช่องปาก ที่ค่า IC50 4.40 ฑ 0.10 และ 2.03 ฑ 0.11 ไมโครโมลาร์ตามสำดับ เทียบกับสารมาตรฐาน ellipticine นอกเหนือจากนี้ยังมีผลการทดสอบ การต้านภูมิแพ้ ของสารที่แยกได้จาก พบว่าแสดงฤทธิ์ในการต้านการอักเสบด้วยกลไกที่แตกต่างกัน [4]

สรุป มหาพรหหมราชินี พันธุ์ไม้มงคล นามพระราชทาน

มหาพรหมราชินี

สรุป มหาพรหหมราชินี นิยมปลูกเป็นไม้ประดับโชว์ ทรงพุ่ม และไม้ดอกหอม เนื่องจากมีดอกขนาดใหญ่ ดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม เป็นพรรณไม้ ที่มีดอกใหญ่ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับดอกของพรรณไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลมหาพรหมด้วยกัน ถือเป็นพันธุ์ไม้มงคลหายากอีกหนึ่งชนิด

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

198