มันเทศสารอาหาร ที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย มันเทศเป็นพืชราก ที่มีความสำคัญทางโภชนาการ และเป็นที่นิยมทั่วโลก ไม่เพียงเพราะรสชาติหวานอร่อย ทางสุขภาพมากมาย มันเทศมีหลายสายพันธุ์และสีสัน แต่ละสายพันธุ์ มีคุณสมบัติพิเศษ ที่แตกต่างกันไป
มันเทศ Sweet Potato มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea batatas และเป็นพืชในตระกูล Convolvulaceae ซึ่งเป็นตระกูลเดียว กับดอกบานเช้า (Morning Glory) มันเทศมีหลากหลายสายพันธุ์ และสีสัน ทั้งเนื้อสีส้ม สีขาว และสีม่วง โดยที่มันเทศเนื้อสีส้ม จะมีปริมาณเบต้าแคโรทีน สูงที่สุด
บำรุงสายตา เบต้าแคโรทีนในมันเทศ ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก และการเสื่อม ของจอประสาทตา เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน วิตามินเอ และซี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกาย สามารถต่อสู้กับเชื้อโรค ได้ดีขึ้น ช่วยในการย่อยอาหาร เส้นใยอาหารในมันเทศ ช่วยกระตุ้นการทำงาน ของลำไส้ และป้องกันอาการท้องผูก
ควบคุมน้ำตาลในเลือด มันเทศมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ซึ่งช่วยควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ บำรุงผิวพรรณ วิตามินซี และเบต้าแคโรทีน ช่วยปกป้องผิว จากการถูกทำลาย โดยแสงแดด และสารอนุมูลอิสระ มันเทศสามารถหาซื้อ ได้ง่ายทั่วไป เช่นทางออนไลน์ E-Rice Thai Farmers มันเทศสีส้ม ปริมาณ 5 กก. ราคา 350 บาท [1]
คุณค่าทางโภชนาการ ของมันเทศในปริมาณ 100 กรัม มีพลังงาน 85 กิโลแคลอรี และปริมาณสารอาหารอื่นๆ ดังนี้
ที่มา: Sweet potato, raw [2]
มันเทศเป็นแหล่ง เบต้าแคโรทีนที่ดี โดยเฉพาะมันเทศเนื้อสีส้ม ซึ่งมีปริมาณ เบต้าแคโรทีนสูงมาก การศึกษาจาก USDA ระบุว่ามันเทศเนื้อสีส้ม มีเบต้าแคโรทีน ประมาณ 8,285 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม
ซึ่งทำให้มันเทศ เป็นแหล่งสำคัญของ Vitamin A ที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนจาก เบต้าแคโรทีนได้แหล่งอื่นๆเช่น ฟักทองบัตเตอร์นัท หรือ พริกหวานสีส้ม และ แครอทมีเบต้าแคโรทีน เช่นเดียวกัน [3]
มันเทศสามารถรับประทานได้ หลายรูปแบบ เช่น อบ ต้ม ทอด หรือทำเป็น Soup การปรุงมันเทศ ด้วยวิธีการอบ หรือต้ม จะช่วยรักษา คุณค่าทางโภชนาการ ได้ดีที่สุด การรับประทานมันเทศ ร่วมกับไขมันเล็กน้อย เช่น น้ำมันมะกอก จะช่วยเพิ่มการดูดซึม Vitamin A จากเบต้าแคโรทีน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มันเทศเป็นพืชราก ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีประโยชน์ ต่อสุขภาพมากมาย การเพิ่มมันเทศ เข้าไปในเมนูอาหาร เป็นวิธีที่ดี ในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการบำรุงสายตา ระบบภูมิคุ้มกัน และการย่อยอาหาร