ลิ้นงูเห่า หญ้าลิ้นงูเห่า เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน หลายๆ คนนั้นอาจจะยังไม่รู้ว่า ต้นลิ้นงูเห่าเป็นอย่างไร สรรพคุณ เป็นเช่นไร รักษาโรคอะไรได้บ้าง มารู้จักต้นลิ้นงูเห่ากัน ว่ามีลักษณะทาง พฤกษศาสตร์อย่างไร สรรพคุณทางยาสมุนไพร และประโยชน์ทาง เภสัชวิทยา มีอะไรบ้าง
ชื่อสามัญ: Diamnel flower
ชื่อวิทยาศาสตร์: Oldenlandia corymbosa L
ชื่อเรียกอื่นๆ: จุ่ยจี้เช่า จั่วจิเช่า สุ่ยเฉียบฉ่าว สุ่ยเซี่ยนเฉ่า เสอเสอเฉ่า
วงศ์: Acanthaceae
ถิ่นกำเนิด: ในประเทศเขตร้อน แถบทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา
ในประเทศไทย สามารถพบ แพร่กระจาย ได้ทั่วไป
ต้นลิ้นงูเห่า: เป็นพืชไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีอายุเพียงหนึ่งปี
ลำต้น: ประเภทกึ่งเลื้อย สามารถแตกกิ่ง เป็นพุ่มได้ ลำต้นสามารถเลื้อยยาว มีขนาดเล็ก มีรูปค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยม: ผิวลำต้นมีความเกลี้ยง สีเขียวออกสด และมีขนสั้นเล็กๆ ปกคลุมทั่ว
ใบ: เป็นใบเดี่ยว 2 ใบ ตรงข้ามกัน บริเวณข้อปล้อง ใบไม่มีก้านใบ
ดอก: เป็นช่อ แตกออกมาตามซอกใบ บริเวณปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 3 -5 ดอก มีฐานกลีบ ที่เชื่อมติดกัน ส่วนปลายกลีบแหลม
ผล: เป็นรูปถ้วย ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีเขียว เมล็ดมีขนาดค่อนข้างเล็ก รูปร่างจะเป็นเหลี่ยม เปลือกของเมล็ดสีน้ำตาล อมดำ
ที่มา: ลักษณะของต้นลิ้นงูเห่า [1]
ขยายพันธุ์: โดยนำเมล็ดจากต้นไปเพาะ
การปลูก: ลิ้นงูเห่า เป็นไม้เลี้ยงขึ้นง่าย ในดินแทบทุกชนิด หากเลี้ยงในกระถาง ควรใช้กระถางใบโตๆ ใส่ใบไม้ผุ และดินผสมทราย เมื่อต้นแก่กล้าแล้ว ให้โดนแสงแดดมากๆ จะทำให้ แตกกอได้ไว
ที่มา: การขยายพันธุ์ การปลูกและการดูแล [2]
สารที่พบ ได้แก่ Corymbosin, Flavone, Fatty acid, Sterol, Ursolic acid
สาร Ursolic acid ในหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติในการปกป้องตับ โดยสามารถลดความเป็นพิษต่อตับของยาพาราเซตามอล มีคุณสมบัติในการปกป้องตับจากการถูกทำลายของสารเคมีต่าง ๆ ได้แก่ Carbon tetrachloride, D-Galatosamine, Perchloroethylene
หญ้าลิ้นงูเห่า มีคุณสมบัติโดดเด่น : ต้านการอักเสบ ต้านจุลชีพ และโปรโตซัว
จึงมีการนำมาใช้เพื่อ รักษาโรคที่มีอาการอักเสบ และติดเชื้อ เช่น คางทูม ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน โรคทาง เดินปัสสาวะอักเสบ ตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำดีอักเสบ และใช้ฆ่าพยาธิ เป็นต้น [3]
ลิ้นงูเห่า จัดเป็น “พืชสมุนไพรช่วยลดไข้” มีสรรพคุณสามารถลดอาการไข้ แก้ไข้มาลาเรีย บรรเทาไข้ได้ ด้วยการใช้ลำต้นสดประมาณ 15 – 30 กรัม นำมาต้มเอาแต่น้ำกิน (ต้น,ทั้งต้น) เป็นกลุ่มสมุนไพรช่วยลดไข้จำพวกเดียวกันกับ ท้าวยายม่อม เป็นต้น
สรุป ลิ้นงูเห่า สรรพคุณทางยาสมุนไพรย่อแบบสั้นๆ คือรากมีรสจืดเย็น โขลกพอกดับพิษแมลงกัดต่อย ใบมีรสจืดเย็น โขลกหรือขยี้ทาแก้พิษร้อน โรคผิวหนัง พิษอักเสบ ปวดฝี รักษาแผลไฟไฟม้ น้ำร้อนลวก ลดอาการอักเสบ แถมยังสามารถปลูกเป็น ไม้ประดับที่มีดอกสีสันสด สวย ได้อีกด้วย