วัดแจงร้อน พระอุโบสถเก่าแก่ 200 ปี ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร

วัดแจงร้อน

วัดแจงร้อน ตั้งอยู่ในแขวงราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย บริเวณต้นคลองแจงร้อน เป็นวัดเก่าแก่ คาดว่ามีพระอุโบสถเก่าแก่กว่าสองร้อยปีตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มี ศาลาท่าน้ำ สำหรับผู้ที่ทำบุญแล้ว อยากจะปล่อยปลา หรือนั่งรับลมชมวิวที่ท่าน้ำแห่งน้ำก็ได้

ประวัติความเป็นมาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ

คาดกันว่า วัดแจงร้อน นี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ช่วงกรุงศรีอยุธยาราวๆ ปี พุทธศักราช 2300 เดิม มีชื่อว่า วัดพารา บ้างก็ว่าวัดหงษ์ร่อน และมีพระวิหารเก่าแก่อายุสองร้อยกว่าปี แต่ไม่ปรากฏว่าใครคือผู้สร้าง ส่วนพระอุโบสถปัจจุบันสร้างสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2466 โดย พระครูประสิทธิ์สิกขการ (หลวงพ่อจวน) เป็นผู้ดำริสร้างขึ้น

ประวัติ

ชื่อ วัดแจงร้อน นั้นไม่สามารถระบุที่มาและความหมายได้ ไม่แจ้งชัดว่าชื่อ แจงร้อน นี้ได้มาได้อย่างไร ชาวบ้านผู้ที่เคยเห็นอุโบสถหลังเก่า บรรยายว่ายอดเสาหารนั้นเป็นรูปหงส์กางปีกทั้งสองเสาแต่ได้ถูกรื้อออกไปแล้วเมื่อปี พ.ศ.2461 และในปีเดียวกันนั้นได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา [1]

สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ

วิหารหลวงพ่อหินแดง เป็นวิหารเก่าแก่แบบวิลันดาในสมัยช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา พระพุทธรูปเก่าแก่ที่สุดที่พบในกรุงเทพมหานคร หลวงพ่อหินแดง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิทำมาจากศิลาแลงสีแดง คาดว่าถูกสร้างขึ้นเมื่อราว 600 ปีก่อน และตู้พระธรรมโบราณ สร้างตั้งแต่ในสมัย รัชกาลที่ 1 จำนวน 2 ใบ [2]

ข้อมูลเพิ่มเติม

เจ้าอาวาส: พระปลัดวัชระ กนฺตสีโร
ที่อยู่: วัดแจงร้อน แขวง/เขต ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140
เวลาทำการ: 08.00 -17.00 น.
โทรศัพท์: 089-485 9201
พิกัด: MGGC+Q4 กรุงเทพมหานคร

การเดินทาง

วัดแจงร้อน

โดยรถประจำทาง: สาย 6 ท่าเรือพระประแดง-บางลำพู, สาย 17 บิ๊กซีพระประแดง-อนุสาวรีย์ชัย, สาย 37 แจงร้อน-มหานาค
เรือข้ามฟากที่ใกล้ที่สุด: ท่าเรือวัดบางพึ่ง, ท่าเรือคลองลัดหลวง, ท่าเรือคลองลัดโพธิ์
ที่มา: อัตราราคาค่าโดยสาร และเส้นทางการเดินทางประเภทต่างๆ [3]

สรุป วัดแจงร้อน วัดที่ยังเป็นปริศนาที่มาของชื่อ แห่งนี้

สำหรับผู้ที่ชอบศึกษาวัฒนธรรม โบราณสถาน วัดแจงร้อน จัดว่าโดดเด่นไม่เหมือนวัดใดด้วย พระวิหาร ที่มีลายปูนปั้นเป็นรูปผลไม้ มะม่วง สับปะรด น้อยหนา ทับทิม และสัตว์น้ำ ปลาหมึก ปู ปลาทอง และอื่นๆ มากราบไหว้ ในเขตนี้ยังมีอีกหลายวัดใกล้กัน เช่น วัดประเสริฐสุทธาวาส, วัดสน เป็นต้น

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง