วิตามินเอ เป็นสารอาหารสำคัญ ที่มีบทบาทหลากหลายต่อร่างกาย ทั้งในการเสริมสร้างสุขภาพตา บำรุงผิวพรรณ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิตามินเอพบได้ในอาหารหลายชนิด เมื่อได้รับในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายทำงาน ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
โครงสร้างของวิตามินเอ ประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนคือ Beta Ring และ Polyene Chain เมื่อร่างกายรับวิตามินเอ จากแหล่งอาหาร เช่นแครอท วิตามินเอจะถูกเปลี่ยนรูป ภายในร่างกายเป็น Retinol และ Retinal ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงกันไปมาได้
นอกจากนี้ Retinal ยังสามารถเปลี่ยนไปเป็น Retinoic Acid ซึ่งเป็นโมเลกุลที่สำคัญ มีบทบาทในการส่งสัญญาณ ภายในเซลล์ เพื่อควบคุมการเจริญเติบโต การซ่อมแซม และการทำงานของเซลล์ผิวหนัง และเนื้อเยื่ออื่นๆในร่างกาย
วิตามินเอมีบทบาทสำคัญ ในการปรับตัวของสายตา ในที่มีแสงน้อย เมื่อมีแสง วิตามินเอในจอประสาทตา จะทำงานร่วมกับเซลล์ และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เราสามารถมองเห็น ในสภาพแสงน้อยได้ ช่วยสายตาปรับตัวจากที่สว่าง ไปสู่ที่มืดได้อย่างรวดเร็ว
หากขาดวิตามินเอ กระบวนการปรับตัวนี้จะช้าลง ทำให้การมองเห็นในที่มืดลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะตาบอดกลางคืน และในกรณีรุนแรง อาจทำให้กระจกตาแห้ง และเกิดการติดเชื้อร้ายแรง ระดับวิตามินเอที่ต่ำกว่า 25 ไมโครกรัม อาจทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินเอ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ [1]
วิตามินเอมีส่วนสำคัญ ต่อระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากผิวหนังภายนอก และภายใน ทำหน้าที่เป็นกำแพงป้องกันเชื้อโรค อีกทั้งยังส่งเสริมการทำงาน ของเซลล์ที่ควบคุมการตอบสนอง ของภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีผลต่อความเสี่ยง ในการเกิดโรคภูมิต้านตนเอง เช่นโรคไทรอยด์บางชนิด
นอกจากนี้ วิตามินเอยังมีส่วนสำคัญ ในการบำรุงรักษาผิวพรรณ วิตามินเอช่วยบำรุงรักษาผิวพรรณ ลดความเสี่ยงของผิวแห้ง และแตกลาย ช่วยในกระบวนการซ่อมแซมผิวหนัง และการแบ่งตัวของเซลล์ รวมถึงปกป้องผิว จากการติดเชื้อ
การวิจัยพบว่า อาหารบางชนิด ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก และป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตาตามวัยที่เป็นสาเหตุสำคัญ ของการสูญเสียการมองเห็น ในผู้สูงอายุ โดยอาหารที่มีประโยชน์ ในการดูแลสุขภาพดวงตา มีดังนี้
ที่มา: Doctor explains BEST FOODS FOR EYE HEALTH [2]
การขาดวิตามินเอ อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่นปัญหาการมองเห็นในที่มืด ดวงตาแห้ง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ปัญหาผิวหนัง และปัญหาการพัฒนากระดูกในเด็ก นอกจากนี้ การขาดวิตามินเอ ยังอาจส่งผลต่อการดูดซึมไอโอดีน ที่จำเป็นต่อการทำงานของไทรอยด์
การขาดวิตามินเออาจเกิดขึ้น หากไม่บริโภคอาหาร ที่มีวิตามินเอเพียงพอ หรือหากมีปัญหาที่ตับ เช่นภาวะตับแข็ง หรือมีไขมันพอกตับ ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถ ในการเก็บและใช้วิตามินเอ นอกจากนี้ ผู้ที่ไม่มีถุงน้ำดี หรือต้องการน้ำดี เพื่อการดูดซึมวิตามินเอ อาจมีปัญหาในการรับวิตามินเอจากอาหาร
การได้รับวิตามินเอเกิน ก็อาจทำให้เกิดอาการ คล้ายกับการขาดวิตามินเอ เช่นผิวหนังแห้ง ริมฝีปากแห้ง อาการปวดหัว และความดันในกะโหลก รวมถึงการมีแคลเซียมในเลือดสูง การบริโภควิตามินเอเกิน จากแหล่งสังเคราะห์ หรือจากอาหารบางชนิด เช่นตับของสัตว์บางชนิด อาจทำให้เกิดความเป็นพิษได้ [3]
วิตามินเอสังเคราะห์ โดยเฉพาะในรูปแบบเบต้าแคโรทีน อาจเพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นควรเลือกรับวิตามินเอ จากอาหารธรรมชาติ เช่นไข่แดง ตับ และผักใบเขียว ซึ่งมีความปลอดภัย และลดความเสี่ยง ในการเกิดภาวะเป็นพิษ
วิตามินเอสามารถทานร่วมกับอาหารเสริม ลูทีน เพื่อช่วยบำรุงสายตา ลูทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยกรองแสงสีน้ำเงิน และลดความเสี่ยง ในการเกิดจอประสาทตาเสื่อมตามวัย หรือทานร่วมกับ ซีแซนทีน จะ ช่วยลดความเสื่อม ของจอประสาทตา และเพิ่มความคมชัดในการมองเห็น
วิตามินเอเป็นหนึ่งในวิตามิน ที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งนี้ควรได้รับจากแหล่งอาหารธรรมชาติเป็นหลัก เนื่องจากวิตามินเอมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการรักษาสุขภาพตา ผิวพรรณ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การดูแลให้ได้รับวิตามินเออย่างเหมาะสม ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการคงความแข็งแรง และสุขภาพที่ดี