ว่านเพชรหึง ราชินีแห่งกล้วยไม้ (Tiger Orchid)

ว่านเพชรหึง

ว่านเพชรหึง หรือที่ชื่ออื่นเรียกว่า กล้วยไม้ยักษ์, ว่านหางช้าง, ราชินีแห่งกล้วยไม้, กล้วยไม้เสือโคร่ง, กล้วยกา,ว่านงูเหลือม เป็นต้นไม้หายาก คือกล้วยไม้ ประเภทแตกกอ มีระบบรากอากาศ ที่มีลำต้นขนาดใหญ่ จนขึ้นชื่อได้ว่า เป็นกล้วยไม้ยักษ์ Giant Orchids พันธุ์ไทย อีกชนิดหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ว่านเพชรหึง ที่มาของชื่อ

ว่านเพชรหึง ที่เรียกว่า “ว่าน” นั้นเป็นเพราะ เพชรหึง มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ส่วนที่มาของ “เพชรหึง” ตามตำรากบิลว่าน ได้อธิบายเอาไว้ว่า เมื่อดอกเพชรหึงแก่ ก้านดอกจะส่ายไปมาคล้ายกับงูโยกหัว และเมื่อมีพายุใหญ่พัดมา (พายลมเพชรหึง) จะมีเสียงคล้ายการจุดประทัด ดอกเพชรหึงจะหายไปพร้อมกับพายุ

คนไทยจึงตั้งชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้ว่า “เพชรหึง” เพราะว่ามีความเกี่ยวข้องกับ ลมพายุเพชรหึงนั่นเอง จึงเป็นที่มาของชื่อว่านเพชรหึง [1]

ว่านเพชรหึง ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวิทยาศาสตร์: Grammatophyllum speciosum Blume
ชื่อสามัญ: Tiger orchid, Leopard flower
วงศ์: Orchidaceae
ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย แตกกอขนาดใหญ่
สกุล: Grammatophyllum
สปีชีส์: G. speciosum
ระยะเวลาที่ออกดอก: กรกฏาคม – ตุลาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ [2]

ลักษณะเฉพาะ ของว่านเพชรหึง

ว่านเพชรหึง

ลำต้น: สูง 1 – 2 เมตร หรือมากกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางลำ 3 – 5 ซม.
ใบ: ใบเดี่ยว รูปแถบขนาดกว้าง 3 – 4 ซม. ยาว 30 – 60 ซม. ผิวมัน เรียงสลับซ้ายขวา
ดอก: ช่อดอกออกจากลำต้นเทียม เป็นช่อกระจะขนาดใหญ่ ชูตั้ง ยาว 50 – 100 เซนติเมตร จะค่อยๆ บานจากโคน ไปยังปลายช่อ ดอกบานขนาด 6 – 8 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลือง มีจุดสีน้ำตาล กระจายทั่วดอก คล้ายลายเสือ [3]

ลักษณะพิเศษ ของว่านเพชรหึง และการขยายพันธุ์

ลักษณะพิเศษ:

  • มีส่วนลำต้นใหญ่ และยาวกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่น
  • ทนต่อการขาดน้ำ และสารอาหารได้เป็นเวลานาน
  • มีอายุยืนยาว
  • เป็นกล้วยไม้ ที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในโลก

การขยายพันธุ์:

  • การปักชำ
  • ดินอิฐมอญทุบ ผสมกาบมะพร้าวสับ
  • น้ำปานกลาง ในฤดูหนาว ควรงดให้น้ำ เพื่อป้องกันหัวเน่า
  • ต้องการแสงแดดรำไร ประมาณครึ่งวัน

หมายเหตุ: อัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า

 

คุณสมบัติทางชีวภาพ

ด้วยลักษณะพิเศษ นักวิจัยจึงค้นพบ คุณสมบัติในการต้าน เอนไซม์อิลาสเตส และลดการสร้างเอนไซม์คอลลาจิเนส ในผิว สารสกัดจากว่านเพชรหึง มีอนุภาคนาโนไขมัน ที่ช่วยให้ซึมผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น พัฒนามาเป็นผลิตภัณฑ์ครีมและเซรั่มบำรุงผิว

สรรพคุณ: ช่วยให้ผิวหน้า แลดูกระจ่างใสขึ้น และช่วยลดริ้วรอย บนผิวหน้า หลังการใช้ 4 สัปดาห์ [4]

ประโยชน์ว่านเพชรหึง

ประโยชน์ของว่านเพชรหึง อาจคล้ายกับ ต้นไม้หายากชนิดอื่นๆ เช่น จันทน์หอม และ เทพทาโร เป็นต้น ซึ่งมีคุณประโยชน์ด้านเป็นยาสมุนไพร รักษาโรคต่างๆ ได้ดี โดยประโยชน์ของว่านเพชรหึง มีดังต่อไปนี้

  • นำลำต้นมาฝนกับเหล้าแล้วดื่ม เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน แก้พิษงู ตะขาบ หรือแมงป่องต่อย
  • ใช้กากพอกปากแผล ช่วยถอนพิษ
  • นำไปฝนกับน้ำซาวข้าว ทาบริเวณฝี จะช่วยดับพิษฝี
  • หั่นบาง ๆ ล้างน้ำให้สะอาด ดองเหล้าดื่ม จะช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงกำลัง ถ้ากินเป็นประจำ จะเป็นยาอายุวัฒนะ

สรุป ว่านเพชรหึง ต้นไม้หายาก พันธุ์ไทย ราชินีแห่งกล้วยไม้

ว่านเพชรหึง

สรุป ว่านเพชรหึง เป็นที่สุดของกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แล้วยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร แก้พิษแมลง กัด ต่อย อีกทั้งยังนำมาเป็นสารสกัดช่วยฟื้นฟูสุขภาพผิว แต่กลับเป็นต้นไม้หายาก เพราะต้องการใช้เวลาในการเติบโตค่อนข้างนาน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
บทความที่น่าสนใจ
359