เทพเจ้ารา เทพแห่งแสงอาทิตย์ ตามตำนานความเชื่อเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ ของผู้คนในช่วงสมัยอียิปต์ และเป็นเทพสูงสุดของอียิปต์ บางข้อมูลเล่าว่า องค์ฟาโรห์ ที่เป็นเจ้าปกครองอาณาจักร เป็นลูกของเทพพระอาทิตย์ ที่ถูกส่งมาให้ปกครองประชากรบนโลก
Ra หรือ เร [1] ได้รับการนับถือให้เป็นสุริยเทพ หรือเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ที่ผู้คนในยุคสมัยอียิปต์โบราณ มีความเชื่อกันว่า องค์กษัตริย์ฟาโรห์ เป็นบุตรของ เทพเจ้ารา ได้รับหน้าที่ปกครองมวลมนุษย์ เทพเจ้าแห่งแสงอาทิตย์องค์นี้ ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของการฟื้นคืนชีพ เปรียบเสมือนเจอดวงอาทิตย์ขึ้นใหม่ในตอนเช้า
ตำนานได้เล่ากันว่า การบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ปรากฏหลักฐานที่มีความเก่าแก่ที่สุด ในช่วงยุคราชวงศ์ที่ 2 ของอาณาจักรเก่าแก่ และต่อมาในช่วงยุคราชวงศ์ที่ห้า จึงมีการปรากฏความเชื่อ ที่มีการเชื่อมโยงไปถึงฟาโรห์ กล่าวว่าฟาโรห์ เป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์องค์นี้
จึงส่งผลให้ชื่อขององค์ฟาโรห์ ในทุก ๆ พระองค์ จะมีคำว่า เร หรือ รา ผสมอยู่กับเทพรา ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่มีการบูชาในสมัยอาณาจักรเก่า ก่อนที่ประชากรอียิปต์ จะหันมาบูชา เทพรามุน-รา (Amon-Ra) ในยุคอาณาจักรกลาง เป็นการรวมเข้ากับ เทพเจ้ารา ให้รวมเป็นองค์เดียวกัน
แต่ด้วยการบูชาเทพเจ้าอามุน จะต้องผ่านพิธีกรรมจากนักบวช จนทำให้นักบวชมีอิทธิพล ร่ำรวยมากยิ่งขึ้น และมีอำนาจมากกว่าองค์ฟาโรห์ จนมาถึงยุคอาณาจักรใหม่ ฟาโรห์จึงยก เทพเจ้ารา ขึ้นสูงสุด และปลูกฝังความเชื่อว่าฟาโรห์สืบเชื้อสาย มาจากองค์เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์
โดยเฉพาะในยุคขององค์ฟาโรห์ทุตโมซิส (Thuthmosis) และองค์ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่สาม (Amenhotep III) ต่อมาในยุคขององค์ฟาโรห์แอเคนาเทน (Akhenaten) ก็ได้หันมาบูชาเทพเจ้าแห่งแสงอาทิตย์ ในชื่อของเทพเจ้าอาเทน เป็นเทพสูงสุดองค์เดียว และยกเลิกการบูชาเทพอามุน
ซึ่งสถานที่ ที่มีการกราบไหว้บูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์องค์นี้ มีในช่วงยุคสมัยอาณาจักรเก่า และยังมีการพบหลักฐานชิ้นสำคัญ ภายในวิหารอาบูซิมเบล ที่มีการสร้างหลากหลายสมัย จนมาถึงยุคสิ้นสุด ในสมัยฟาโรห์รามเสสที่สอง เป็นวิหารบูชาเทพอามุน-รา
ซึ่งภายในห้องศักดิ์สิทธิ์ชั้นในของวิหาร จะมีทั้งรูปปั้นของเทพเจ้าอามุน-รา และ เทพเจ้ารา หรือมีอีกชื่อที่เรียกว่า ราแห่งเฮียราโพลิส ที่อยู่รวมกัน ภายในสุสานฟาโรห์ แห่งอาณาจักรสมัยใหม่ ที่ตั้งอยู่ในหุบผากษัตริย์ (Valley of the Kings) มักมีการสลักภาพ วาดเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทาง 12 ชั่วโมง
หรือภาพวาด 12 ยาม ในโลกแห่งความตาย ที่มีการเล่าถึงการเสียชีวิตในยามที่ห้า ก่อนที่จะได้รวมตัวกับเทพโอซิริส ภายในดินแดนแห่งความตาย และกลับขึ้นมามีชีวิตอีกครั้ง โดยมาในรูปแบบของแมลงทับ หรือสคารับ (Scarab) ในช่วงอายุขัยสุดท้าย
ในช่วงยุคสมัยราชวงศ์ทอโลมี ของชาวกรีกโบราณ ที่ได้มีการเข้ามาสถาปนาราชวงศ์ปกครองอียิปต์ ยุคหลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ พิชิตตอียิปต์ลงได้ ก็ยังคงมีการบูชา เทพเจ้ารา แต่เมื่อสิ้นสุดลงในยุคของพระนางคลีโอพัตรา ความเชื่อและการบูชาเทพราก็ลดน้อยลงไป
เป็นเทพเจ้าโบราณของชาวอียิปต์โบราณ ซึ่งสัญลักษณ์ของพระองค์ จะเป็นวงกลม และหมุนอยู่บนเรือ รรูปร่างโดยส่วนใหญ่ จะเป็นร่างของมนุษย์ผู้ชาย และส่วนหัวนั้นจะเป็นนกเหยี่ยว ซึ่งมีความเชื่อกันว่า เกิดจากแม่น้ำแห่งเทพนุน ร่างกายนั้นจะล้อมลอยไปด้วยกลีบดอกบัว
ตามตำนานเล่ากันว่า เมื่อถึงเวลาที่พระอาทิตย์ตก เทพเจ้าองค์นี้จะกลับมาบรรทมในดอกบัว สัญลักษณ์ประจำตัวของพระองค์ จะเป็นนกเบนนู ซึ่งจะเกาะที่ยอดของพีระมิด ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์นั่นเอง
เทพเจ้ารา เปรียบเสมือนเป็นบิดาแห่งมวลมนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ยังสร้างองค์เทพต่าง ๆ ขึ้นมา ได้แก่ ชู เทพเจ้าแห่งสายลม, เตฟนุต เทวีแห่งสายฝน, เกบ เทพแห่งปฐพี, นัต เทวีแห่งท้องฟ้า และฮาปี เทพแห่งแม่น้ำนิลนา หากเทพราจะเดินทางไปที่ใดก็ตาม ใช้เรือสุริยันเป็นยานพาหนะ เพื่อเยี่ยมราษฎรในแคว้น
เรียกได้ว่าเป็นเทพเจ้าที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก หากยามใดที่ไร้แสงของดวงอาทิตย์ ก็จะทำให้วันนั้น เต็มไปด้วยความมืด ไร้แสงสว่าง และจะไม่มีชีตใหม่เกิดขึ้นมาอีกเลย