เฟิร์นข้าหลวง ต้นไม้มงคลแห่งชัยชนะ อิสรภาพ และความซื่อสัตย์

เฟิร์นข้าหลวง

เฟิร์นข้าหลวง (หรือเฟิร์นข้าหลวงหลังลาย) เป็นต้นไม้มงคลที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถเป็นไม้ฟอกอากาศได้ และยังมีความหมายตามความเชื่อของคนไทย มาตั้งแต่อดีตว่า มันไม่ได้เป็นเพียงเป็นต้นไม้ที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังมีความหมายสำคัญสื่อ ในเรื่องของความภูมิฐาน และความซื่อสัตย์ อีกด้วย

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ: เฟิร์นข้าหลวง
ชื่อสามัญ: Bird’s nest fern
ชื่อวิทยาศาสตร์: Asplenium nidus L.
ชื่ออื่น: เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย เฟิร์นรังนก
วงศ์: ASPLENIACEAE
ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนใต้ของออสเตรเลีย รัฐฮาวาย โพลีนีเซีย เกาะคริสต์มาส ประเทศอินเดีย และทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นเฟิร์นข้าหลวง

เฟิร์นข้าหลวง
  • ลักษณะทั่วไป เฟิร์นข้าหลวงเป็นเฟิร์นฟอกอากาศ อิงอาศัยตามต้นไม้ใหญ่ หรือตามหินผาในเขตอบอุ่น ที่มีความชื้นสูง เป็นลักษณะของกาฝาก
  • ลำต้น เป็นเหง้าเกาะติดอยู่กับต้นไม้ที่อิงอาศัย
  • ใบ ของเฟิร์นข้าหลวงมีขนาดใหญ่ สีเขียวอ่อน ยาวประมาณ 50 – 150 ซม. กว้างประมาณ 10 – 20 ซม. ใบรูปขอบขนาน ขอบใบหยักเป็นคลื่น ใบหนา และแข็งเป็นมัน ก้านใบมีสีน้ำตาลเข้ม การเรียงตัวของใบ จะเวียนรอบเหง้า ทำให้ดูคล้ายตะกร้าหรือรังนก ใบที่เกิดใหม่จะอ่อน และเปราะหักได้ง่าย แต่พอเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีความเหนียว และหนามาก
  • กลุ่มของอับสปอร์ออกเป็นลายยาวขวางกับใบ เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลดำ

ที่มา: เฟิร์นข้าหลวง [1]

การขยายพันธุ์ การปลูก และการดูแล

ขยายพันธุ์ แยกกอ เพาะโดยใช้สปอร์

  • ดินที่ใช้ปลูกควรเป็น ดินร่วนผสมทรายหยาบ ในอัตราส่วน 1:1
  • ในพื้นที่ที่ไม่มีความชื้นมากนัก ควรปลูกในกระถางดินเผา เพราะสามารถอุ้มน้ำได้ดีกว่า
  • การให้น้ำในช่วงที่มีอากาศร้อน อาจให้น้ำอย่างน้อยวันละครั้ง แต่ช่วงที่อากาศชื้นสูง ควรเว้นระยะการให้น้ำเป็น 2 – 3 วัน/ครั้ง
  • ควรปลูกต้นเฟิร์นข้าหลวง ในบริเวณที่มีร่มเงา และแสงแดดรำไร
  • ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะต้นไม้ชนิดนี้ ค่อนข้างชอบความชื้นสูง
  • ใส่ปุ๋ยคอก 1 ครั้ง/เดือน
  • หากมีใบที่เน่า ควรตัดใบที่เน่า หรือตายออกทันที

ที่มา: วิธีปลูก อยากปลูกเฟิร์นข้าหลวงต้องทำอย่างไร และดูแลยังไง [2]

วิธีการเพาะ เฟิร์นข้าหลวงด้วยสปอร์

  • เลือกต้นเฟิร์นข้าหลวงที่มีสปอร์ติดอยู่ที่หลังใบ ส่วนใหญ่นั้นจะมีสปอร์กับต้นแก่อายุ 7 – 10 ปี
  • ใช้ใบไม้หรือกิ่งไม้ ขูดเอาสปอร์ที่หลังใบออก เราจะได้สปอร์เป็นขุย ๆ ออกมา จากนั้นให้เอาสปอร์ที่ขูดได้ใส่ลงไปภาชนะมีฝาปิด ที่มีก้อนถ่านรองพื้นไว้
  • เอาภาชนะเหล่านั้นไปวางไว้บนกระถางต้นไม้อื่น ๆ ให้โดนแสงแดดรำไร โดยไม่ต้องปิดฝาให้สนิท
  • รดน้ำต้นไม้อื่น ๆ ตามปกติ และรอสปอร์เติบโตเป็นต้นอ่อน

วิธีปลูก เฟิร์นข้าหลวงจากต้นอ่อน

  • นำกาบมะพร้าว และขุยมะพร้าวไปแช่น้ำไว้หลายๆ วัน จนเปื่อยนิ่ม จากนั้นให้ใช้ที่คีบ คีบเอาต้นอ่อนที่เพาะไว้อ
  • ใช้มีดกรีดกาบมะพร้าวที่แช่น้ำจนนิ่มแล้วให้เป็นร่อง แล้วยัดรากฝอยของต้นเฟิร์นลงไป แล้วจัดให้กาบมะพร้าวปิดรากสนิทดี
  • เตรียมกระถางสำหรับปลูก โดยใส่ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำจนนิ่มแล้วรองพื้นไว้ แล้วใช้นิ้วกดให้เป็นรูตรงกลาง ยัดกาบมะพร้าวที่ใส่ต้นอ่อนไว้แล้วลงไป ถมหน้าด้วยขุยมะพร้าวให้แน่น เสร็จขั้นตอน

เฟิร์นข้าหลวง ต้นไม้มงคลปลูกหน้าบ้าน สื่อความหมาย

เฟิร์นข้าหลวง เป็นต้นไม้มงคล ที่มีความหมายมงคล ช่วยเสริมเรื่องชื่อเสียง บารมี เสริมความภูมิฐาน เกียรติยศให้กับครอบครัว และยังเปรียบได้ว่า เป็นตัวแทนแห่งความซื่อสัตย์ ยุติธรรม คอยเตือนสติให้ผู้ปลูกทำแต่ความดี และ ยังเป็นการเตือนใจด้วยว่า ถึงแม้จะเป็นข้าหลวง เมื่อทำผิดก็หลังลายได้เช่นกัน [3] 

ตำแหน่งที่เหมาะกับการปลูกคือ ปลูกหน้าบ้าน ประดับตามสวน หรือ ปลูกในบ้าน ใส่กระถางไว้ก็ได้ คนไทยเชื่อว่าปลูกต้นเฟิร์นข้าหลวงในบ้าน จะช่วยเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตได้ดี

สรรพคุณทางยาสมุนไพร เฟิร์นข้าหลวง

ต้นเฟิร์นข้าหลวง มีสรรพคุณทางยาสมุนไพร โดยนำทั้งต้น ที่มีรสขมมาต้มดื่ม

  • ขับปัสสาวะ, ขับลม, ขับระดู ดับกลิ่นคาว
  • แก้ปัสสาวะเป็นเลือด, บิดมูกเลือด
  • ขับเสมหะ, แก้ไอ
  • ฟอกโลหิต
  • ขจัดรังแค
  • แก้ลมหน้ามืด, แก้วิงเวียน
  • บำรุงหัวใจ

ประโยชน์ของเฟิร์นข้าหลวง

  • ใช้ประดับตกแต่งสวน และอาคาร
  • ช่วยฟอกอากาศให้สดชื่น
  • ปลูกเพื่อความเชื่อ เป็นไม้มงคล ช่วยเสริมเรื่อง ชื่อเสียง ความภูมิฐาน และความซื่อสัตย์
  • ใช้เป็นพวงมาลัยสวมศีรษะ หรือประดับบนอินทรธนูข้าราชการ

สรุป เฟิร์นข้าหลวง สวย และมีประโยชน์

เฟิร์นข้าหลวง

สรุป ต้นเฟิร์นข้าหลวง ต้นไม้มงคลชนิดนี้ มีคุณประโยชน์ในการช่วยฟอกอากาศ รวมไปถึงฝุ่นจากภายนอก แถมยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นภายในบ้านให้เย็นสบาย ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมคนไทยจึงนิยมปลูกกันเยอะ นอกจากความสวยงามแล้วยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย เรียกว่า สวยครบจบในต้นเดียวจริงๆ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
224