โคเอนไซม์คิวเทน เป็นสารอาหารที่ได้รับความสนใจมาก ในแวดวงสุขภาพ เนื่องจากเป็นสารที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง และมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ นอกจากนี้ โคคิวเทนยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลาย ในผู้ที่มีอายุเพิ่มขึ้น ระดับโคคิวเทนในร่างกายอาจลดลง
โคคิวเทนเป็นสารอาหาร ที่ร่างกายสามารถผลิตได้เอง ตามธรรมชาติ พบในไมโทคอนเดรีย ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ และโคคิวเทนยังสามารถพบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย โดยเฉพาะในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง อย่างหัวใจ ตับ และไต
โคคิวเทนมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยปกป้องสมอง หัวใจ และกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม ปริมาณโคคิวเทนในร่างกายจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้หลายคนสนใจ ที่จะเสริมโคคิวเทน ผ่านการรับประทานอาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์เสริมต่างๆ
การทานโคเอนไซม์คิวเทนร่วมกับ ไนอะซิน จะช่วยเสริมสุขภาพหัวใจ โดยโคเอนไซม์คิวเทนเพิ่มพลังงานให้กับเซลล์หัวใจ ขณะที่ไนอะซินช่วยปรับสมดุลไขมันในเลือด ทั้งสองมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
ที่มา: CoQ10 Benefits [1]
ยาสแตตินเป็นยาลดระดับ LDL คอเลสเตอรอล แต่การใช้ยาสแตติน อาจลดระดับโคคิวเทนในร่างกาย จึงมีแนวคิดว่า คนที่ใช้ยานี้ ควรรับประทานโคคิวเทนเพิ่มเติม เพื่อป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม สมาคมโรคหัวใจอเมริกัน ระบุว่าหลักฐานจากการทดลองแบบสุ่ม และควบคุมคู่ ไม่ได้สนับสนุนแนวคิดนี้
การศึกษาที่ชัดเจนที่สุดในปี 2015 แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความแตกต่าง ในอาการปวดกล้ามเนื้อ ความแข็งแรง หรือความสามารถทางแอโรบิค ระหว่างกลุ่มผู้ใช้โคคิวเทน กับกลุ่มยาหลอก [2]
การกำหนดปริมาณ การใช้โคคิวเทนที่แน่นอน ยังไม่มีมาตรฐาน เนื่องจากขึ้นอยู่กับอายุ สภาวะสุขภาพ และวัตถุประสงค์ในการใช้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยหลายชิ้น ใช้โคคิวเทนในปริมาณตั้งแต่ 100-1,200 Mg. ต่อวันโดยปริมาณที่พบบ่อย อยู่ระหว่าง 100-600 มิลลิกรัม
ในกรณีที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ จากการใช้ยากลุ่มสแตติน มักจะใช้ที่ 30-200 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน มักจะอยู่ที่ 100 Mg. ต่อวัน สำหรับการป้องกันไมเกรน อาจต้องใช้ในปริมาณที่สูงถึง 400-600 มิลลิกรัมต่อวัน [3]
โคคิวเทนมี 2 รูปแบบหลัก คือยูบิควิโนน (Ubiquinone) และยูบิควินอล (Ubiquinol) โดยยูบิควินอลเป็นรูปแบบที่ร่างกายสามารถใช้ได้ทันที แต่มีราคาสูงกว่าเล็กน้อย ร่างกายของคนที่สุขภาพดี สามารถเปลี่ยนยูบิควิโนนให้เป็นยูบิควินอล ได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 95% ดังนั้น
หากคุณมีอายุต่ำกว่า 40 ปีและสุขภาพแข็งแรง ยูบิควิโนนก็เพียงพอ แต่หากอายุมากกว่า 40 ปี การเปลี่ยนเป็นยูบิควินอลอาจมีประสิทธิภาพดีกว่า
โดยทั่วไป โคคิวเทนมีความปลอดภัยสูง และมักไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง อย่างไรก็ตาม ในบางรายที่ใช้ปริมาณสูง อาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งมักเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นชั่วคราว ผู้ที่ใช้ในปริมาณเฉลี่ย 120 มก. ต่อวัน มักไม่พบผลข้างเคียงเหล่านี้
ข้อแนะนำ วิธีการรับประทานโคคิวเทนที่ดีที่สุด โคคิวเทนเป็นสารอาหารที่ละลายในไขมัน จึงควรรับประทานพร้อมอาหารที่มีไขมัน เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดี
โคคิวเทนมีบทบาทสำคัญ ต่อการทำงานของเซลล์และสุขภาพโดยรวม โดยเฉพาะในด้านการผลิตพลังงาน และการต้านอนุมูลอิสระ การรับประทานโคคิวเทน มีประโยชน์ในผู้ที่ต้องการบำรุงหัวใจ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดอาการไมเกรน อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้โคคิวเทน ควรพิจารณาปริมาณที่เหมาะสม