HR Metric สำหรับองค์กรที่มีพนักงานจำนวนมาก จำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในองค์กร เพื่อให้การใช้งานบุคลากรได้อย่างตรงจุด เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและตรงเป้าหมายมุ่งผลเพื่อให้องค์กรพัฒนาได้เร็วที่สุด
HR Metric ก้อเปรียบเหมือนตัวชี้วัดประสิทธิภาพของคนในองค์กร โดยการนำข้อมูลพนักงานมาวิเคราะห์ เพื่อชี้วัดว่าประสิทธิภาพในการทำเงินต่อจำนวนของพนักงานว่าสอดคล้องกันหรือไม่ เช่น ค่า ARPE (Average Revenue Per Employee) [1]
HR Metric สามารถนำมาใช้เดี่ยวๆ เพื่อวัดบางแง่มุม หรือตีความร่วมกับสิ่งอื่นๆ เพื่อหาความเชื่อมโยงของปัญหา จนสามารถทำให้ Recruiting Metric มีบทบาทจาการตั้งรับไปช่วยองค์กรเชิงรุกในรูปแบบของ Business Partner มากขึ้น [2]
HR เป็นแผนกที่มีข้อมูลพนักงานในองค์กร และถ้าหาก HR ทำ Insight จากข้อมูลจำนวนมหาศาล แล้วจนสามารถสร้างเป็น HR Metric ได้ ก็จะสามารถแก้ปัญหาด้านบุคลากรได้อย่างตรงจุด หรือเหมือนใช้คนให้ตรงกับความสามารถ จึงจะได้ผลดีและสามารถทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว [3]
ตัวชี้วัดทรัพยากรด้านบุคคล มีอะไรบ้างที่ควรพิจารณาเมื่อใช้วิธีการ จัดการกับผู้มีความสามารถ เปรียบเหมือนกับดวงตาขององค์กร ที่มองหาข้อมูล ละการเปรียบเทียบชี้วัดข้อมูล ทั้งภายนอกและภายใน เพื่อให้ธุรกิจดำเนินได้ดีขึ้น
วิธีการคำนวณต่างๆ ดูได้ตามสูตรด้านบนนี้
รายละเอียดวิธีการคำนวณค่าต่างๆ ของ HR Metric ทั้งหมดสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Forbes
HR Metric ที่มีข้อมูลความถูกต้องนั้น สามารถนำมาพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จว่าจะ ประสบความสำเร็จได้มากเพียงใด สิ่งสำคัญคือการนำข้อมูลที่มีอยู่ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์กร โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถช่วยให้เราปรับปรุงหรือแก้ไขให้ดีขึ้นได้