Piccolo เบบี้ฟลุต ถึงขนาดจะเล็กแต่มีเสียงที่ทรงพลัง

Piccolo

Piccolo อาวุธสังหารขนาดเล็ก ทางด้านดนตรี แม้ว่าขนาดเครื่องจะจิ๋ว แต่เสียงของ ปิคโคโล นั้นสุดแสน จะทรงพลังเหนือคำบรรยาย ด้วยเสียงที่โดดเด่น เครื่องดนตรีชนิดนี้ จึงได้รับการตอบรับ ที่ดีอย่างมาก และเครื่องดนตรีชนิดนี้ จะมีความเป็นมาอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลย

Piccolo เครื่องดนตรีจิ๋วแต่แจ๋ว

Piccolo

Piccolo เครื่องดนตรีที่มีเสียงสูง ให้ความรู้สึกราวกับว่า เรากำลังโบยบิน อยู่บนท้องฟ้า คำว่า ปิคโคโล มาจากภาษา อิตาเลียน ที่แปลว่า เล็ก, จิ๋ว (tiny) มักจะเรียกชื่อเต็ม ๆ ว่า Flauto Piccolo หรือ ฟลุตที่มีขนาดเล็ก [1] ลักษณะภายนอกของปิคโคโลนั้น จะคล้ายกับ ฟลุต แต่ตัวเครื่องจะสั้นกว่าหลายเท่า

อีกทั้งเสียงยังสูงกว่า 1 ช่วงเสียง เสียงที่ได้จากปิคโคโล จึงเล็กแหลมและใสมาก เป็นเครื่องดนตรีที่เน้นการเล่นไปทางเสียงกลางถึงสูงมาก และเสียงต่ำของปิคโคโลนั้นจะยากและเบามากจึงไม่ค่อยนิยม

เครื่องดนตรีชนิดนี้ ได้นำเข้ามาใช้ครั้งแรกโดย ฌอง ฟิลิปป์ ราโม ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18 จนต่อมา “flautino” หรือ “flauto piccolo” ก็เริ่มได้รับความแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะในวงออร์เคสตรา และมีการนำไปใช้ ในวงดนตรีชนิดอื่นบ้างประปราย

ตำนานของการใช้ Piccolo

ผลงานชิ้นแรก ของการมาของปิคโคโล คือ Symphony No. 5 in C Minor ของ Ludwig van Beethoven (ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน) โดยเปิดตัวครั้งแรก ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2351 และ นอกจากนี้ Wolfgang Amadeus Mozart (โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ท) ยังใช้ปิคโคโล ในการแสดงโอเปร่าของเขาด้วย

พัฒนาการของ Piccolo

Piccolo

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จะนิยมผลิตขึ้นในคีย์ D♭ แต่ปัจจุบันได้พัฒนา และผลิตเป็นคีย์ C เป็นหลักแล้ว ในส่วนของวัสดุนั้น ในสมัยก่อน จะมีทั้งทำจาก ไม้ งาช้าง แม้กระทั่ง แก้ว ก็มีมาแล้ว แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้น

จะผลิตมาจาก เรซิน, พลาสติก, ทองเหลือง, เงิน, นิกเกิลเงิน, และไม้เนื้อแข็งบางชนิดด้วย รวมถึงการปรับกลไก การวางนิ้วให้เล่นง่ายขึ้น และมีกระบอกตรงลำตัวทรงกรวย ทั้งตัวเครื่องสามารถแยก ออกมาได้เป็นสองชิ้น คือส่วนหัว และลำตัวของเครื่องเท่านั้น

สรุป Piccolo

ปิคโคโลนั้น ถือเป็นเครื่องดนตรีเอก ที่ได้รับการบรรเลง เป็นโน้ตตัวหลัก และโดดเด่นกว่าใคร ในวงดนตรีไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม นั่นก็เพราะความเป็นเอกลักษณ์ของเสียง ที่เล็กแหลมและใสกังวาน จนไม่มีใครกลบลงได้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง