Walnut สมบัติจากธรรมชาติที่มากด้วยประโยชน์

Walnut

Walnut หรือวอลนัท มีความเป็นเอกลักษณ์ ไม่เพียงแค่ให้รสชาติที่เข้มข้น และเนื้อสัมผัสที่กรุบกรอบอร่อยเท่านั้น แต่วอลนัท ยังมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย วอลนัทถือเป็นเมล็ดจากผลไม้ ของต้นวอลนัท ในทางพฤกษศาสตร์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นถั่ว แต่มีลักษณะการใช้งาน และคุณค่าทางโภชนาการที่คล้ายคลึงกับถั่ว

Walnut ประวัติและที่มาต้นกำเนิดในเอเชียกลาง

Walnut มีต้นกำเนิดในเอเชียกลาง และยุโรป และมีการปลูกมานาน หลายพันปี วอลนัทถูกเพาะปลูก และใช้งาน โดยอารยธรรมโบราณหลายแห่ง รวมถึงชาวเปอร์เซีย โรมัน และกรีก ที่มองเห็นคุณค่า ทั้งในด้านการบริโภค และการใช้งาน ในการทำเฟอร์นิเจอร์ หรือการใช้งานอื่นๆ

Walnut ประโยชน์ แร่ธาตุวิตามินที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ

Walnut มีกรดไขมัน ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ และสมอง นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุเช่น วิตามิน และไฟเบอร์ ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และช่วยให้ระบบย่อยอาหาร ทำงานได้ดีขึ้น วอลนัท 100 grams ให้ 654 kcal และมีสารอาหารต่างๆ ดังนี้

  • Calcium 10%98 mg.
  • Carbohydrates 13.71 g.
  • Dietary fiber 6.7 g.
  • Fat 65.21 g.
  • Folate (B9) 25% 98 microgram
  • Iron 22% 2.91 mg.
  • Magnesium 45% 158 mg.
  • Manganese 163% 3.414 mg.
  • Monounsaturated 8.933 g.
  • Niacin (B3) 7% 1.125 mg.
  • Omega 3 9 g.
  • Omega 6 38 g.
  • Pantothenic acid (B5) 11% 0.570 mg.
  • Phosphorus 49% 346 mg.
  • Polyunsaturated 47.174 g.
  • Potassium 15% 441 mg.
  • Protein 15.23 g.
  • Riboflavin (B2) 13%0.15 mg.
  • Saturated 6.126 g.
  • Sodium 2 mg.
  • Starch 0.06 g.
  • Sugars 2.61 g.
  • Thiamine (B1) 30% 0.341 mg.
  • Vitamin A 20 IU
  • Vitamin B6 41% 0.537 mg.
  • Vitamin C 2% 1.3 mg.
  • Vitamin E5% 0.7 mg.
  • Vitamin K3% 2.7 microgram
  • Zinc 33% 3.09 mg.

ที่มา : Walnut [1]

Walnut รสชาติและเนื้อสัมผัสกรุบกรอบที่มีเอกลักษณ์

วอลนัทมีรสชาติที่เข้มข้น มันและหวานนิดๆ มีเนื้อสัมผัสที่กรุบกรอบ สามารถทานสดหรือนำไปอบ ก็จะมีกลิ่นหอมขึ้น วอลนัทสามารถเพิ่มมิติใหม่ ให้กับเมนูอาหาร และขนมหลายชนิด วอลนัทสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้า หรือทางออนไลน์ มีราคาประมาณ 155 บาท ต่อ 150 กรัม [2]

Walnut เมนูที่นิยม ส่วนประกอบของอาหารเพื่อสุขภาพ

วอลนัท สามารถนำมาทาน ได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การทานเล่น ไปจนถึงการใช้เป็นส่วนผสม ในอาหารและขนม เช่น ใส่ในเค้ก พาย หรือใช้เป็นส่วนผสมในสลัด วอลนัทยังสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่ง ของอาหารเช้า เช่นโรยใน Yogurt หรือ Oatmeal นอกจากนี้ ยังมักนำไปอบกรอบ ซึ่งเป็นที่นิยมในหลายวัฒนธรรม

Walnut ข้อแนะนำ และข้อควรระวังเรื่องความชื้น

ในการเก็บรักษาวอลนัท ควรเก็บในที่เย็น และแห้ง เพื่อป้องกันการเกิดความชื้น เชื้อรา และการเสื่อมสภาพของน้ำมัน ภายในเมล็ด ซึ่งอาจนำไปสู่รสชาติ ที่ไม่พึงประสงค์ หรือเกิดกลิ่นเหม็น นอกจากนี้ ควรระมัดระวัง ในผู้ที่มีปัญหาการแพ้ถั่ว อาจจะแพ้วอลนัทได้ [3]

สรุป Walnut แหล่ง Omega 3 คุณค่าทางโภชนาการสูง

Walnut

Walnut เป็นแหล่งของ Omega 3 และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนาน ด้วยรสชาติที่หวาน และเนื้อสัมผัสที่น่าสนใจ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

378