ต้นประดู่ ต้นไม้มงคล ทางพระพุทธศาสนา เสริมสร้างบารมี

ต้นประดู่

ต้นประดู่ เป็นพันธุ์ไม้ที่อยู่คู่กับประเทศไทยมานาน หลายๆ คนคงเคยเห็น และรู้จักกันดี เพราะต้นไม้ชนิดนี้มักจะปลูกกันทั่วไป ในทุกพื้นที่ พบเห็นได้ตามสถานที่ราชการ โรงเรียน สวนสาธารณะ เป็นอีกหนึ่งพันธุ์ต้นไม้มงคลที่ควรรู้จัก

ข้อมูลทั่วไป ต้นประดู่

ชื่อ : ประดู่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus Willd.
ชื่อสามัญ : Burma Padauk
ชื่อภาษาอังกฤษอื่น ๆ : Angsana Norra, Malay Padauk, Andaman Redwood, Burmese Rosewood, Indian rosewood
ชื่อไทยและท้องถิ่น : ประดู่, สะโน (มาเลย์-นราธิวาส), ประดู่บ้าน ประดู่ลาย ประดู่กิ่งอ่อน อังสนา (ภาคกลาง), ดู่บ้าน (ภาคเหนือ) เป็นต้น
วงศ์ : Leguminosae (วงศ์ถั่ว)
ถิ่นกำเนิด : จากประเทศมาเลเซีย ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบอันดามัน เบงกอล
ต้นไม้มงคล : ประจำกองทัพไทย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ชลบุรี, จังหวัดระยอง, จังหวัดอุตรดิตถ์
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ภูเก็ต

ที่มา : รู้จักกับต้นประดู่ [1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นประดู่

ต้นประดู่

ลำต้น : ประดู่ เป็นไม้ยืนต้นสูงตั้งแต่ 10 – 25 เมตรโดยประมาณ เขาจะแตกกิ่งก้านสาขา ออกเป็นทรงพุ่มค่อนข้างกว้าง ปลายกิ่งห้อยลง เปลือกต้นหนาและหยาบ แตกออกเป็นร่อง มีสีน้ำตาลอมเทา
ใบ : ต้นประดู่เป็นไม้ผลัดใบ ใบจะเป็นแบบใบประกอบขนนก ออกใบเป็นช่อ และในแต่ละช่อจะมีทั้งสิ้น 7 – 13 ใบ ลักษณะใบรูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา มีสีเขียว
ดอก : ดอกประดู่มีสีเหลือง ส่งกลิ่นหอม และผลิบานในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม มักออกเป็นช่อบริเวณซอกใบ และปลายกิ่ง ดอกย่อยจะมีลักษณะ คล้ายคลึงกับดอกถั่ว ลักษณะโคนกลีบเลี้ยง เป็นกรวยโค้ง มี 5 กลีบดอก ดอกที่ใกล้โรยราจะมีสีเหลืองอมน้ำตาล ส่งกลิ่นหอมไกล
ผล : มีขนเล็กๆปกคลุม ขนาดผลโตประมาณ 4-6 เซนติเมตร

การขยายพั