ต้นไม้ฟอกอากาศ ติดเทรนด์นิยมปลูกไว้ในบ้าน

ต้นไม้ฟอกอากาศ

ต้นไม้ฟอกอากาศ เป็นต้นไม้ที่มีความน่าสนใจมาก และกำลังติดเทรนด์เป็นที่นิยมปลูกไว้ในบ้าน ไม่เพียงแต่ความสวยงาม ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เฉพาะของต้นไม้แต่ละชนิดเท่านั้น แต่ยังมีคุณค่าในการฟอกอากาศ และช่วยลดสารพิษในบริเวณพื้นที่ให้สะอาด บริสุทธิ์ได้อีกด้วย

ต้นไม้ฟอกอากาศ เป็นอย่างไร

ต้นไม้ฟอกอากาศ คือ ไม้ดอก หรือไม้ประดับ ที่กำลังได้รับกระแสนิยมปลูกในบ้าน และรอบๆ ที่อยู่อาศัยเพื่อพึ่งพากระบวนการตรึงสารพิษในอากาศของต้นไม้ ช่วยทำให้ได้อากาศที่บริสุทธิ์ขึ้น

กระบวนการตรึงสารพิษของต้นไม้ เป็นวัฏจักรของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ต้นไม้ทุกต้นไม่ได้ดูดซับสารเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด และในช่วงเวลา 1 วัน ก็จะมีกระบวนการดูด และคายก๊าซแตกต่างกัน [1] 

สารพิษชนิดใดบ้าง ที่พืชบางชนิดสามารถกรองได้

นาซา (National Aeronautics and Space Administration : NASA) ค้นพบว่าสารพิษที่พืชบางชนิดสามารถกรองได้ มีดังต่อไปนี้

  • สไตรีน (Styrene) พบได้ในฉนวนสายไฟ แผ่นรองพรม และถ้วยน้ำดื่ม
  • คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon monoxide) พบได้จากเครื่องจักร หรือเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมัน [2]
  • แอมโมเนีย (Toluene) มีอยู่ใน น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป
  • โทลูอีน (Toluene) ส่วนผสมอยู่ใน น้ำยาขจัดคราบสี คราบน้ำมัน ทินเนอร์
  • ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) พบได้จากกระดาษ
  • ไตรคลอโรเอทิลีน (Trichloroethylene) มีอยู่ในหมึกพิมพ์ และสารเคลือบเงา
  • เบนซิน (Benzene) พบได้จากหมึกพิมพ์ ผงซักฟอก สารชะล้างต่างๆ [3]

สิ่งที่ควรคำนึง หากจะวาง ไม้ฟอกอากาศในห้อง

ต้นไม้ฟอกอากาศ

ต้นไม้แต่ละชนิด แต่ละพันธุ์นั้น ชอบอากาศ และแสงแดดไม่เหมือนกัน ขั้นตอนในการฟอกอากาศนั้นก็แตกต่างกันไป บางชนิดนั้นดูดซึมผ่านรากหลัก บางชนิดอาจผ่านจากใบ ดังนั้นควรเข้าใจในธรรมชาติของพันธุ์ไม้ที่จะปลูก ควรศึกษาให้ดี

หากจะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องอื่นๆ ในบ้านนั้น ควรเลือกขนาดกระถาง ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และการยก เพราะการปลูกในห้องนั้น ควรมีการขนย้าย เพื่อให้ต้นไม้ได้ออกไปรับแดดได้บ้าง

แนะนำ ต้นไม้ฟอกอากาศ น่าปลูกในบ้าน

ต้นไม้ฟอกอากาศ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ชนิดที่ปลูกแล้วดี ติดเทรนด์นิยม ปลูกเป็นไม้ประดับแต่งบ้านที่สวยงาม น่ามอง รวมถึงไม้มงคลชนิดใด ที่ความหมายดี ปลูกแล้วเป็นสิริมงคล ที่มีคุณสมบัติเป็นไม้ฟอกอากาศ ดูดสารพิษที่ลอยปะปนในอากาศ เราได้คัดมาให้แล้ว ดูว่าจะมีต้นไม้ชนิดไหนถูกใจกันบ้าง

ต้นไม้ติดเทรนด์ยอดนิยม มีคุณสมบัติ ช่วยฟอกอากาศ

สามารถคลิก เพื่ออ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

  • พลูด่าง ปลูกและดูแลง่าย เหมาะสำหรับคนไม่ค่อยมีเวลา ปลูกเป็นไม้ฟอกอากาศ ช่วยดูดซับสารพิษในอากาศ และฝุ่นละอองด้วย
  • เสน่ห์จันทร์แดง เป็นไม้ฟอกอากาศ สามารถปลูกลงกระถาง ตั้งประดับ เพื่อดูดสารพิษ ในห้องหรืออาคารได้ดี
  • เศรษฐีเรือนใน ว่านมงคลปลูกแล้วดี เลี้ยงง่าย ฟอกอากาศ และยังสามารถช่วยกรองสารพิษ ช่วยให้อากาศในบ้านบริสุทธิ์
  • เฟิร์นบอสตัน ฟอร์มที่สวยงาม เหมาะจะนำมาตกแต่งประดับภายในบ้าน ช่วยฟอกอากาศ กรองฝุ่นละออง และช่วยฟอกสารพิษในอากาศ
  • ไอวี่ อังกฤษ หรือที่คนไทยเรียกว่า ต้นตีนตุ๊กแกฝรั่ง ช่วยดูดซับสารฟอร์มาลดีไฮด์ รวมทั้งช่วยลดเชื้อรา ในอากาศได้เป็นอย่างดี
  • เยอบีร่า ช่วยฟอกอากาศได้ดี ช่วยดูดซับสารเคมี โดยเฉพาะไตรคลอโรเอทิลีน เบนซีน ฟอร์มัลดีไฮด์ ได้มากกว่า เมื่อเทียบกับพืชพันธุ์ไม้ชนิดอื่น ๆ
  • เงินไหลมา ไม้มงคล เป็นไม้ประดับ ที่ช่วยฟอกอากาศ มีความชื้นสูง ดูดซับมลภาวะ สารพิษปนเปื้อนในอากาศได้ดี
  • เขียวหมื่นปี ไม้มงคล ช่วยฟอกอากาศ เติมออกซิเจนให้กับห้องนอน มีอัตราการคายความชื้นสูง และมีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวก ฟอร์มัลดีไฮด์
  • จั๋ง สามารถช่วยดูดสารพิษ สารเคมีต่างๆ ที่ตกค้างในอากาศ ต้นจั๋งจะคายความชุ่มชื้น ช่วยให้บริเวณพื้นที่มีอากาศสะอาดบริสุทธิ์
  • วาสนาราชินี ไม้มงคล สามารถดูดสารพิษในอากาศได้อย่างดี ช่วยเพิ่มออกซิเจน และช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์

ข้อควรระวัง คนที่เป็นภูมิแพ้ กับ ต้นไม้ฟอกอากาศ

ก่อนอื่นต้องขอแนะนำก่อนว่า ใครที่เป็นภูมิแพ้ไม่ควรวางต้นไม้ ไว้ในห้องนอนตลอดเวลา เพราะวัสดุที่ใช้ปลูกนั้น มีส่วนประกอบของดิน และน้ำ อาจกลายเป็นศูนย์รวมความชื้น และจุลินทรีย์ ขณะที่เราอยู่ในห้องหากเปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ ก็อาจจะทำให้วัสดุที่ปลูกนั้นฟุ้งกระจายในอากาศ เกิดเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้ได้

สรุป ต้นไม้ฟอกอากาศ ควรมีปลูกไว้ในบ้าน

ต้นไม้ฟอกอากาศ

สรุป ต้นไม้ฟอกอากาศ แต่ละชนิดมีความสวยงาม น่าปลูก และมีคุณสมบัติช่วยลดพิษ ลดฝุ่นได้ดีทั้งนั้น ควรมีปลูกไว้ในบ้าน เพื่อเพิ่มความสดชื่น เพิ่มก๊าซออกซิเจนภายในบ้าน ให้อากาศภายในบ้าน มีความสดชื่น บริสุทธิ์ ถูกใจต้นไหนก็ลองหามาปลูกกันนะคะ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

126