ทองหลาง ต้นไม้มงคล สัญลักษณ์แห่งความร่ำรวย

ทองหลาง

ทองหลาง เป็นต้นไม้มงคล ที่ปลูกไว้เพื่อความเป็นสิริมงคล บ้านไหนมีต้นทองหลาง จะมีแต่ความร่ำรวย และเชื่อกันว่า หากผู้ใดได้กลิ่นของต้นทองหลาง ผู้นั้นจะสามารถระลึกชาติได้ แต่ที่เป็นมากกว่าความเชื่อ คือสรรพคุณทางยาสมุนไพร ที่ช่วยรักษา แก้อาการโรค ได้หลายอย่าง มาทำความรู้จักกับต้นทองหลางกัน

ข้อมูลทั่วไปของ ทองหลาง

ชื่อ: ทองหลาง
ชื่อภาษาอังกฤษ: Indian Coral Tree หรือ Variegated coral tree หรือ Variegated Tiger’s Claw
ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrina variegate Linn.
วงศ์: Fabaceae
สายพันธุ์ต้นทองหลาง: ทองหลางลาย, ทองหลางกินใบ, ทองหลางป่า, ทองหลางใบมน
แหล่งอาศัย: ทั่วไปทางภาคเหนือ มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าผลัดใบ รวมถึงมีปลูกไว้ตามบ้าน และหัวไร่ปลายนา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นทองหลาง

ทองหลาง

ทองหลาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 5 – 15 เมตร

  • ลำต้น มีลักษณะตั้งตรง เปลือกต้นหนาเป็นร่องลึก ตามกิ่ง และก้านมีหนามแหลมคมเล็ก ๆ ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป
  • ใบ ใบเป็นใบที่ออกเป็นช่อ ในแต่ละก้านใบ จะมีประมาณ 3 ใบ มีลักษณะรูปร่างที่มน บริเวณปลายใบจะแหลมยาวคล้ายกับใบโพธิ์ ใบมีความกว้างประมาณ 2 – 4 นิ้ว ยาวประมาณ 2 – 5 นิ้ว บริเวณหลังใบ จะเป็นสีด่างเหลืองอมเขียว
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อแน่นที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีแดงเลือดนก มีลักษณะคล้ายดอกแค ออกดอกช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์
  • ผล ผลมีลักษณะเป็นฝักแคบ มีลักษณะแบน โคนฝักจะเล็กลีบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายฝักจะบวม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 2-4 เมล็ด พอฝักแก่เต็มที่ ปลายฝักจะแตกอ้าออก ภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยม

ที่มา: ลักษณะของทองหลาง [1] 

การขยายพันธุ์ การปลูก และการดูแล

ขยายพันธุ์: โดยเมล็ด นำเมล็ดมาเพาะปลูก และปักชำกิ่งเป็นหลัก ขยายพันธุ์ได้ง่าย
ในปัจจุบัน ต้นทองหลางจะร่วงด้วยตนเอง เมื่อมีอายุแก่ขึ้น หากร่วงในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ก็จะสามารถเกิดต้นใหม่ได้ แต่ถ้าหากตกลงในแม่น้ำลำคลอง พวกเมล็ดเหล่