ผลเสีย โครเมียม มากไปไม่ดี ข้อควรระวังที่ต้องรู้

ผลเสีย โครเมียม

ผลเสีย โครเมียม อาจไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ในกลุ่มผู้บริโภคอาหารเสริมทั่วไป เนื่องจากสารอาหารชนิดนี้ มักได้รับการยกย่อง ในด้านประโยชน์ ที่ช่วยในการควบคุมน้ำตาลในเลือดและเผาผลาญพลังงาน แต่ในขณะเดียวกัน การบริโภคโครเมียม ในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นกัน

ผลเสีย โครเมียม จากการทานเสริมมากเกิน

การบริโภคโครเมียม ในปริมาณที่เหมาะสม มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยผลเสียจากการได้รับโครเมียมมากเกินไป มีดังนี้

  • ผลเสียโครเมียมต่อระบบประสาท: การได้รับโครเมียมในปริมาณสูงมาก อาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ วิตกกังวล หรืออารมณ์แปรปรวน
  • ระบบย่อยอาหาร: ผลข้างเคียงที่พบบ่อย เมื่อได้รับโครเมียมมากเกินไป คืออาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ เช่นท้องเสีย หรือท้องผูกได้เช่นเดียวกับ ผลเสีย ฟลูออไรด์ เมื่อได้รับปริมาณมากเกินไป
  • ตับและไต: การได้รับโครเมียม ในปริมาณมาก อาจเพิ่มภาระให้ตับและไต ซึ่งทำให้เกิดภาวะทำงานผิดปกติ ในอวัยวะเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาตับหรือไตอยู่แล้ว
  • ระบบภูมิคุ้มกัน: ปริมาณโครเมียมที่สูง อาจกดการทำงาน ของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ต่อการติดเชื้อ หรืออาการแพ้
  • พิษต่อร่างกาย: การสะสมของโครเมียม ในระดับที่เกินกว่าร่างกาย จะกำจัดออกได้ อาจทำให้เกิดพิษ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม รวมถึงการอักเสบในเนื้อเยื่อ

โครเมียมคือสารอะไร

โครเมียม (Chromium) เป็นธาตุเคมี ที่มีสัญลักษณ์ Cr และเลขอะตอม 24 จัดอยู่ในกลุ่ม transition metals มีลักษณะเป็นโลหะ สีเงินมันวาว แข็ง แต่เปราะ โครเมียมถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1797 โดยนักเคมี Louis Nicolas Vauquelin ชาวฝรั่งเศส โครเมียมมีสถานะออกซิเดชัน หลายระดับ โดยมี 2 รูปแบบที่สำคัญ ได้แก่

Trivalent chromium เป็นแร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทสำคัญ ในการเผาผลาญน้ำตาล และไขมัน ช่วยกระตุ้นการทำงานของอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ร่างกายสามารถรับโครเมียมชนิดนี้ จากอาหารธรรมชาติ หรือในรูปแบบอาหารเสริม ซึ่งมีความปลอดภัย เมื่อใช้ปริมาณที่เหมาะสม

Hexavalent chromium เป็นสารประกอบ ที่มีความเป็นพิษสูง และจัดว่าเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen) พบมากในอุตสาหกรรม เช่นการชุบโลหะ การผลิตสี และการฟอกหนัง สารนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ทางการสูดดม การสัมผัสผิวหนัง หรือการปนเปื้อน เสี่ยงต่อมะเร็ง ส่งผลกระทบ ต่อการทำงานของตับและไต [1]

กินโครเมียมช่วยอะไรบ้าง

  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด: โครเมียมทำงานร่วมกับอินซูลิน ในการเผาผลาญน้ำตาล ช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคเบาหวาน
  • ส่งเสริมการเผาผลาญพลังงาน: โครเมียมช่วยนำโปรตีน ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และมีส่วนช่วย ในการเผาผลาญไขมัน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และลดไขมันสะสม
  • ลดระดับคอเลสเตอรอล: โครเมียมมีส่วนช่วย ลดระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมดในร่างกาย และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)
  • เสริมสร้างการเจริญเติบโต: โครเมียมมีบทบาท ในการเจริญเติบโตของร่างกาย และช่วยป้องกันภาวะอ่อนล้า หมดเรี่ยวแรงอย่างเฉียบพลัน
  • ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง: โครเมียมช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และช่วยลดความดันโลหิต

ที่มา: โครเมียม (Chromium) ประโยชน์ของโครเมียม [2]

 

แหล่งอาหารอะไร ที่มีโครเมียมสูง

ผลเสีย โครเมียม
  • น้ำองุ่น (Grape Juice) ปริมาณโครเมียม: 8 ไมโครกรัมต่อ 1 แก้ว (240 มิลลิลิตร)
  • บรอกโคลีปริมาณโครเมียม: 11 ไมโครกรัมต่อ 1 ถ้วย (91 กรัม)
  • มันฝรั่งบดปริมาณโครเมียม: 3 ไมโครกรัมต่อ 1 ถ้วย (210 กรัม)
  • ขนมปัง Whole Wheat ปริมาณโครเมียม: 4 ไมโครกรัมต่อ 2 แผ่น
  • เนื้อวัวปริมาณโครเมียม: 2 มคก. ต่อปริมาณ 85 กรัม
  • กล้วยปริมาณโครเมียม: 1 มคก. ต่อปริมาณ 1 ลูก (118 กรัม)
  • แอปเปิลปริมาณโครเมียม: 1 Microgram ต่อ 1 ลูกขนาดกลาง (182 กรัม)
  • Brewer’s Yeast ปริมาณโครเมียม: 60 Microgram ต่อ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)

ที่มา: 8 Foods That Are High in Chromium [3]

 

การทานโครเมียมรูปแบบอาหารเสริม

การรับประทานโครเมียม ในรูปแบบอาหารเสริม ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์ และลดความเสี่ยงของผลข้างเคียง โดยมีรายละเอียด ปริมาณที่แนะนำต่อวัน ดังนี้

  • ผู้ใหญ่เพศหญิง: 25 (mcg)
  • ผู้ใหญ่เพศชาย: 35 (mcg)

ปริมาณดังกล่าว ถือเป็นค่าที่เหมาะสม สำหรับคนทั่วไป ที่ต้องการเสริมโครเมียม เพื่อช่วยในการเผาผลาญน้ำตาล และไขมัน รวมถึงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหา เรื่องภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือโรคเบาหวาน

คำแนะนำการก่อนทานโครเมียม

  • ปรึกษาแพทย์ก่อนการบริโภค: ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ก่อนเริ่มรับประทานอาหารเสริมโครเมียม เพื่อประเมินความจำเป็น และปริมาณที่เหมาะสม
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำ: ปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ ที่ระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ อย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงการรับประทานเกินปริมาณที่แนะนำ
  • สังเกตอาการผิดปกติ: หากมีอาการผิดปกติ หลังการรับประทาน เช่นปวดท้อง อาเจียน หรืออาการแพ้ ควรหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ทันที

สรุป ผลเสียโครเมียม ต่อผิว ทางเดินอาหาร ตับและไต

ผลเสียโครเมียมแม้จะเกิดขึ้นได้ไม่บ่อย หากบริโภคอย่างเหมาะสม แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น อาจสร้างความเสียหาย ต่อระบบต่างๆของร่างกาย เช่นระบบทางเดินอาหาร ผิวหนัง และอวัยวะสำคัญอย่างตับและไต เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว การรับประทานโครเมียม ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

48