พีระมิด แห่งกีซา ตำนานความลับยุคโบราณกว่า 5,000 ปี

พีระมิด

พีระมิด สถานที่โบราณที่หลายคนนึกถึง เต็มไปด้วยอารยธรรมความยิ่งใหญ่ เรียกว่าเป็นสิ่งก่อสร้างในตำนานเหนือจินตนาการ อีกหนึ่งในความมหัศจรรย์ ของโลกยุคโบราณ ต้นแบบของสถาปัตยกรรม ทรงสามเหลี่ยม พามาไขความลับแห่งดินแดนอียิปต์

เปิดประวัติ พีระมิด อาณาจักรสุสานฟาโรห์

มหาพีระมิดแห่งกีซา (The Great Pyramid of Giza) กลุ่มสิ่งก่อสร้างทรงสามเหลี่ยม อียิปต์โบราณขนาดใหญ่ [1] ความเก่าแก่ยาวนานกว่า 5,000 ปี มีความเชื่อกันว่าถูกสร้างขึ้น ตั้งแต่สมัยฟาโรห์คูฟู เพื่อเก็บรักษาศพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ เรียกว่าเป็นสุสาน สำหรับรอการฟื้นคืนชีพกลับมา พร้อมกับทรัพย์สินอีกมากมาย

สำหรับจุดเริ่มต้น ของสุสานในยุคแรก ไม่ได้เป็นแบบสามเหลี่ยม อย่างที่เราเห็นกัน โดยจะเป็นแค่การขุดหลุมฝังศพทรงสี่เหลี่ยม หรือเป็นหลุมวงรี จนกระทั่งการสร้างมาเป็นแบบ “มาสตาบา” ทรงสี่เหลี่ยมคางหมู สามารถสร้างห้องเก็บของภายในได้ หลังจากนั้นกลายเป็นต้นแบบ ของการเกิดสุสานขั้นบันไดต่อมา

ไขปริศนาพีระมิด และทฤษฎีการสร้าง

พีระมิด

ตำนานการสร้าง พีระมิดแห่งกีซา มาจากแท่งหินก้อนใหญ่ น้ำหนักกว่า 10 ตัน ยกประกอบขึ้นเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม โดยมีการคำนวณอย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นโครงของหินแกรนิต ซ้อนทับกันรวม 5 ชั้น แต่ละแท่งหินหนักกว่า 50 เมตริกตัน และที่ค้นพบได้ มีน้ำหนักมากถึง 200 เมตริกตัน ใช้เวลาการสร้างนานอยู่ 20 ปี

ตามบันทึกของนักประวัติศาสตร์ “Herodotus” เล่าว่าชาวอียิปต์โบราณ มีอุปกรณ์ทำจากไม้ที่ใช้ยกหิน แล้วเคลื่อนย้ายด้วยการลาก จากแรงงานหลายร้อยคน โดยราดน้ำตามทาง เพื่อลดแรงเสียดทานของวัตถุ ตามการค้นพบหลักฐาน เป็นภาพแกะสลักฝาผนัง กล่าวว่าการก่อสร้าง ถูกทำในเฉพาะช่วงน้ำหลาก เพราะประชาชนว่างจากการทำเกษตร

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ พีระมิดของโลก

พีระมิดกีซา สมัยอียิปต์โบราณ มีหลายความเชื่อว่า ไม่ได้ถูกสร้างมาจากฝีมือชาวอียิปต์ แต่อาจเป็นการสร้างจากฝีมือชาวแอตแลนติส หรือที่เรียกกันว่า “ปิรามิด” มีร่องรอยอารยธรรม ทางธรณีวิทยากล่าวว่า เป็นเพียงแค่ยอดภูเขาคล้ายทรงสามเหลี่ยม ที่โผล่พ้นมาจากพื้นน้ำแข็งเท่านั้นเอง

สรุป พีระมิด สถาปัตยกรรมเก่าแก่ ของโลกสมัยโบราณ

พีระมิด ความงดงามทรงคุณค่า ทางอารยธรรมของอียิปต์ สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรือง ตั้งแต่สมัยโบราณ ความสามารถทางการก่อสร้าง เรียกว่าเป็นความมหัศจรรย์อย่างตั้งใจ ที่เหนือจินตนาการ ถึงแม้ว่าชาวอียิปต์จะไม่ได้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างในปัจจุบันก็ตาม

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

383