แอสตาแซนธิน สารสีแดงเพื่อสุขภาพ จากธรรมชาติ

แอสตาแซนธิน

แอสตาแซนธิน คือสารธรรมชาติ ที่ซ่อนอยู่ในสีแดงเข้ม ของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล สารนี้ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย ในวงการสุขภาพ และความงาม ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่น ในการต้านอนุมูลอิสระ แอสตาแซนธินได้กลายเป็นที่ยอมรับว่า เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆด้าน

แอสตาแซนธิน สาร Carotenoid คืออะไร

แอสตาแซนธินเป็นสาร Carotenoid ซึ่งเป็นสารจากพืชที่ละลายในไขมัน มีความสามารถสูงในการต้านอนุมูลอิสระ และเป็นหนึ่งในสารแคโรทีนอยด์ ที่มีศักยภาพสูงสุด ในกลุ่มแคโรทีนอยด์กว่า 600 ชนิด แอสตาแซนธินยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สูงกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า และสูงกว่าวิตามินซีถึง 1,000 เท่า

แอสตาแซนธินช่วยดีท็อกซ์ตับ ลดการอักเสบ และส่งเสริมสุขภาพดวงตา สมอง ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิว ลดความเสี่ยงโรคต่างๆ เช่นต้อกระจก พาร์กินสัน ลดปัญหาผิวพรรณ เสริมความแข็งแรง ให้ระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ร่างกายดูดซึมแอสตาแซนธินได้ดี แนะนำให้บริโภคร่วมกับไขมัน เช่นน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก [1]

แอสตาแซนธิน พบในแหล่งอาหารจากทะเล

แอสตาแซนธิน

แอสตาแซนธินสามารถพบได้ ในแหล่งอาหารจากทะเลเช่น Salmon กุ้ง กั้ง กุ้งมังกร ปู และ Seatrout รวมถึงสาหร่าย Haematococcus pluvialis สารนี้มีสีแดง และพบได้ในสาหร่ายขนาดเล็กในทะเล สัตว์น้ำ เช่น กุ้งและปลาแซลมอนที่บริโภคสาหร่ายนี้เข้าไป จะได้รับสีแดงจากแอสตาแซนธินที่สะสมในเนื้อ

แอสตาแซนธินช่วยลดผลกระทบ ที่เกิดจากความเครียด จากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ในสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล เช่นความร้อน แสงแดด และความเครียด จากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เช่นปลาแซลมอน สามารถว่ายน้ำทวนน้ำ เพื่อไปวางไข่ได้ โดยไม่เกิดความเหนื่อยล้า หรือการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อมากเกินไป

แอสตาแซนธิน วิธีการดูดซึม และบทบาทต่อเซลล์

วิธีการดูดซึม และบทบาทต่อเซลล์ แอสตาแซนธินถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ผ่านระบบน้ำเหลือง และกระจายเข้าสู่อนุภาคไขมัน จากนั้นจะแทรกซึมเข้าสู่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ และให้การปกป้องเชิงโครงสร้าง จากปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายจากออกซิเดชัน

แอสตาแซนธิน กับบทบาทในสุขภาพดวงตา

การวิจัยแอสตาแซนธินในการรักษาโรคตา แอสตาแซนธินช่วยลดการอักเสบ และความเครียดออกซิเดชันในดวงตา มีผลการศึกษาดังนี้

  • ลดอาการตาแห้ง โดยการศึกษาพบว่า การเสริมแอสตาแซนธินในขนาดสูง ร่วมกับสารเสริมอื่นๆ สามารถลดอาการตาแห้งได้ภายใน 8 สัปดาห์ แอสตาแซนธินยังมีบทบาทสำคัญ ในการเพิ่มการผลิตน้ำตา และการรักษาผิวกระจกตา ซึ่งเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่มีประวัติตาแห้งรุนแรง
  • แอสตาแซนธินกับโรคต้อกระจก แอสตาแซนธินมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ สามารถลดการสะสมของโปรตีนในเลนส์ตา (Lens Protein Aggregation) ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ที่ก่อให้เกิดต้อกระจก การวิจัยแสดงให้เห็นว่า การเสริมแอสตาแซนธินอาจช่วยป้องกันการเกิดต้อกระจก ในผู้ที่รับสเตียรอยด์ หรือเป็นเบาหวาน
  • แอสตาแซนธินเพิ่มการไหลเวียนเลือด การวิจัยพบว่าช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด ไปยังกล้ามเนื้อในดวงตา ซึ่งช่วยในการเพ่งมองระยะใกล้ และไกลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แนะนำทาน 4-12 มก. ต่อวัน หรือปลาแซลมอนขนาด 300 กรัม มีปริมาณแอสตาแซนธิน 6 มก.

ผลสรุปจากการวิจัย แอสตาแซนธินมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ที่สำคัญในดวงตา และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ไปยังเรตินา เส้นประสาทตา และลดความเครียด ที่เกิดจากการใช้งานดวงตาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ต้องทำงานหน้าจอ [2]

แอสตาแซนธิน คุณสมบัติต่อร่างกายด้านอื่นๆ

  • คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ แอสตาแซนธินมีความสามารถ ในการต้านอนุมูลอิสระ ที่สูงกว่าวิตามินอีถึง 100 เท่า เนื่องจากสามารถแทรกซึม เข้าสู่เยื่อหุ้มเซลล์ ได้ทั้งจากภายนอกและภายใน ช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลาย ด้วยปัจจัยความเครียด และเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานของเซลล์
  • การวิจัยเกี่ยวกับยีน FOXO3 และความยาวนานของชีวิต การศึกษาจาก University of Hawaii at Manoa พบว่าเมื่อให้แอสตาแซนธินกับหนูทดลอง พบว่าระดับการแสดงออกของยีน FOXO3 ซึ่งเกี่ยวข้องกับความยาวนานของชีวิต เพิ่มขึ้นถึง 90%
  • ประสิทธิภาพในด้านกีฬา และการฟื้นตัว การศึกษาในวารสารนานาชาติ ด้านการกีฬา ให้แอสตาแซนธิน 12 มก. ต่อวันให้กับนักปั่นจักรยาน เพื่อศึกษาผลด้านการฟื้นตัว และการเพิ่มประสิทธิภาพ พบว่าแอสตาแซนธินช่วยเพิ่มเวลาการฟื้นตัว และลดเวลาที่ใช้ในช่วงการแข่งขันได้ถึง 1.2% ภายใน 7 วัน
  • ผลต่อระบบ Metabolism และการใช้พลังงานจากไขมัน แอสตาแซนธินสามารถสะสม อยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ และเยื่อหุ้ม Mitochondria ทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ CPT1 ในการขนส่งไขมัน ไปใช้เป็นพลังงานในร่างกาย ลดความเครียดออกซิเดชัน ช่วยให้ร่างกายสามารถใช้ไขมัน เป็นพลังงานได้ในระยะยาว
  • บทบาทในสุขภาพสมอง และการป้องกันการเสื่อมของสมอง แอสตาแซนธินสามารถช่วยลดการออกซิเดชันในเซลล์สมอง ซึ่งมีไขมันสูง โดยการลดอนุมูลอิสระ และการเสื่อมของเซลล์สมอง นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยที่พบว่าแอสตาแซนธินช่วยเพิ่มระดับสาร BDNF ในสมองของหนูทดลอง ช่วยลดสมองเสื่อมตามวัย
  • การปรับปรุง Metabolism และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การศึกษาในมนุษย์ พบว่าแอสตาแซนธินช่วยปรับปรุงระดับน้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งส่งผลดี ต่อสุขภาพโดยรวม

ที่มา: The Amazing Benefits of ASTAXANTHIN [3]

แอสตาแซนธิน ทานร่วมอาหารเสริมบำรุงสายตา

แอสตาแซนธินเป็นอาหารเสริม ที่มีประสิทธิภาพสูง ในการบำรุงสายตา และเมื่อทานร่วมกับอาหารเสริมเหล่านี้ จะช่วยเสริมการดูแลดวงตาได้ดียิ่งขึ้น

  • ลูทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยกรองแสงสีฟ้า และลดความเสื่อมของจอประสาทตา ทำให้การมองเห็นชัดเจน และป้องกันอันตรายจากแสงแดดที่กระทบตา
  • ซีแซนทีน ทำงานร่วมกับลูทีน ในการป้องกันแสงสีฟ้า และลดความเสื่อมของจอประสาทตา ช่วยรักษาความชัดเจนในการมองเห็น โดยเฉพาะในที่แสงจ้า
  • สารสกัดเมล็ดองุ่น อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยปกป้องเส้นเลือดฝอยในดวงตา ช่วยให้การไหลเวียนโลหิต ไปยังจอประสาทตาดีขึ้น

สรุป แอสตาแซนธิน ดูแลดวงตา หัวใจ สมอง ผิวพรรณ

แอสตาแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพ ครอบคลุมตั้งแต่ดวงตา หัวใจ สมอง ไปจนถึงผิวพรรณ แต่การศึกษายังคงดำเนินต่อไป เพื่อค้นหาข้อดีเพิ่มเติมของสารชนิดนี้ แต่ที่แน่นอนคือแอสตาแซนธินได้กลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่มองหาวิธีการดูแลสุขภาพจากธรรมชาติ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

65