ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน ต้นไม้มงคล 1 ใน 9 ชนิดของไทย

ต้นราชพฤกษ์

ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่า ดอกคูน หรือดอกราชพฤกษ์นั้น นอกจากจะใช้เพื่อประดับ ให้ร่มเงาตามบ้านเรือนแล้ว ตามความเชื่อ จะนำพาความสุข ความโชคดีมาสู่ตนเอง และครอบครัวด้วย นอกจากจะเป็นต้นไม้ประจำชาติแล้ว ยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัด ขอนแก่น และนครศรีธรรมราช อีกด้วย

ข้อมูลแนะนำ ต้นราชพฤกษ์

ชื่อ: ราชพฤกษ์ (คูน)
ชื่อสามัญ: Golden shower, Indian laburnum, Pudding-pine tree, Purging Cassia ราชพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula L.
วงศ์: FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE (วงศ์ถั่ว)
วงศ์ย่อย: CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE (ราชพฤกษ์)
ชื่อท้องถิ่นอื่น: กุเพยะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปูโย ปีอยู เปอโซ แมะหล่าอยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลักเกลือ ลักเคย (กะเหรี่ยง), ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ (ภาคกลาง), ลมแล้ง (ภาคเหนือ), ราชพฤกษ์ (ภาคใต้), คูน

ที่มา: ราชพฤกษ์ [1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นราชพฤกษ์

ต้นราชพฤกษ์

ราชพฤกษ์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ มีความสูง 10 – 20 เมตร
ดอก ขึ้นเป็นช่อยาว 20 – 40 ซม. แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 7 ซม. มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ
ใบ ลักษณะของใบออกเป็นช่อ ใบสีเขียวเป็นมัน ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร และมีใบย่อยเป็นไข่หรือรูปป้อม ๆ ประมาณ 3-6 คู่ ใบย่อยมีความกว้างประมาณ 5-7 ซม. และยาวประมาณ 9-15 ซม.
ผล ผลเป็นฝักทรงกระบอก ผิวเกลี้ยงสีดำ ยาว 20-60 ซม. ห้อยลงจากกิ่ง เมล็ดรูปแบนมน สีน้ำตาลเป็นมัน
เมล็ด มีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ ต้นไม้มงคลปลูกตามทิศ

ต้นราชพฤกษ์ จัดเป็น “ต้นไม้มงคลปลูกตามทิศ” ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับ ต้นชัยพฤกษ์ การเพาะเมล็ด แล้วย้ายกล้ามาปลูกในถุงเพาะชำ เมื่อโตพอแล้ว ก็ย้ายมาปลูกในพื้นที่ ในปัจจุบันอาจจะใช้วิธีการทาบกิ่ง และเสียบยอดก็ได้ แต่โอกาสสำเร็จ จะน้อยกว่า วิธีการเพาะเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง

  • การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
  • อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง
  • ดิน: สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียว
  • น้ำ: ชอบน้ำน้อย ควรรดน้ำ 7 – 10 วันต่อครั้ง สามารถทนกับ สภาพอากาศร้อนได้ดี
  • ปุ๋ย: นิยมใส่ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยคอก ในอัตรา 2 – 3 กิโลกรัมต่อต้น และควรให้ปุ๋ยปีละ 3 – 4 ครั้ง
  • แสงแดด: ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง และเจริญเติบโตได้ดี ในที่โล่งแจ้งเป็นพิเศษ
  • โรคและแมลงศัตรูพืช: ถ้ามีแมลงเข้าทำลายอาจตายทั้งกลุ่ม

ต้นราชพฤกษ์ ไม้มงคลนาม สัญลักษณ์ประจำชาติไทย

ต้นราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้มงคล ใช้ประกอบในพีธีสำคัญเช่น พีธีเสาไม้หลักเมือง ทำพิธีปลูกบ้าน และอีกมากมาย อีกทั้งยังมีความเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ ไว้ประจำบ้าน จะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ ใช้ใบทำน้ำพุทธมนต์ สะเดาะเคราะห์ได้ผลดี

อีกทั้งเชื่อกันมา ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัย ในบ้านเรือน มีความเจริญรุ่งเรือง แต่ในความเป็นจริง นั้นก็คือ ทิศดังกล่าว จะได้รับแดดจัด ตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูก ต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้ลดความร้อน และลดพลังงาน [2]

คุณสมบัติ ต้นไม้ประจำชาติไทย นามต้นคูน หรือต้นราชพฤกษ์

  • เป็นต้นไม้ที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันอย่างแพร่หลาย สามารถพบเห็นได้ทั่วไปของทุกภาคในประเทศ
  • มีความเกี่ยวข้อง กับประเพณีชาวไทย มาอย่างตั้งแต่โบราณ เพราะเป็นไม้มงคลนาม และใช้ในการประกอบพิธีสำคัญ ๆ ต่าง ๆ หลายพิธี เช่น พิธีลงเสาหลักเมือง ทำคทาจอมพล ใช้ทำยอดธงชัยเฉลิมพล เป็นต้น
  • สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้อย่างหลากหลาย เช่น การใช้เป็นยาสมุนไพร หรือนำมาใช้ ทำเป็นเสาบ้านเสาเรือนได้ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนานและแข็งแรงทนทาน
  • มีรูปทรง และพุ่มที่งดงาม มีดอกเหลืองอร่ามเต็มต้น ดูสวยงามอย่างยิ่ง
  • ดอกราชพฤกษ์มีสีเหลือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย
  • เป็นสัญลักษณ์แห่ง พระพุทธศาสนา และยังเป็นสัญลักษณ์ ของวันจันทร์
  • ตามตำราไม้มงคล 9 ชนิดยังระบุไว้ว่า ต้นราชพฤกษ์เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นใหญ่ ความมีอำนาจวาสนา มีโชคมีชัย

สรรพคุณทางยา สมุนไพรราชพฤกษ์

ส่วนที่นำมาใช้เป็นสรรพคุณทางยา ได้แก่ ส่วนของใบ ดอก เปลือก ฝัก แก่น กระพี้ ราก และเมล็ด ที่นำมาใช้รักษาโรค และอาการต่าง ๆ โดยสมุนไพรราชพฤกษ์ เป็นสมุนไพร ที่สามารถนำมาใช้ได้ ทั้งกับเด็ก สตรี และรวมทั้งผู้สูงอายุ โดยไม่มีอันตรายใด ๆ

ดอกราชพฤกษ์ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยชะลอความเสื่อม ของเซลล์ดวงตา ช่วยบำรุงสายตา, บำรุงผิวพรรณ, ช่วยระบายท้อง เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย, ช่วยขับเสมหะ ,แก้ไอ แก้หวัด, ช่วยบำรุงหัวใจ, ช่วยลดความดันโลหิต [3]

ฝักแก่ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาระบาย หรือใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช, ใบมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อโรค, ใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง, อาการปวดตามข้อ, ลดคอเรสเตอรอล, บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้า และอีกหลายสรรพคุณ แต่ต้องใช้ในปริมาณ ที่เหมาะสม จากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเท่านั้น [4]

สรุป ต้นราชพฤกษ์ สวย สง่า คู่ควรคุณค่า ต้นไม้ประจำชาติไทย

ต้นราชพฤกษ์

สรุป ต้นราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูง และยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ โดยให้ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และได้ลงนามให้เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2544 อีกทั้งยังออกดอกเป็นสีเหลือง ชูช่อ สง่างาม ตรงกับสีวันพระราชสมภพ จึงถูกตั้งชื่อเป็น “ต้นไม้ของในหลวง”

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

166