ท้าวยายม่อม (Thahiti arrowroot) แป้งคุณภาพดี การันตรีสรรพคุณ

ท้าวยายม่อม

ท้าวยายม่อม (Thahiti arrowroot) เป็นพืชให้หัวที่สะสมแป้งไว้ หลายๆ คนคงเคยได้ยิน หรือว่ารู้จักกันดี “แป้งท้าวยายม่อม” เป็นแป้งที่มีเนื้อละเอียด เมื่อถูกความร้อนจะมีความใส แวววาว และหนืดเหนียวพอเหมาะ ใช้บริโภคได้ มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และมีราคาสูง น่าสนใจอย่างไรลองมาดูกัน

ข้อมูลแนะนำ

ชื่อ : ท้าวยายม่อม
ชื่อสามัญ : Thahiti arrowroot, Fiji arrowroot, East Indian arrowroot, Polynesian arrowroot, South Sea arrowroot, Tacca
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze
วงศ์ : Taccaceae
ชื่อท้องถิ่นไทย : เท้ายายม่อม, บุกรอ, ต้นหนวดแมว, สิงโตดำ, นางนวล, ไม้เท้าฤาษี, ว่านพญาหอกหลอก
ถิ่นกำเนิด : ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฮาวาย แอฟริกา และออสเตรเลีย
ประเทศไทย : พบได้มากบริเวณป่าชายฝั่งของภาคตะวันออก, ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นท้าวยายม่อม

ท้าวยายม่อม

ท้าวยายม่อม มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ที่มีก้านใบสีเขียว ลำต้นเทียมสูงใหญ่ (ภาคตะวันออก, ภาคใต้) และสายพันธุ์ที่มีก้านใบสีเขียวปะลายม่วงอมนํ้าตาล ลำต้นเทียมอวบใหญ่ แต่เตี้ยกว่าพันธุ์ก้านเขียว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

  • ลำต้นท้าวยายม่อม อยู่เหนือดินมีความสูงได้ถึง 1.5 เมตร ถึง 2 เมตร
  • หัวที่อยู่ใต้ดิน เป็นลักษณะต่างๆ ที่พบมาก ได้แก่ รูปกลม กลมแบน หรือรูปรี โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดประมาณ 0.5-4 นิ้ว
  • ใบท้าวยายม่อม มีลักษณะ เป็นใบขนาดใหญ่ และ เว้าลึก และ เป็นรูปลักษณะคล้ายฝ่ามือ โดยที่ปลายแยกอ
  • ดอกท้าวยายม่อม เป็นช่อ ก้านดอก มีสีม่วงอมเขียว มีลาย ช่อดอกจะมี 1-2 ช่อ กลีบรวมจะเป็นสีเขียวอมเหลือง มีสีเขียวอมม่วงเข้ม ปลายกลีบมีความแหลม โคนกลีบมีเชื่อมติดกันลักษณะเป็นหลอด
  • ผลท้าวยายม่อม เป็นผลสดมีเนื้อ รูปเกือบกลม หรือ รูปทรงรี ปลายมีความแหลมเรียว สีเขียว พบมากบริเวณที่ อยู่ใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งไม่มาก ป่าผลัดใบ ดินเป็นดินทราย และตามป่าชายหาด

ที่มา : ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม [1]

การขยายพันธุ์ และการปลูก

การขยายพันธุ์ : มี 2 วิธี คือ 1.)การเพาะด้วยเมล็ด โดยใช้เมล็ดแก่หลังต้นแห้งตายแล้ว แต่ควรเก็บเมล็ดไว้สักระยะ 2-3 เดือน เพื่อให้เมล็ดพักตัวก่อน 2.) การใช้หัว โดยใช้หัวลูกหรือหัวย่อยที่เจริญออกจากหัวแม่

การปลูก : การปลูกด้วยเมล็ดจะต้องให้ต้นเติบโตอย่างน้อย 2 ปี ก่อนเก็บหัว แต่การใช้หัวย่อยสามารถเก็บหัวมาแปรรูปหลังปลูก 1 ปี
ควรปลูกในต้นฤดูฝน ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม เพื่อให้ต้นได้งอก และเติบโตในช่วงฝน

  • การเก็บหัวเท้ายายม่อมจะเก็บในช่วงปลายฤดูหนาว-ต้นฤดูแล้ง ประมาณเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งใบจะเริ่มเหลือง และเหี่ยวหรือยุบตัวแห้งตาย
  • โดยหัวหลักจะใช้ทำแป้ง ส่วนลูกหัวหรือขนาดเล็กจะเก็บไว้ปลูกในปีถัดไป

ที่มา : การปลูกเท้ายายม่อม [2]

คุณค่าทางโภชนาการ

หัวเท้ายายม่อมสด (100 กรัม)

สารอาหาร คิดเป็น % จากน้ำหนักแห้ง
• โปรตีน 0.05 %
• ไขมัน 0.02 %
• คาร์โบไฮเดรต 99.32 %
• ใยอาหาร 0.52 %
• เถ้า 0.09 %

สารสำคัญที่พบ และข้อควรระวัง

β – sitosterol, Cerylic alcohol, Taccalin, Alkaloids, Steroidal sapogenins, Sapogenins (ออกฤทธิ์กำจัดพวกทากได้)

ประโยชน์ ท้าวยายม่อม

  • ประโยชน์ทางยาเพื่อรักษาโรค และบำรุงร่างกาย
  • ประโยชน์ด้านการอาหาร ทดแทนการใช้แป้งมัน ทำให้อิ่มท้อง สามารถรับประทานดอก และยอดอ่อนของท้าวยายม่อม นำมาผัดเป็นอาหารพื้นบ้านให้รสชาติอร่อย ท้าวยายม่อมเป็นแป้งที่ได้นิยมทำขนมหวาน อาจใช้เป็นแป้งเดี่ยว หรือผสมกับแป้งอื่น
  • ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอาง โดยนำมาใช้ทำ ครีมทาหน้า เพื่อให้หน้าขาว ผิวพรรณสดใส ลดสิวฝ้า
  • เป็นวัตถุดิบหลัก ในการผลิตแป้งท้าวยายม่อม ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง

สรรพคุณเท้ายายม่อม

  • หัว และแป้งจากหัว
    – ให้พลังงาน บำรุงร่างกาย แก้อาการอ่อนเพลีย
    – ช่วยฟื้นจากไข้ได้เร็ว
    – แก้เบื่ออาหาร
    – ช่วยบำรุงหัวใจ
    – สาร Taccalin ที่สกัดได้จากหัว ใช้เป็นยาแก้โรคบิด แก้โรคท้องร่วง และโรคเกี่ยวกับลำไส้
    – ใช้เป็นยาพอกรักษาฝี รักษาริดสีดวง
    – ใช้ห้ามเลือด
    – ใช้ทาแก้ผดผื่นคัน
  • ลำต้น ช่วยขับเสมหะ, ลดไข้, แก้ร้อนใน
  • ราก ช่วยขับเสมหะ, ลดไข้, แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย

ท้าวยายม่อม มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงกำลัง แก้ไข้ จัดว่าเป็น “พืชสมุนไพรช่วยลดไข้” และก็ยังเป็นอีกหนึ่งส่วนผสมที่สำคัญของ “พืชสมุนไพรเพื่อความสวยงาม” เช่นกัน

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ พืชสมุนไพรเพื่อความสวยงาม

ที่มา : สรรพคุณท้าวยายม่อม [3] 

ข้อควรระวัง

ข้อควรระวัง ห้ามรับประทานหัวท้าวยายม่อมแบบสดๆ เพราะหัวท้าวยายม่อม ไม่สามารถนำมารับประทานแบบสดๆได้ เนื่องจากมีความเป็นพิษ มีรสขมมาก ก่อนนำมาทำอาหาร ต้องล้างให้สะอาด หรือตากแห้ง ก่อนนำมาใช้ประโยชน์

สรุป ท้าวยายม่อม แป้งคุณภาพดีมีประโยชน์

ท้าวยายม่อม

สรุป ท้าวยายม่อม ประโยชน์มากมายจริงๆ นอกจากจะเป็นแป้งที่ใช้ทำขนม และอาหารแล้ว ยังเป็นยาพอกหน้าเพื่อบำรุงผิวก็ได้ เป็นส่วนที่มีแป้งเหมาะสมต่อระบบทางเดินอาหารเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นระบบที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ค่อนข้างหาแท้ได้ยาก และมีราคาสูง ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมากอีกชนิดหนึ่ง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
254