นกยูง ความงามของหางที่รำแพน

นกยูง

นกยูง หลายคนน่าจะรู้จักกันบ้างแล้ว เป็นสัตว์ที่มีความหมายมากมาย ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความเชื่อ ในเรื่องการเป็นสัตว์มงคลต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม นกยูงก็ยังเป็นนกที่สวยงาม และชอบอวดรำแพนหางให้ได้ชม เรียกได้ว่าสง่ามากจนได้ขึ้นชื่อว่า ราชินีแห่งนก เลยทีเดียว

 นกยูง ในโลกนี้มีทั้งหมด 3 ชนิด

นกยูง มีทั้งหมดอยู่ 3 ประเภท คือ

  1. นกยูงไทย หรือ Pavo muticus
  2. นกยูงอินเดีย หรือ Pavo cristatus
  3. นกยูงคองโก หรือ Afropavo congensis

แต่ในประเทศไทย จะสามารถพบนกยูงได้แค่ 2 ชนิดเท่านั้น นั่นก็คือ นกยูงไทย และนกยูงอินเดีย

นกยูงไทย

นกยูงไทย จะสามารถอาศัยได้หลากหลาย เช่นทุ่งหญ้า ป่าเก่า ป่าไผ่ จะสามารถพบได้ในภาคเหนือ และภาคตะวันตกของไทย
ลักษณะ ตัวผู้จะมีขนาดยาวประมาณ 3 เมตร วัดตั้งแต่หัวไปหาง หนักประมาณ 5 กิโลกรัม มีหงอนเป็นพู่สูง หน้าสีฟ้าสลับสีเหลือง ขนมีสีเขียวเป็นประกายเหลือบสีน้ำเงิน ตัวเมียจะยาวประมาณ 1.1 เมตร หนักประมาณ 1 กิโลกรัม ลักษณะตัวคล้ายกับตัวผู้ แต่หางจะไม่ยาวเท่า

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : สัตว์ Animalia
  • ไฟลัม : สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata
  • ชั้น : สัตว์ปีก Aves
  • อันดับ : อันดับไก่ Galliformes
  • วงศ์ : วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทาPhasianidae
  • สกุล : Pavo
  • สปีชีส์ : Pavo muticus

ที่มา: “ นกยูงไทย ” [1]

 นกยูงอินเดีย

นกยูงอินเดีย พบได้ในป่าของไทย ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นนกที่บินเก่ง ชอบนอนในที่สูง ในป่าดงดิบทึบ
ลักษณะ จะมีขนาดตัวที่เล็กกว่านกยูงไทย ขนาดความยาวประมาณ 1.5 เมตร วัดตั้งแต่หัวไปหาง ตัวผู้จะสีน้ำเงินสด ตัวเมียจะเป็นสีน้ำตาล แก้มเป็นสีขาว ‘หงอนพู่ตั้งขึ้นเป็นพัด’ ส่วนปีกมีสีขาวดำสลับกันเป็นรอยบั้ง

การจำแนกทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ไฟลัม : Chordata
  • ชั้น : Aves
  • อันดับ : Galliformes
  • วงศ์ : Phasianidae
  • วงศ์ย่อย : Phasianinae
  • สกุล : Pavo
  • สปีชีส์ : P. cristatus

ที่มา: “นกยูงอินเดีย” [2]

สามารถอ่านรายละเอียดของนกยูงคองโก ได้ที่ wikipedia

นกยูง

นกยูง จากความงามสู่ความเชื่อ

นกยูง เป็นสัตว์ปีกประเภทไก่ฟ้า ด้วยความสวยงามจากรำแพนหาง สู่ความเชื่อที่มีต่อๆ กันมาอย่างยาวใน และนกยูงได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่ง ของศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ภาพนกยูงบนเครื่องปั่น เสื้อผ้า ปักบนเครื่องนุ่งห่มของชนชั้นสูง นำขนของนกยูงมาประดับหมวก เพื่อแบ่งระดับชั้นในหมู่ขุนนางต่างๆ

นอกจากจะใช้เพื่อความสวยงามแล้วนั้น ยังเป็นเครื่องหมายเชิงบวก จนไปถึงความเชื่อในหลายๆ เชื้อชาติ หลายศาสนา เช่น

ความเชื่อของคนจีน : คนจีนจะยกนกยูงให้เป็นตัวแทนของความสูงศักดิ์ และเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นบริวารของเจ้าแม่กวนอิม จึงได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ ของความรัก และความเมตตา

ความเชื่อชาวคริสต์ : ชาวคริสต์เชื่อว่านกยูงเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นอมตะ ชาวกรีกโรมันโบราณที่เชื่อกันว่านกยูงถ้าเสียชีวิตไปแล้ว จะไม่เน่าไม่เปื่อย จึงทำให้นกยูงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นคืนชีพ

ความเชื่อชาวฮินดู : ชาวฮินดูเชื่อว่า นกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เพราะนกยูงเป็นบริวาร และเป็นสัตว์พาหนะ ของเทพหลายองค์ เช่น พระสรัสวดี พระกฤษณะ พระขันธกุมาร จะเชื่อกันว่าถ้ามีสัญลักษณ์ของนกยูงไว้ ทำให้ชีวิตโชคดี และมีความรุ่งเรือง

การสืบพันธุ์ของนกยูง

นกยูงจะเริ่มผสมพันธุ์ในช่วง เดือนพฤศจิกายน-เดือนเมษายน โดยตัวผู้จะรำแพนหางเพื่อโอ้อวดตัวเมีย โดยการเกร็งขนคลุมหาง หรือแพนหางให้ขนานกับพื้น แล้วค่อยๆ ยกขึ้นตั้งฉากกับพื้น พร้อมกับคลี่แพนหางออกเป็นรูปใบพัดขนาดใหญ่

หากตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จะเริ่มเดินเข้าไปอยู่ข้างหน้าตัวผู้ พร้อมย่อตัวลงให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ หลังจากผสมพันธุ์เสร็จแล้ว ตัวเมียจะเริ่มหาที่วางไข่ และทำหน้ากกไข่แต่เพียงผู้เดียว [3]

พฤติกรรมของนกยูง

นกชนิดนี้ปกติแล้วจะอยู่กันเป็นฝูงขนาดเล็ก 2-6 ตัว จะออกหากินตั้งแต่เช้าตรู่ จนถึงบ่าย จะออกหากินพวกเมล็ดพรรณพืช เมล็ดของไม้ยืนต้นต่างๆ ผลไม้ที่ร่วงตามพื้นต้น และสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น หนอน ไส้เดือน งู เป็นต้น

 สรุป นกยูง ราชินีแห่งนก

สรุป นกยูง เป็นนกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เอาไว้ ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้ชื่นชม แต่ปัจจุบันเริ่มมีความเสี่ยงที่จะเป็นสัตว์สูญพันธุ์ เพราะการไล่ล่าที่จะเอาขนของมันมาเป็นเครื่องประดับตกแต่ง บวกกับการทำลายป่า ที่อยู่อาศัยของนกยูงทำให้ปัจจุบัน นกยูงกลายเป็นสัตว์ที่หาได้ไม่ง่ายนัก

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

207