นกเค้า นักล่ายามค่ำคืน

นกเค้า

นกเค้า หรือนกฮูก นักล่ายามค่ำคืน ที่หลายคนรู้จักกันมานานมากแล้ว และหลายคนก็คงอาจจะมีความเชื่อ ที่ปู่ย่า ตายาย ได้เล่าให้ฟังมาตั้งแต่สมัยเด็ก ที่แตกต่างกันออกไป แต่จะรู้ไหม ว่านกชนิดนี้ มีลักษณะพิเศษที่น่าทึ่ง ที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ และมีความเชื่อในด้านที่ดีอีกมากมาย ที่เราไม่เคยได้ยินกัน วันนี้จะมาบอกเล่า เรื่องราวของนกชนิด นี้ในอีกหลายๆ ด้านมาให้ได้รู้กันมากขึ้น

นกเค้ากับดวงตาอันเฉียบคม

นกเค้า หรือนกฮูก เป็นนกที่จะว่าน่าสงสารก็ได้ เป็นนกที่สามารถออกหากิน ได้แค่เวลากลางคืน เพราะไม่สามารถออกล่าหากิน ในเวลากลางวันได้ เนื่องจากมีขนาดตัวที่เล็ก บินได้ช้า ไม่สามารถสู้นกที่ออกหากินในเวลากลางวัน เช่น นกเหยี่ยว นกอินทรี แถมบางครั้งมันยังถูกนกพันธุ์เล็ก เช่น อีกา นกเอี้ยง นกกิ้งโครง ไล่จิกตีอีกต่างหาก

แม้จะเป็นเช่นนั้น ก็ได้แลกกับสายตาที่เฉียบคม มีการมองเห็นได้ดีมากๆ ไม่แพ้ นกอินทรี ที่สามารถมองเห็นได้ดีในเวลากลางวันเลย สามารถมองเห็นได้ดีว่ามนุษย์ ถึง 100 เท่า ทำให้มันมีโอกาสที่จะจับเยื่อพลาด ได้น้อยมากๆ

ชนิดที่พบได้ในไทย

ในประเทศไทยมีนกที่อยู่ในอันดับเค้าที่สามารถพบได้ถึง 18 ชนิด ได้แก่
วงศ์ Tytonidae

  • นกแสก
  • นกแสกแดง

วงศ์ Strigidae

  • นกเค้าโมง
  • นกเค้าเหยี่ยว
  • นกเค้าหน้าผากขาว
  • นกเค้าแดง
  • นกเค้าภูเขาหูยาว
  • นกเค้าหูยาวเล็ก
  • นกเค้ากู่
  • นกเค้าแคระ
  • นกเค้าจุด
  • นกเค้าป่าหลังจุด
  • นกเค้าป่าสีน้ำตาล ชื่อสามัญตามอนุสัญญาไซเตส Brown Wood-owl Strixleptogrammica
  • นกเค้าแมวหูสั้น ชื่อสามัญตามอนุสัญญาไซเตส Short-eared Owl Asio flammeus[5]
  • นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล ชื่อสามัญตามอนุสัญญาไซเตส Spot-bellied Eagle-owl Bubo nipalensis
  • นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา ชื่อสามัญตามอนุสัญญาไซเตส Barred Eagle-owl Bubo sumatranus
  • นกเค้าใหญ่สีคล้ำ ชื่อสามัญตามอนุสัญญาไซเตส Dusky Eagle-owl Bubo coromandus
  • นกทึดทือพันธุ์เหนือ
  • นกทึดทือมลายู

ที่มา: “นกเค้า” [1]

ลักษณะของนกเค้า

นกเค้า

นกเค้า หรือนกฮูก จะมีลักษณะตัวกลม หน้าใหญ่ ลักษณะคล้ายคลึงกับแมว เลยเป็นที่มาของชื่อ “นกเค้าแมว” จะมีตาอยู่ตรงบริเวณหน้า เหมือนกับมนุษย์ และคอมีกระดูกถึง 14 ชิ้น ทำให้มันสามารถหมุนคอได้ถึง 270 องศา ตามีทั้งหมด 3 ชั้น โดยที่ชั้นแรกเอาไว้กะพริบตา ชั้นที่2 เอาไว้หลับ และชั้นที่3 เป็นเมือก เอาไว้สำหรับทำความสะอาดตา

มีกรงเล็กที่งุ้มคม ไว้สำหรับจับเยื่อ มีปีกที่นุ่ม บินเบาไม่เสียงดัง ทำให้ล่าเหยื่อในเวลากลางคืนได้เงียบมากๆ และหูของมันไวมากเป็นพิเศษ สำหรับการฟังในเวลากลางคืน

การจำแนกทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ไฟลัม : Chordata
  • ชั้น : Aves
  • อันดับ : Strigiformes Wagler, 1830
  • วงศ์ : Strigidae Tytonidae, Ogygoptyngidae (ฟอสซิล), Palaeoglaucidae (ฟอสซิล), Protostrigidae (ฟอสซิล), Sophiornithidae (ฟอสซิล)

ที่มา : “Owl” [2]

นกเค้า กับความเชื่อของทั่วทุกมุมโลก

นกเค้า หรือนกฮูก เป็นสัตว์ที่มีความเชื่อติดตัวมา ตั้งแต่สมัยโบราณ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ยังมีอีกหลายประเทศมาก ทั่วทุกมุมโลก ที่มีความเชื่อในสัตว์ชนิดนี้ ที่แตกต่างกันออกไป นกเค้าแมว ยังหมายถึงสติปัญญา ในศาสนาฮินดู และยังเป็นสัตว์พาหนะ ของพระแม่ลักษมี เชื่อกันว่า ท่านจะขี่นกเค้าแมว ออกตรวจข้าวในเวลากลางคืนอีกด้วย [3]

ความเชื่อ เรื่องการนำโชค

ประเทศ ญี่ปุ่น เมียนมา กรีก อังกฤษ ไอร์แลนด์ รวมถึงผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู จะชื่อว่านกชนิดนี้ เป็นสัญลักษณ์ สติปัญญาที่ฉลาดหลักแหลม ความโชคดี และมีความสุข แต่ในประเทศไอร์แลนด์ จะเชื่อว่า ถ้านกเค้าบนเข้ามาในบ้านแล้ว ให้รีบฆ่าทิ้งทันที เพราะถ้านกบินเข้ามาแล้ว แล้วบินหนีออกไป ความโชคดีก็จะหายไปด้วย ถือว่าเป็นความเชื่อที่แปลกมากๆ

ชาวกรีกโบราณ มีความเชื่อว่า เป็นนกที่มีความเกี่ยวข้องกับ เทพีอาเธนา มักแปลงกายมาในรูปแบบของนกเค้า หรือนกฮูก ทำให้นกชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของการสอน และสถาบันการศึกษาต่างๆ

ความเชื่อ เรื่องลางร้าย

ความเชื่อว่านกเค้า หรือนกฮูก เป็นสัญลักษณ์แห่งโชคร้าย ก็มีหลายประเทศเช่นกัน รวมทั้งประเทศไทยด้วย ที่เชื่อกันว่า ถ้านกชนิดนี้ไป ไปสถานที่ใด หรือไปเกาะตามบ้านใคร ที่นั่นจะมีคนเสียชีวิต เพราะเชื่อว่าเป็นนกของยมทูต มารับเอาดวงวิญญาณไปสู่สัมปรายภพ

อีกทั้งยังมีความเชื่อของชาวอินเดียแดง สมัยโบราณ ที่เชื่อกันว่า สัตว์ชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ ของความตาย และลางร้าย

สรุป นกเค้า นกและความเชื่อ

สรุป นกเค้า ถึงแม้ว่าจะเป็นนกที่มีความเชื่อต่างๆ นานา แต่ก็เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งในปัจจุบันความเชื่อเหล่านั้น ก็เริ่มจากหายไป เพราะด้วยที่มีสายพันธุ์ และลักษณะสีที่หลากหลาย ทำให้มีคนนิยมเริ่มหามาเลี้ยงกัน เป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านอีกชนิดหนึ่ง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

228