บัวดอย (Aspidistra elatior) หรือ ผู้เฒ่าลืมไม้เท้า เป็นอีกหนึ่งพันธุ์ต้นไม้ใบสวย สมุนไพร บำรุงกำลัง ช่วยเพิ่มพลัง ให้กับผู้สูงอายุได้ เป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบสวย เป็นที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไป ขึ้นชื่อในเรื่องการเอาตัวรอดได้ เมื่อถูกเจ้าของทอดทิ้งไป เป็นเวลานาน เรามาดูกันว่าบัวดอย น่าสนใจอย่างไรบ้าง
ชื่อ: บัวดอย
ชื่อภาษาอังกฤษ: cast-iron-plant, aspidistra
ชื่อวิทยาศาสตร์: Aspidistra elatior Blume
ชื่ออื่น: บัวดอย เฒ่าทิ้งไม้เท้า ปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า เก่ยโคหล่า (กะเหรี่ยง)
วงศ์: Convallariaceae
ถิ่นกำเนิด: ประเทศญี่ปุ่น
บัวดอยเป็นไม้ล้มลุก พบในป่าดิบเขา ขึ้นปกคลุม และการกระจายอยู่ ตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 1,400 – 2,000 เมตร
ลำต้น: มีลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน เห็นข้อและปล้องได้ชัดเจน มีกาบหุ้มลำต้น แตกรากตามข้อ
ใบ: เป็นใบเดี่ยว รูปใบรี ออกเป็นกระจุกตรงโคนต้น ก้านใบยาว 30-50 cm.โคนก้านใบมีกาบหุ้ม ปลายใบเรียวยาวแหลม ฐานใบสอบ ก้านใบเป็นร่องด้านบน แผ่นใบขนาด กว้างประมาณ 5 – 10 cm. ยาว 30 – 40 cm. เนื้อใบหนาคล้ายกับแผ่นหนัง แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ขอบใบมีหนามเล็กน้อย
ดอก: เป็นดอกเดี่ยว ลักษณะดอกตูม รูปกลมแป้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 cm. แตกตามข้อของเหง้า ก้านดอกยาว 2-8 cm. ก้านดอกมีกาบรองรับ กลีบเลี้ยง 6-8 กลีบ ดอกบานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 – 3 cm. กลีบดอก 8 กลีบเรียงจรดกัน โคนกลีบเชื่อมติดกัน ด้านนอกกลีบเป็นดอกสีขาว หรือ ขาวปนชมพู ผนังกลีบดอกเรียบ ปลายกลีบโค้ง ผนังด้านในกลีบดอกเป็นสันยาว นูน ไม่เรียบ มีสีม่วงแดง ถึงม่วงเข้ม
ผล: ลักษณะกลมมีหลายเมล็ด
ที่มา: ลักษณะ [1]
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ โดยการแบ่ง(หัว) และการหว่านเมล็ด
การปลูก
-บัวดอย เติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำได้ดี และมีสารอินทรีย์ผสม
-ปลูกลงดินโดยขุดหลุมให้กว้าง เป็นสองเท่าของก้อนไร้รากของคุณ และลึกพอๆ กัน
-วางต้นไม้ลงในหลุม โดยให้ยอดก้อนไร้ราก อยู่ระนาบเดียวกับพื้นดิน
-จากนั้นจึงเติมหลุมปลูก ด้วยส่วนผสมของดินสวน และปุ๋ยหมักบัวดอย
-รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ชั้นวัสดุเช่น ฟาง คลุมดินรอบๆ ต้นเพื่อรักษาความชื้น และลดวัชพืช
การดูแล
รดน้ำให้มากทันทีหลังจากการย้ายปลูก รักษาความชื้นในดินอย่างสม่ำเสมอแต่อย่าให้มากเกินไป คอยสังเกตดูการเจริญเติบโตว่ากำลังตั้งตัวได้ดี หากต้นไม้แสดงอาการเครียดให้รดน้ำบ่อยขึ้น หากมีรากมาให้เห็นแปลว่าต้นไม้ไม่ได้ถูกปลูกลงลึกมากพอ หรืออากาศไม่พอหายใจให้นำดินมาเพิ่มรอบๆ ต้น
ที่มา: วิธีย้ายปลูก บัวดอย [2]
รายละเอียดเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ มีอยู่ว่า ตั้งแต่สมัยก่อน เมื่อผู้เฒ่ามีอาการ ปวดเมื่อยตามร่างกาย รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง เมื่อได้ดื่มน้ำสมุนไพรบัวดอย ก็ทิ้งไม้เท้า กลับมามีแรงเดินเหมือนเดิม และมีสุขภาพแข็งแรง จนถึงกับลืมไม้เท้าที่เคยใช้ นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ “ปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า” นั่นเอง [3]
สมุนไพรบัวดอย
สกัดพบสารกลุ่ม Saponins และ phenolies มีฤทธิ์ต่อสมรรถภาพทางเพศ มีสรรพคุณ เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว แก้ร้อนใน ต้านการอักเสบ ขับเสมหะ ลดคอเลสเตอรอล มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ตำรับยาบำรุงกำลัง
-บัวดอยนำมาหั่นตากแห้ง นำไปคั่ว ต้มผสมกับมะตูมสุก และผลจามจุรีสุก ดื่มครั้งละ 1 แก้ว 3 เวลา
-ชาวเหนือ นำใบ ก้านมาปิ้งไฟต้มน้ำ ดื่มแก้ปวดหลัง
-นำเหง้ามาดองเหล้าบำรุงกำลัง มีผลดีด้านความดันโลหิตอัตราการเต้นของหัวใจ
-ใบนำไปตากแห้ง ชงดื่มเป็นชา
-ต้มทั้งต้น ดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ
ที่มา: เฒ่าลืมไม้เท้า เริ่มแก่ เรียกหาไม้เท้า ยามเฒ่า ลืมทั้งไม้เท้าและไม้ตะพด [2]
ที่ปลูกในห้องน้ำได้ เป็นเพราะมันสามารถเจริญเติบโตได้ ทุกสภาพอากาศ จะขาดน้ำ หรือชื้นแฉะก็ยังไม่เหี่ยวเฉา ใบที่มีขนาดใหญ่ สามารถช่วยปล่อยออกซิเจน ได้ในปริมาณมากสถานที่นั้นๆ จะมีความปลอดโปร่งไม่อับชื้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงเหมาะสำหรับ พื้นที่อย่างห้องน้ำ
คลิกเพื่อดูต้นไม้ใบสวยที่ปลูกในห้องน้ำได้ที่นี่ เฟิร์นบอสตัน
สรุป บัวดอย ต้นไม้ใบสวย สุดถึกทน จัดเป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา ช่วยรักษาอาการหลากหลาย และมีประโยชน์จากการที่มีใบที่ใหญ่ จึงสามารถช่วยปล่อยออกซิเจน ออกมาในปริมาณมาก ช่วยทำให้สถานที่นั้นๆ มีความปลอดโปร่งไม่อับชื้น