ผลเสีย แคลเซียม ที่อาจเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่ต้องรู้

ผลเสีย แคลเซียม

ผลเสีย แคลเซียม อาจดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว สำหรับหลายคน เพราะแคลเซียม มักถูกมองว่าเป็นแร่ธาตุ ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เพื่อเสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรง อย่างไรก็ตาม การบริโภคแคลเซียม ที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะมาก หรือน้อยเกินไป อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ที่ไม่พึงประสงค์ได้

ผลเสีย แคลเซียม ทานทุกๆวันอันตรายหรือเปล่า

การบริโภคแคลเซียมทุกวัน ในปริมาณที่เหมาะสม “ไม่เป็นอันตราย” แต่หากได้รับแคลเซียมมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะแคลเซียมเกิน (Hypercalcemia) ซึ่งส่งผลต่อไตและหัวใจ อาการที่อาจพบได้ ได้แก่คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก อ่อนเพลีย และหัวใจเต้นผิดจังหวะ

นอกจากนี้ การบริโภคแคลเซียมเสริมมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต หินปูนในเต้านม และหินปูนในหลอดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดตีบตันได้ [1]

แคลเซียมคืออะไร แร่ธาตุ 99% ในกระดูกและฟัน

ผลเสีย แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากที่สุด โดยมีหน้าที่หลัก ในการเสริมสร้าง และคงความแข็งแรง ของกระดูกและฟัน อีกทั้งยังมีบทบาท ในระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่นการหดตัวของกล้ามเนื้อ การส่งสัญญาณประสาท การแข็งตัวของเลือด และการควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ

ร่างกายของคนเรา สะสมแคลเซียมประมาณ 99% ในกระดูกและฟัน ส่วนที่เหลืออีก 1% จะอยู่ในกระแสเลือด และเนื้อเยื่อ โดยแคลเซียมที่ร่างกายใช้ มักได้รับจากอาหาร ที่บริโภคในแต่ละวัน เช่นนม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว และปลาตัวเล็ก

อาการร่างกายเมื่อขาดแคลเซียม

การขาดแคลเซียม สามารถสังเกตได้จากอาการต่างๆ ที่แสดงถึงความผิดปกติในร่างกาย ดังนี้

  • กระดูกเปราะ หรือแตกง่าย: เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
  • ฟันผุ: การขาดแคลเซียม ทำให้เคลือบฟันอ่อนแอ
  • กล้ามเนื้อกระตุก หรือเป็นตะคริวบ่อย: โดยเฉพาะบริเวณขา และแขน
  • อาการชาตามมือ และเท้า: เกิดจากระบบประสาท ที่ทำงานผิดปกติ
  • อ่อนเพลีย หรือไม่มีแรง: เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ ที่ขาดสมดุล
  • ความหนาแน่นของกระดูกลดลง: มักพบในผู้สูงอายุ (สามารถตรวจได้ ด้วยเครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูก)

หากพบอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

ผลเสียจากการได้รับแคลเซียม ปริมาณต่อวันมากเกิน

การได้รับแคลเซียมเกิน (Hypercalcemia) มักเกิดจากการบริโภคอาหารเสริมแคลเซียม เกินความจำเป็น หรือภาวะโรคบางชนิด ที่ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกินไป เช่นต่อม Parathyroid ทำงานผิดปกติ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้

  • นิ่วในไต การสะสมของแคลเซียมในไต อาจทำให้เกิดนิ่วในไต อาการที่พบบ่อยได้แก่ ปวดหลังส่วนล่าง คลื่นไส้ หรือมีเลือดปนในปัสสาวะ
  • ผลเสียแคลเซียม อาจทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เพราะแคลเซียมส่วนเกิน อาจสะสมในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตัน เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจมากขึ้น ซึ่งผลเสียนี้ คล้ายคลึงกับ ผลเสีย ฟอสฟอรัส เช่นกัน
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร อาจเกิดอาการท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน หรือเบื่ออาหารจากการได้รับแคลเซียมมากเกินไป
  • การรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ การบริโภคแคลเซียมเกินไป อาจขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก และสังกะสีในร่างกาย ทำให้เกิดการขาดแร่ธาตุเหล่านี้
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง อาการของแคลเซียมในเลือดสูง อ่อนเพลีย กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ และในกรณีรุนแรงอาจ ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน

ผลเสียแคลเซียม หากกินกับยาหรืออาหารนี้

การรับประทานแคลเซียมเสริม ควรระมัดระวัง ในการรับประทานร่วมกับยา หรือสารอาหารบางชนิด เนื่องจากอาจส่งผลต่อการดูดซึม หรือประสิทธิภาพของยาดังนี้

  • ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Tetracyclines และ Quinolones: แคลเซียมอาจลดการดูดซึม ของยาเหล่านี้ ควรรับประทานแคลเซียม ให้ห่างจากยาประมาณ 2 ชั่วโมง
  • ยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม: เช่นยากลุ่ม Calcium Channel Blockers การรับประทานแคลเซียม ร่วมกับยาเหล่านี้ อาจลดประสิทธิภาพของยา
  • ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์: แคลเซียมอาจรบกวนการดูดซึม ของฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์ ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนรับประทานร่วมกัน
  • ยาในกลุ่ม Bisphosphonates: การรับประทานแคลเซียม ร่วมกับยาเหล่านี้ อาจลดการดูดซึมของยา ควรรับประทานแคลเซียม ให้ห่างจากยาประมาณ 2 ชั่วโมง
  • อาหารที่มีกรดออกซาลิกสูง: เช่นผักโขม ใบยอ และช็อกโกแลต สารออกซาลิก จะจับกับแคลเซียม และลดการดูดซึม
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน: เช่นกาแฟ ชา และน้ำอัดลม คาเฟอีนอาจลดการดูดซึมแคลเซียม และเพิ่มการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย

เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนรับประทานแคลเซียมเสริม ร่วมกับยาอื่นๆ [2]

 

ควรกินแคลเซียมวันละกี่มิลลิกรัม

ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำต่อ วันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 (Thai RDI: Dietary Reference Intake for Thais 2020) ซึ่งจัดทำโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตามช่วงอายุมีดังนี้

  • 0-5 เดือน 210 มิลลิกรัม/วัน
  • 6-11 เดือน 260 มิลลิกรัม/วัน
  • 1-3 ปี 500 มิลลิกรัม/วัน
  • 4-8 ปีทาน 800 มิลลิกรัมต่อวัน
  • 9-18 ปี 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • 19-50 ปีควรทาน 800 มิลลิกรัมต่อวัน
  • 51-70 ปีควรทาน 1,000 Mg./วัน
  • อายุมากกว่า 70 ปีควรทาน 1,000 Mg./วัน
  • หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร: 1,000 Milligram/วัน สำหรับมารดาที่อายุน้อยกว่า 18 ปีและ 800 Milligram/วัน สำหรับมารดาที่อายุ 19-50 ปี

ที่มา: Calcium – แคลเซียม [3]

 

สรุป ผลเสีย แคลเซียม บริโภคเกิน เกิดอันตรายได้

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญ ที่ร่างกายขาดไม่ได้ แต่การบริโภคเกินหรือขาด แคลเซียมอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ การรู้จักเลือกบริโภคอย่างเหมาะสม และเข้าใจถึงปริมาณ ที่ควรได้รับต่อวัน จะช่วยให้มีสุขภาพกระดูก และฟันที่แข็งแรง และลดความเสี่ยง จากภาวะที่เกี่ยวข้องกับแคลเซียมได้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

34