ผลเสีย แมงกานีส (Manganese) ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย

ผลเสีย แมงกานีส

ผลเสีย แมงกานีส อาจไม่ใช่เรื่องที่หลายคนตระหนัก ในชีวิตประจำวัน แต่การบริโภคหรือได้รับแร่ธาตุนี้เกินความจำเป็น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ แมงกานีสเป็นแร่ธาตุ ที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย เพื่อสนับสนุนการทำงานของเอนไซม์ การเผาผลาญพลังงาน และการสร้างกระดูก แต่หากได้รับมากเกินไป อาจเกิดผลเสียที่ไม่คาดคิด

ผลเสีย แมงกานีส ความเป็นพิษจากปริมาณมากเกิน

การได้รับแมงกานีส ในปริมาณที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ผลเสียแมงกานีสปัญหาทางระบบประสาท อาจเกิดอาการสั่น กล้ามเนื้อกระตุก เดินลำบาก อาการที่คล้ายกับโรค Parkinson
  • สะสมในร่างกาย อาจสะสมในตับ สมอง ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ หากได้รับแมงกานีสเกินความจำเป็น
  • ผลต่อระบบทางเดินอาหาร อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้องได้เช่นเดียวกับ ผลเสีย ทองแดง เมื่อได้รับปริมาณมากเกินไป
  • ปัญหาการทำงานของปอด ในบางกรณี ที่ได้รับแมงกานีสในปริมาณสูง อาจส่งผลต่อระบบหายใจ หรือปอด
  • การรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ แมงกานีสที่มากเกินไป อาจขัดขวางการดูดซึมของแร่ธาตุ เช่นธาตุเหล็ก และสังกะสี
  • ผลกระทบต่อสมอง และอารมณ์ อาจมีผลกระทบต่อสมอง เช่นทำให้เกิดความจำเสื่อม อารมณ์แปรปรวน หรือภาวะซึมเศร้า
  • พิษเรื้อรัง การบริโภคแมงกานีสมากเกินไป ในระยะยาว อาจทำให้เกิดพิษเรื้อรัง ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมอย่างรุนแรง

แร่ธาตุแมงกานีส คืออะไร

แมงกานีส (Manganese) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่มีสัญลักษณ์ทางเคมีคือ Mn และมีเลขอะตอม 25 พบได้ในธรรมชาติ ในรูปของสารประกอบ แมงกานีสมีบทบาทสำคัญ ทั้งในสิ่งมีชีวิต และอุตสาหกรรม

โดยในสิ่งมีชีวิต แมงกานีสเป็นแร่ธาตุ ที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย เพื่อช่วยในกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย เช่น การเผาผลาญ การสร้างกระดูก และการป้องกันอนุมูลอิสระ [1]

แร่ธาตุแมงกานีส มีประโยชน์อะไรบ้าง

แมงกานีสเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทสำคัญ ในหลายกระบวนการทางชีวภาพ ดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นเอนไซม์: แมงกานีสมีส่วน ในการกระตุ้นเอนไซม์ ที่จำเป็นต่อการนำ Biotin วิตามินบี1 และวิตามินซี มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ส่งเสริมการสร้างกระดูก: มีความจำเป็น ต่อการพัฒนาโครงสร้างของกระดูก โดยช่วยลดการสูญเสียแคลเซียมในร่างกาย และมีส่วนสำคัญ ในการผลิตเลือด
  • ช่วยในการเผาผลาญสารอาหาร: มีส่วนในการสังเคราะห์โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ช่วยให้ร่างกายสามารถใช้ Choline ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • สนับสนุนการทำงาน ของระบบประสาท และสมอง: ช่วยเลี้ยงเส้นประสาทและสมอง ทำให้ระบบประสาทและสมอง ทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  • มีส่วนในการผลิตฮอร์โมนเพศ: ช่วยในการผลิตฮอร์โมนเพศ และมีความจำเป็น ต่อการปล่อยพลังงานในร่างกาย
  • ช่วยในการผลิตน้ำนม: มีความจำเป็น ต่อการผลิตน้ำนม ในหญิงตั้งครรภ์ และช่วยในการสร้างยูเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบของปัสสาวะ

ที่มา: แมงกานีส คือ ( Manganese ) อะไร [2]

 

บทบาทของแร่ธาตุแมงกานีสในร่างกาย

แมงกานีสจัดเป็นแร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อสุขภาพ และทำหน้าที่ดังนี้

  • ช่วยในกระบวนการเผาผลาญ แมงกานีสมีบทบาทสำคัญ ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยทำงานร่วมกับเอนไซม์ เพื่อสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย
  • ส่งเสริมการสร้างกระดูก แมงกานีสเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูก ช่วยเพิ่มความแข็งแรง และการเจริญเติบโตของกระดูก โดยเฉพาะในวัยเด็ก และวัยรุ่น
  • ป้องกันอนุมูลอิสระ แมงกานีสทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่ง ของเอนไซม์ที่เรียกว่า Superoxide Dismutase (SOD) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยลดความเสียหาย ของเซลล์จากอนุมูลอิสระ
  • สนับสนุนระบบประสาท แมงกานีสช่วยในการทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะในการส่งสัญญาณ ระหว่างเซลล์ประสาท และการควบคุมสมดุล ทางเคมีในสมอง

แมงกานีสมีในอาหารอะไรบ้าง

ผลเสีย แมงกานีส

แมงกานีสเป็นแร่ธาตุ ที่พบได้ในอาหารหลากหลายประเภท ดังนี้

  • หอยแมลงภู่: หอยแมลงภู่ปรุงสุก 85 กรัมมีแมงกานีสประมาณ 5.8 มิลลิกรัม
  • ข้าวกล้อง: ข้าวกล้องหุงสุก 1 ถ้วยหรือ 195 กรัมมีแมงกานีสประมาณ 2.1 มิลลิกรัม
  • Hazelnut: เมล็ดHazelnut 56 กรัมมีแมงกานีสประมาณ 3.1 มิลลิกรัม
  • ขนมปัง Whole Wheat: ขนม Whole Wheat 1 แผ่น (28 กรัม) มีแมงกานีส 0.7 milligram
  • เต้าหู้: เต้าหู้ครึ่งถ้วย (126 กรัม) มีแมงกานีส 1.5 milligram
  • ปลากะพง: ปลากะพงปรุงสุก 85 กรัม มีแมงกานีส 1.0 milligram
  • เมล็ดฟักทอง: เมล็ดฟักทอง 1 ถ้วย (129 กรัม) มีแมงกานีสอยู่ประมาณ 5.9 มก.
  • ชาดำ: ชาดำ 1 ถ้วย (237 กรัม) มีแมงกานีสอยู่ประมาณ 0.5 มก.
  • ผักโขม: ผักโขมสุก 1 ถ้วย (180 กรัม) มีแมงกานีสที่ 1.7 mg.
  • ถั่วลิมา: ถั่วลิมา 1 ถ้วย (170 กรัม) มีแมงกานีสที่ 2.1 mg.

การบริโภคอาหารเหล่านี้ จะช่วยให้ร่างกายได้รับแมงกานีส ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ [3]

ผลเสียจากการขาดแมงกานีส

แมงกานีสเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย การขาดแมงกานีส อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้

  • การเจริญเติบโตของกระดูกบกพร่อง: แมงกานีสมีบทบาทสำคัญ ในการสร้าง และรักษาความแข็งแรงของกระดูก การขาดแมงกานีส อาจทำให้กระดูกอ่อนแอ หรือเกิดความผิดปกติได้
  • ความทนทานต่อกลูโคสลดลง: การขาดแมงกานีสอาจทำให้ร่างกาย ไม่สามารถจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
  • ผื่นผิวหนัง: การขาดแมงกานีส อาจทำให้เกิดผื่น หรือปัญหาผิวหนังอื่นๆ
  • การเปลี่ยนแปลงของเส้นผม: อาจทำให้สี หรือเนื้อผมเปลี่ยนแปลง
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ: ระบบภูมิคุ้มกันอาจอ่อนแอลง ทำให้ร่างกาย เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น
  • การสมานแผลบกพร่อง: แผลอาจหายช้ากว่าปกติ

สำหรับปริมาณที่แนะนำของแมงกานีสแตกต่างกันไปตามอายุและเพศ เด็ก 1-3 ปี 1.2 มิลลิกรัมต่อวัน เด็ก 4-8 ปี: 1.5 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ชายวัยผู้ใหญ่: 2.3 มิลลิกรัม/วัน ผู้หญิงวัยผู้ใหญ่: 1.8 มิลลิกรัม/วัน และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร อาจต้องการแมงกานีสมากขึ้น

สรุป ผลเสีย แมงกานีส ต่อระบบประสาท สุขภาพจิต และปอด

ผลเสีย แมงกานีส ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายในคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ที่สัมผัส หรือบริโภคในปริมาณสูง อาจเผชิญกับผลกระทบต่อปัญหาทางระบบประสาท ปอด ระบบทางเดินอาหาร และสุขภาพจิต การใส่ใจในปริมาณที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงแหล่งที่เสี่ยง ต่อการสะสมเกินจำเป็น จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อปกป้องสุขภาพในระยะยาว

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

27