หนุมานประสานกาย เป็นไม้ประดับ อีกชนิดหนึ่ง ที่คนนิยมนำมาปลูกกัน เป็นพืชสมุนไพรประจำบ้าน และใช้เพื่อป้องกันยุง ช่วยรักษาแผลสด และโรคอื่นๆ อีกมากมาย เรามาทำความรู้จักกับ พันธุ์พืชสมุนไพรชนิดนี้กันว่ามีประโยชน์ และสรรพคุณ อย่างไรบ้าง
ชื่อ: หนุมานประสานกาย
ชื่อสามัญ: Edible-stemed Vine
ชื่อวิทยาศาสตร์: Schefflera leucantha R.Vig.
ชื่อท้องถิ่นอื่น: ว่านอ้อยช้าง (เลย), ชิดฮะลั้ง กุชิดฮะลั้ง (จีน) เป็นต้น
วงศ์: Araliaceae
ถิ่นกำเนิด: ทวีปเอเชีย ในประเทศไทย พบได้ทั่วไป ทุกภาค
ต้นหนุมานประสานกาย เป็นพรรณไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวลำต้นค่อนข้างที่จะเรียบเกลี้ยง
ใบ เป็นใบประกอบ แบบนิ้วมือ ใบเรียงสลับกัน มีใบย่อย 7 – 8 ใบ ใบย่อย เป็นรูปใบหอก รูปยาวรี รูปวงรี
โคนใบ จะมีหูใบติดที่ก้านใบ ปลายใบ จะเรียวแหลม ขอบใบ เป็นคลื่นเล็กน้อย ใบกว้างประมาณ 1.5 – 3 ซม. ยาวประมาณ 5-8 ซม. ผิวใบมีลักษณะเรียบเป็นมัน ก้านใบย่อยมีขนาดยาวประมาณ 8 – 25 มม.
ดอก ออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีขนาดยาวประมาณ 3 – 5 นิ้ว ดอกย่อย เป็นดอกสีเขียว สีนวล ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอก มีความยาวประมาณ 3 – 7 มม.
ผล เป็นรูปไข่ อวบน้ำ ผลกว้างประมาณ 4 – 5 มม. ยาวประมาณ 5 – 6 มม. ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกแล้วเป็นสีแดงสด
ที่มา: ลักษณะของหนุมานประสานกาย [1]
ต้นหนุมานประสานกาย เป็นไม้กลางแจ้ง ปลูกเป็นไม้ประดับ สมุนไพรประจำบ้าน เป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่ายไม่จำเป็นต้องการดูแลรักษามาก
ขยายพันธุ์: โดยการปักชำ, การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
หนุมานประสานกาย จัดว่าเป็น พืชสมุนไพรช่วยขับสารพิษ อีกชนิดหนึ่ง จำพวกเดียวกับ ตะลิงปลิง และ เจตมูลเพลิงแดง เป็นต้น
หนุมานประสานกาย มีสารสำคัญต่างๆ ดังนี้ กรดบิวทิลินิก, ดี-กลูโคส, ดี-ไซโลส, กรดโอเลอิก, แอล-rhamnose
ที่มา: ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหนุมานประสานกาย [2]
ที่มา: ข้อควรระวังหนุมานประสานกาย [3]
สรุป พืชสมุนไพรชนิดนี้ มีประโยชน์มากมายกว่าที่คิด ทั้งมีประสิทธิภาพในการกันยุงได้หลายชนิด ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ และเป็นทั้งสมุนไพร รักษาได้หลายโรค แถมยังสามารถนำเอาใบสด ต้มกินต่างน้ำ หรือทำเป็นใบชาจิบบ่อย ๆ จะช่วยในเรื่องลดอาการภูมิแพ้ลงได้ด้วย สารพัดสรรพคุณดีๆ สมกับเป็นพืชสมุนไพรประจำบ้านจริงๆ