หมากผู้หมากเมีย (Ti plant) ไม้มงคล รักมั่นคง ส่งออกนอก

หมากผู้หมากเมีย

หมากผู้หมากเมีย (Ti plant) จัดเป็นต้นไม้มงคล และไม้ประดับใบอีกชนิดหนึ่ง ที่มีใบสวยงาม หลากสีสัน โดดเด่น นิยมปลูกทั้งในสวน และในกระถาง ถือว่าเป็นไม้ประดับที่มีการจำหน่าย และส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย เช่น ออสเตรเลีย เป็นต้นสหรัฐอเมริกา และสหรัฐอาหรับเอมิเรต เป็นต้น

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ : หมากผู้หมากเมีย
ชื่อภาษาอังกฤษ : Cabbage palm , Good luck plant , Palmm lily , Red dracaena , Polynesian , Ti plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordyline fruticosa (L.) A.Chev
วงศ์ : Asparagaceae [1]
ถิ่นกำเนิด : ในหมู่เกาะแปซิฟิก และออสเตรเลีย

หมากผู้หมากเมีย ต้นไม้มงคล ตามความเชื่อ สื่อความหมาย

ความหมายมงคล ตามความเชื่อ ว่าหากบ้านใดปลูก ต้นหมากผู้หมากเมีย ไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะช่วยให้คนในบ้าน อยู่เย็นเป็นสุข หากบ้านไหนเพิ่งแต่งงาน ก็จะช่วยให้รักกันมั่นคงยืนยาว และถ้าหากบ้านไหน ปลูกคู่กัน 2 ต้น ก็จะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคล และนำพาแต่ความโชคดีมาให้เพิ่มเป็นเท่าตัว

นอกจากนี้ ยังใช้”ใบ”เพื่อนำไปใช้ประกอบใน งานพิธีมงคลสำคัญอีกหลายงาน เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ หรือใช้เป็นเครื่องบูชาพระ เป็นต้น

หมากผู้หมากเมีย ปลูกอย่างไร ให้เป็นสิริมงคล

เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้าน และผู้อยู่อาศัยเป็น “ต้นไม้มงคลปลูกตามวัน” วันที่ควรปลูกคือ วันอังคาร เช่นเดียวกันกับ ต้นเทียนมหาลาภ และทิศที่เหมาะสำหรับการปลูกคือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะปลูกไว้หน้าบ้าน หรือปลูกในบ้านก็ได้ เพราะเป็นพรรณไม้ที่ไม่ชอบแสงมากเท่าไหร่ จึงสามารถปลูกในกระถาง วางเรียงไว้ตามชานเรือนบ้านได้ ศัตรูพืชหรือแมลงไม่ค่อยมารบกวน

สรรพคุณและ ประโยชน์อื่นๆ ของหมากผู้หมากเมีย

  • ปลูกเป็นไม้ประดับเสริมสิริมงคล ประดับตกแต่งบ้าน แล้วยังมีคุณค่าในทางเศรษฐกิจอื่นๆ อีกมากมาย เช่นการนำใบไปตัดขายเป็นใบประดับตกแต่ง ในการจัดดอกไม้ต่างๆ นอกจากนี้ ส่วนต่างๆ
  • ดอก สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้ เช่น ดอกตูมนำไปลวกทั้งแบบสด กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก ชาวเหนือนิยมนำไปใส่แกงแค
  • ดอกหมากผู้หมากเมีย ยังมีคุณประโยชน์ และสรรพคุณทางยาสมุนไพร
    -ดอกและราก ใช้สมานแผลในลำไส้ แก้ไข้เหือดหัดสุกใสดำแดง
    -ใบ ใช้ขับพิษ, ไข้ แก้ตัวร้อน แก้พิษ แก้ร้อนในกระหายน้ำ หรือใช้ต้มอาบ แก้เม็ดผดผื่นคัน

ที่มา : ประโยชน์ และสรรพคุณหมากผู้หมากเมีย [2] 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ หมากผู้หมากเมีย

หมากผู้หมากเมีย

หมากผู้หมากเมีย มีลักษณะเป็นลำต้นเดี่ยวหรือแตกกอ แตกกิ่งออกเป็นทรงพุ่ม

  • ลำต้น และก้านใบมักมีสีน้ำตาล หรือสีอื่นตามสายพันธุ์
  • ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว แตกออกด้านข้างลำต้นสลับกัน ลักษณะใบเป็นรูปหอกเรียวยาว ปลายใบเรียวแหลมโค้งงอลงด้านล่าง มีสีสันหลากหลาย เช่น สีม่วง สีน้ำตาล สีเขียวอ่อน เป็นต้น
  • ดอก จะมีลักษณะเป็นช่อ ยาวประมาณ 12 นิ้ว โดยจะออกบริเวณยอดลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 30 ซม. ดอกย่อย ลักษณะคือมีกลีบเลี้ยง และกลีบ

การขยายพันธุ์ หมากผู้หมากเมีย

ขยายพันธุ์โดย :

  • การปักชำ เป็นวิธีการใช้ส่วนลำต้นที่ตัดจากต้นแม่ ที่มีกิ่งหรือเหง้ามาก แล้วนำมาปักชำ ในแปลงเพาะชำ หรือในกระถางชำ
  • การตอน เป็นการตอนในกิ่งพันธุ์จากต้นแม่ เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์โดย ใช้ต้นแม่พันธุ์ที่มีกิ่ง หรือเหง้าจำนวนมาก รากหลังการตอนจะงอกประมาณ 3-4 สัปดาห์
  • การแยกเหง้า ด้วยการขุดแยกเหง้า ที่แตกออกมาจากต้นแม่ แล้วนำมาแยกปลูกในกระถาง วิธีนี้สะดวก และรวดเร็ว
  • การเพาะเมล็ด เป็นการเพาะ โดยใช้เมล็ดจากต้นแก่ มาเพาะในกระถาง หรือถุงพลาสติก วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากต้องใช้เวลานานกว่าจะออกดอก โดยจะออกดอกในต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป แต่ต้นไม้ที่ปลูกด้วยวิธีการนี้ จะมีรากแก้ว และมีความแข็งแรงมาก

ที่มา : วิธีการปลูกหมากผู้หมากเมีย [3]

วิธีการดูแลหมากผู้หมากเมีย

  • แสง หมากผู้หมากเมียมีความหลากหลายของสายพันธุ์มาก บางชนิด ชื่นชอบแสงแดดจัดๆ บางชนิดแทบจะโดนแดดไม่ได้เลย ก่อนซื้อต้องสอบถามผู้ขาย ถึงปริมาณแสงที่เหมาะสมสำหรับสายพันธุ์ที่ท่านเลือก
  • น้ำ การให้น้ำ ไม่ต้องมาก แต่ต้องมีความชื้นในดินที่เพียงพออยู่เสมอ ควรให้น้ำเพียงวันละครั้งก็เพียงพอ สำคัญตรงที่จุดที่วางกระถางไม่ควรโดนแดดส่องทั้งวันมากกว่า
  • ดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วน หน้าดินลึก ดินไม่แน่น ดินมีความชื้นสูง โดยเฉพาะดินที่มีเศษใบไม้ กิ่งไม้ปกคลุม ชอบเสียงรำไร มักขึ้นอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ได้ดี
  • ปุ๋ย ปุ๋ยที่ใช้จะเน้นเป็นปุ๋ยคอก หรือการใส่วัสดุอินทรีย์อื่นๆ เป็นหลัก และใช้ปุ๋ยเคมีบ้าง สูตร 16-16-8 อัตรา 50 กรัม/ต้น ทุกๆ 1-2 เดือน

วิธีการปลูก ต้นหมากผู้หมากเมีย

ดิน สำหรับปลูกต้นหมากผู้หมากเมีย ประกอบด้วย

  • ดินร่วน 3 ส่วน
  • กาบมะพร้าวสับ 1 ส่วน
  • ใบก้ามปู 1 ส่วน
  • ปุ๋ยคอก 1 ส่วน

จัดกลุ่มตามลักษณะรูปร่างของใบได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ

กลุ่มหมากผู้หมากเมีย แบ่งได้ดังต่อไปนี้

  • ใบหนา แผ่กว้างรูปใบพาย ปลายใบมักพนมแหลม กวักหรือปลายใบงอนหงาย
  • ใบรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม เอี้ยวบิด
  • ใบเหมือนใบอ้อย แผ่นใบยาวเรียวแหลมมาก แผ่นใบโค้งรัศมีครึ่งวงกลม
  • ใบเรียวแหลมแคบ รูปเข็ม แผ่นใบมักเอี้ยวทั้งใบ
  • ใบแคบเรียวยาว แตกกิ่ง เช่น Cordyline australis

สรุป หมากผู้หมากเมีย เสริมสิริมงคล คู่รักมั่นคง

หมากผู้หมากเมีย

สรุป หมากผู้หมากเมีย เป็น พรรณไม้ใบประดับอีกชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นได้ง่ายโตไว ไม่ต้องการการประคบประหงมมากมาย ปลูกได้ง่ายจะ ปลูกลงดินหรือในกระถางก็ได้ ใช้วางประดับได้ทั้งภายนอก และภายในอาคาร ถือว่าเป็นไม้ตัดใบเศรษฐกิจ ที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of OTP
OTP

แหล่งอ้างอิง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
249