เจตมูลเพลิงแดง ชื่อที่ว่าร้อนแรงแล้ว สรรพคุณยิ่งร้อนแรงกว่า พรรณไม้ที่มีดอกสวยงามชนิดนี้ ซ่อนสรรพคุณทางยาดีๆ ไว้มากมาย ยอดอ่อนและใบ ใช้รับประทานเป็นผักสดได้ หรือนำไปปรุงเป็นอาหารหลายเมนู เช่น แกงคั่ว แกงเผ็ด แกงเนื้อ เป็นต้น แต่ต้องระวังยางของรากให้ดี เพราะมันอาจทำให้ผิวของคุณไหม้พองได้เลยจริงๆ
ชื่อ: เจตมูลเพลิงแดง
ชื่อสามัญ: Indian Leadwort, Rose-colored Leadwort, Rosy Leadwort, Fire Plant, Official Leadwort
ชื่ออื่นๆ: ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ) ปิดปีแดง(เลย) ไฟใต้ดิน(ใต้) คุ้ยวู่ (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Plumbago indica L.
ชื่อพ้อง: Plumbago rosea L., Thela coccinea
ชื่อวงศ์: Plumbaginaceae
ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เป็นต้น
แหล่งอาศัย: ตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป ป่าดิบแล้ง
ประเทศไทย: พบได้ทั่วทุกภาค
ต้นเจตมูลเพลิงแดง เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กอายุหลายปี สูงราว 1-1.5 ม. กิ่งก้านมักทอดยาว ยอดอ่อนสีแดง ลำต้น กลมเรียบ กิ่งอ่อนสีเขียวปนแดง มีสีแดงบริเวณข้อ
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน รูปไข่ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 8-13 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน มีสีเขียว ใบบาง แผ่นใบมักบิด ก้านใบและแกนกลางใบอ่อนมีสีแดง
ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ยาว 20-90 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. มีดอกย่อยจำนวนมาก ประมาณ 10-15 ดอก ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด กลีบดอกสีแดงสด กลีบบางมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กๆ ยาว 2.5-3.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายกลีบกลม เป็นติ่งหนามตอนปลาย ใบประดับย่อยรูปไข่ขนาดเล็ก ยาว 0.2-0.3 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก อับเรณูยาวประมาณ 2 มม. รังไข่รูปรี ก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาดมีขนยาวที่โคน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก เป็นหลอดเล็ก ยาว 0.5-1 ซม. สีเขียว และมีขนเหนียวๆปกคลุม เมื่อจับรู้สึกเหนียวมือ
ผล ลักษณะเป็นฝักกลม ทรงรียาว เป็นผลแห้งเมื่อแก่ แตกตามร่องได้
ราก รากเป็นแท่งค่อนข้างกลม โค้งงอ คดไปมา สีน้ำตาลดำ ขนาดความยาว 4-10 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1.5 เซนติเมตร
หมายเหตุ ราก มีสารพวก แนฟธาควิโนน (naphthaquinone) ชื่อ plumbagin, 3-chloroplumbagin, 6-hydroxyplumbagin, plumbaginol ยางจากรากเมื่อถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้ พอง เหมือนโดนไฟจึงได้ชื่อว่า “เจตมูลเพลิง”
ที่มา: ลักษณะทั่วไปเจตมูลเพลิงแดง [1]
ต้นเจตมูลเพลิงแดง ไม่ชอบน้ำมาก เจริญได้ดี ในที่แสงแดดรำไร
การขยายพันธุ์:
ออกดอกติดผล: ปีละ 1 ครั้งในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน
เจตมูลเพลิงแดง มีฤทธิ์ตามตำรับยาไทยโบราณ เป็นยาร้อน มีฤทธิ์ส่งเสริมธาตุไฟ ปรับสมดุล ถือเป็น “พืชสมุนไพรช่วยขับสารพิษ” กลุ่มเดียวกันกับ ตะลิงปลิง เป็นต้น มีสรรพคุณดังนี้
ที่มา: สรรพคุณเจตมูลเพลิงแดง [2]
การศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่า เจตมูลเพลิงแดง ออกฤทธิ์ ดังต่อไปนี้
ที่มา: โทษของเจตมูลเพลิงแดง [3]
สรุป เจตมูลเพลิงแดง เป็นต้นไม้ที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ที่มีดอกสวยงาม สามารถปลูกเป็นสมุนไพร และไม้ประดับในคราวเดียวกันได้ดี ด้วยสรรพคุณมากมาย ในการรักษาโรคต่างๆ ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นพิษ ทำให้ถึงตายได้ ก่อนใช้สมุนไพรนี้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แผนไทย